Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56939
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา-
dc.contributor.authorกุลรดา สุธีระเวชช์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-02-06T03:22:51Z-
dc.date.available2018-02-06T03:22:51Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56939-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิด การเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อการเสริมสร้างพลังกลุ่มของเด็กในศูนย์เยาวชนระดับตำบล 2) เปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะ และทัศนคติในการทำงานด้วยพลังกลุ่มระหว่างก่อนและหลังการทดลองของเด็กในศูนย์ เยาวชนระดับตำบล 3) ศึกษาความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตาม แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อการเสริมสร้างพลังกลุ่มของเด็กในศูนย์เยาวชนระดับตำบล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมกับทาง ศูนย์เยาวชนตำบลบางโปรง ซึ่งมีอายุระหว่าง 10 – 12 ปี จำนวน 42 คน การจัดกิจกรรมใช้ระยะเวลา 6 วัน รวมทั้งสิ้น 50 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อการ เสริมสร้างพลังกลุ่ม และเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินพลังกลุ่ม และแบบ ประเมินผลการจัดกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) การเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบที (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มี ต่อการเสริมสร้างพลังกลุ่ม มีกระบวนการจัดกิจกรรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ อันได้แก่ 1) ขั้น เตรียม 2) ขั้นสอน 3) ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม 4) ขั้นตรวจสอบผลงาน และ 5) ขั้นสรุปบทเรียนและ ประเมินผลการทำงานกลุ่ม ซึ่งสามารถเสริมสร้างพลังกลุ่มของเด็กในศูนย์เยาวชนตำบลบางโปรงได้ 2. ผลการจัดกิจกรรม พบว่า เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยความรู้ ทักษะ และทัศนคติใน การทำงานด้วยพลังกลุ่มหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการจัดกิจกรรม พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม การศึกษานอกระบบตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อการเสริมสร้างพลังกลุ่ม อยู่ในระดับมาก ที่สุด ( X = 4.90)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this experimental research were to 1) develop non-formal education activities based on cooperative learning concept on synergy enhancement of children in Tambon Youth Centers, 2) compare knowledge, skills, and attitude in working with synergy of children in Tambon Youth Centers before and after the experiment, and 3) study participants’ satisfaction towards the non-formal education activities. The research samples were forty - two children in Tambon Bangprong Youth Centers between the ages of 10 to 12. Activities were organized for six days, totally fifty hours. There were two research instruments: 1) the instruments for the experiment included the non-formal education activity plans and 2) the instruments for data collection included the synergy evaluation form and the activity evaluation form. The data were analyzed by using means ( X ), Standard Deviation ( S.D.), dependent-samples t (t-test) at .05 level of significance. The results were as follow : 1. The processes of developing non-formal education activities based on cooperative learning concept on synergy enhancement of children in Tambon Youth Centers were 1) introduction, 2) instruction, 3) group activity, 4) tasks assessment, and 5) summary and evaluation. 2. After the experiment, the participants’ mean scores in knowledge, skills and attitude in working with synergy were higher than the mean scores before the experiment at .05 level of significance. 3. After participating in the non-formal education activities, the participants reported their satisfactions towards the activities at the highest level ( X = 4.90).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.522-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.subjectกิจกรรมการเรียนการสอนen_US
dc.subjectการทำงานกลุ่มในการศึกษาen_US
dc.subjectNon-formal educationen_US
dc.subjectActivity programs in educationen_US
dc.subjectGroup work in educationen_US
dc.titleผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่มีต่อการเสริมสร้างพลังกลุ่มของเด็กในศูนย์เยาวชนระดับตำบลen_US
dc.title.alternativeEffects of organizing non-formal education activites based on cooperative learning concept synergy enhancement of children in tambon youth centersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWirathep.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.522-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
khunlada_su_front.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
khunlada_su_ch1.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
khunlada_su_ch2.pdf8.11 MBAdobe PDFView/Open
khunlada_su_ch3.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open
khunlada_su_ch4.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
khunlada_su_ch5.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open
khunlada_su_back.pdf14.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.