Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58361
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ | - |
dc.contributor.author | ศรัณย์ วรรณพานิชย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-04-11T01:38:45Z | - |
dc.date.available | 2018-04-11T01:38:45Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58361 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | พื้นที่ย่านถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง เป็นหนึ่งในย่านศูนย์กลางธุรกิจที่กำลังเติบโตของกรุงเทพมหานคร จากการสำรวจพบว่าในระยะ 1 กิโลเมตร จากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินพระราม 9 มีที่พักอาศัยประเภทอพาร์ทเม้นต์ตั้งอยู่มากกว่า 14 แห่งและพบว่ามีการจอดรถล้นออกมานอกโครงการเป็นจำนวนมาก การศึกษานี้จึงมี วัตถุประสงค์ในการศึกษาความต้องการที่จอดรถของผู้พักอาศัยและการจัดการพื้นที่จอดรถของผู้ประกอบการ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความต้องการที่จอดรถของผู้พักอาศัยด้วยแบบสอบถาม และ ด้านการจัดพื้นทีการพื้นที่จอดรถของอพาร์ทเม้นต์ด้วยการสังเกตและการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ โดยมีกรณีศึกษา 4 โครงการ คือ โครงการยิ้มยิ้มเพลส (โครงการ A ที่มีจำนวนที่จอดรถยนต์มากที่สุด) โครงการเมโทรคาซ่า-เมโทรเพลส (โครงการ B ที่มีจำนวนที่จอดรถยนต์สูงกว่าค่าเฉลี่ย) โครงการทั่งทองอพาร์ทเม้นต์(โครงการ C ที่มีจำนวนที่จอดรถยนต์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย) และ โครงการคิวทีเพลส (โครงการ D ที่ไม่มีที่จอดรถยนต์) เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นและแนวทางการบรรเทาปัญหา ผลการศึกษาจากแบบสอบถามพบว่า ในภาพรวม 4 โครงการ ผู้พักอาศัยร้อยละ27.3 มีรถยนต์ส่วนตัว และ ร้อยละ17.4 มีรถจักรยานยนต์ส่วนตัว เมื่อศึกษาถึงข้อมูลการลงทะเบียนผู้ที่มีรถยนต์ส่วนตัวของแต่ละโครงการพบว่าผู้พักอาศัยในโครงการยิ้มยิ้มเพลส(A)มีรถยนต์ส่วนตัว 38 คัน หรือ ร้อยละ74.5 ของจำนวนที่จอดรถ โครงการเมโทรคาซ่า-เมโทรเพลส(B) 45 คัน หรือ ร้อยละ93.7 ของจำนวนที่จอดรถ โครงการทั่งทองอพาร์ทเม้นต์(C) 12 คัน หรือ ร้อยละ85.7 ของจำนวนที่จอดรถ และ โครงการคิวทีเพลส(D) ไม่มีผู้ที่มีรถยนต์ส่วนตัว โดยผู้พักอาศัยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนและเป็นเจ้าของกิจการ สาเหตุที่ผู้พักอาศัยเหล่านี้ต้องมียานพาหนะส่วนตัว คือ ใช้ในการเดินทางในชีวิตประจำวันและระบบขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุมสถานที่ที่ต้องการไป ปัญหาที่พบคือ ที่จอดรถในโครงการไม่เพียงพอ โดยเฉพาะช่วงวันธรรมดา(จันทร์-ศุกร์) แก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยการจอดรถซ้อนคันหรือการจอดรถนอกโครงการ การจัดการพื้นที่จอดรถของผู้ประกอบการ โครงการยิ้มยิ้มเพลส(A) มีการจัดที่จอดรถยนต์ 51 คัน หรือ 1 คัน : 1.9 ห้อง (ร้อยละ51.5) โครงการเมโทรคาซ่า-เมโทรเพลส(B) มีการจัดที่จอดรถยนต์ 48 คัน หรือ 1 คัน : 2.6 ห้อง (ร้อยละ37.2) โครงการทั่งทองอพาร์ทเม้นต์(C) มีการจัดที่จอดรถยนต์ 14 คัน หรือ 1 คัน : 5.6 ห้อง (ร้อยละ17.7) และ โครงการคิวทีเพลส(D) มีเฉพาะที่จอดรถจักรยานยนต์ 1 : 3.3 ห้อง (ร้อยละ30) ในด้านการบริหารจัดการของโครงการยิ้มยิ้มเพลส(A)และเมโทรคาซ่า-เมโทรเพลส(B) มีที่จอดรถในบริเวณใต้อาคารและลานจอดรถนอกอาคาร ส่วนโครงการทั่งทองอพาร์ทเม้นต์(C) มีเฉพาะพื้นที่จอดรถโดยรอบอาคาร โดยทั้ง 3 โครงการมีการเก็บค่าจอดรถยนต์ ระหว่าง 500-800 บาทต่อเดือน และ โครงการคิวทีเพลส(D) สามารถจอดรถยนต์ได้แค่รับส่งชั่วคราวเท่านั้น ผลการศึกษาพบว่าโครงการที่มีปัญหาที่จอดรถไม่เพียงพอ คือ โครงการเมโทรคาซ่า-เมโทรเพลส(B) และ ทั่งทองอพาร์ทเม้นต์(C) โดยเกิดจากการบริหารจัดการที่จอดรถของโครงการ ได้แก่ อัตราส่วนการจัดให้มีที่จอดรถยนต์ต่อจำนวนห้องพัก อัตราส่วนผู้ที่มีรถยนต์ต่อจำนวนที่จอดรถยนต์ อัตราค่าบริการที่จอดรถ และ การมีร้านค้าในโครงการ จึงมีกลุ่มลูกค้าที่เป็นบุคคลภายนอกนำรถยนตร์มาจอด และยังพบว่าทั้ง 4 โครงการรวมทั้งโครงการคิวทีเพลส (D)ซึ่งไม่มีการจัดที่จอดรถยนต์ ล้วนมีอัตราการเข้าพักเต็ม ผู้พักอาศัยมีความคิดเห็นต่อแนวทางแก้ไขปัญหาคือ เห็นว่าควรมีการจัดระบบขนส่งระหว่างโครงการไปยังถนนใหญ่และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อสนับสนุนให้มีผู้พักอาศัยที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวลดน้อยลงและควรมีมาตรการส่งเสริมให้ภาคเอกชนนำที่ดินเปล่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการทำที่จอดรถให้มากขึ้น ส่วนผู้ประกอบการไม่เห็นด้วยกับการจัดระบบขนส่งเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางสำหรับผู้พักอาศัย เนื่องด้วยจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่เสนอให้มุ่งแก้ปัญหาที่การบริหารจัดการที่จอดรถภายในโครงการ ด้านนักวิชาการมีข้อเสนอแนะว่าในพื้นที่ที่มีราคาที่ดินสูง อาจใช้ลิฟท์จอดรถเพื่อใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด | - |
dc.description.abstractalternative | The Ratchadapisek area in the Din Dang district is growing into one of the main central business districts of Bangkok. From a survey taken 1km around MRT Rama9 station, it was found that there are more than 14 apartment buildings. However, there is a problem with overloaded car parking and on street parking outside apartment areas. The objective of this paper is to study the parking demand of residents and the management of apartment developers by using questionnaires for the demand side, and using observations and interview methods for the management side. Four case studies are used, which are YimYim Place (apartment A – the greatest number of parking spaces); Metro Case-Metro Place (apartment B – greater parking spaces than average); TungTong Apartment (apartment C – fewer parking spaces than average); and Q.T. Place (apartment D – no car parking spaces) to analyse the causes of problems and ways to solve them. Results of the questionnaires found that in 4 apartments, 27.3% of residents have a car and 17.4% have a motorbike. From the records of the each apartment, it was found that the residents in Apartment(A) have 38 cars or 74.5% of parking provided, residents in Apartment(B) have 45 cars or 93.7% of parking provided, residents in Apartment(C) have 12 cars or 85.7% of parked providing, and Apartment(D) doesn’t have any car users. Most of residents are employees in private companies and business owners. The reason they use their own vehicle is due to public transportation not sufficiently covering their destination. However, the problem exists that there are not enough parking spaces in their apartments, especially during weekdays (Mon-Fri). The way to solve this problem is to double parking and on street parking outside. For the provided car parking spaces, Apartment(A) has 51 spaces or 1 space per 1.9 rooms (51.5%), Apartment(B) has 48 spaces or 1 space per 2.6 rooms (37.2%), Apartment(C) has 14 spaces or 1 space per 5.6 rooms (17.7%), and Apartment(D) only has 1 space per 3.3 rooms (30%) for motorbike parking spaces. For car park management, Apartments(A) and (B) have inside and separated-outside parking spaces. Apartment(C) has only parking on the side of the building. All of the apartments require parking fees from 500-800 Baht/month, and for Apartment(D), which has no parking spaces, car users can only park for a very short time in front of the building. From the research, it was found that not enough parking is available in the apartments. In Apartments(B) and (C) this is caused by the management of car parking spaces, such as the number of rooms to car parking spaces ratio, the parking fee, and some services in the apartment which target outside customers, which require parking spaces. Moreover, the researcher found that all 4 apartments, including Apartment(D) which doesn’t have car parking spaces, are all at full occupancy. According to the resident’s opinions, the way to solve this is to provide feeder transportation from apartments to the main street and MRT station, in order to discourage car users and to encourage landlords who own private empty land to convert it into public parking. In the opinion of the apartment developers, they disagree with providing feeder transportation because of its high cost. However, they prefer to solve the problem by better parking management. From interviews with academics, stack parking is a possible good idea to maximize use of space, in which land cost is very high. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.180 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | ความต้องการและการจัดการพื้นที่จอดรถในโครงการอาคารพักอาศัยรวมประเภทเช่าในเขตดินแดง: กรณีศึกษา โครงการ ยิ้มยิ้มเพลส เมโทรคาซ่า-เมโทรเพลส ทั่งทอง อพาร์ทเม้นต์ และ คิวทีเพลส | - |
dc.title.alternative | PARKING DEMAND AND MANAGEMENT FOR RENTAL RESIDENTIAL PROJECT IN DIN-DANG DISTRICT: A CASE STUDY OF YIM YIM PLACE, METRO CASA-METRO PLACE, TUNGTONG APARTMENT, AND Q.T.PLACE | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Kundoldibya.P@Chula.ac.th,kpanitchpakdi@gmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.180 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5873349225.pdf | 7.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.