Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58452
Title: กลยุทธ์การนิเทศครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: SUPERVISORY STRATEGIES OF SCHOOL COUNSELORS IN SECONDARY SCHOOLS IN BANGKOK UNDER THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION MINISTRY OF EDUCATION
Authors: อันติมา ยัพราษฎร์
Advisors: จุไรรัตน์ สุดรุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Jurairat.Su@Chula.ac.th,Jurairat.Su@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การนิเทศครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อตรวจสอบกลยุทธ์การนิเทศครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และ เขต 2 จำนวน 119 โรง ผู้ให้ข้อมูลคือผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารวิชาการ จำนวน 119 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมของร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI Modified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการนิเทศครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านบริการติดตามประเมินผล ในส่วนของสภาพที่พึงประสงค์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบริการศึกษารวบรวมข้อมูล โดยมีค่าดัชนี PNImodified สูงที่สุด คือ ด้านบริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยา (PNImodified = 0.404) กลยุทธ์การนิเทศครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก 6 กลยุทธ์รอง 40 วิธีดำเนินการ ดังนี้ กลยุทธ์หลัก 1 พัฒนานโยบายการนิเทศครูแนะแนว กลยุทธ์รอง 1.1) การปรับโครงสร้างการนิเทศครูแนะแนว 1.2) การสร้างการยอมรับในการนิเทศ กลยุทธ์หลัก 2 เร่งรัดการพัฒนาการจัดกิจกรรมนิเทศที่หลากหลาย กลยุทธ์รอง 2.1) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมนิเทศด้านการจัดบริการแนะแนว 2.2) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมนิเทศด้านการจัดกิจกรรมแนะแนว กลยุทธ์หลัก 3 พัฒนาความร่วมมือและสนับสนุนปัจจัยที่เอื้อต่อการนิเทศครูแนะแนว กลยุทธ์รอง 3.1) ประสานความร่วมมือในการนิเทศครูแนะแนวทั้งภายในและภายนอก 3.2) สนับสนุนปัจจัยเสริมเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินการนิเทศครูแนะแนว
Other Abstract: This research is a descriptive research. The purposes of this study were to 1) study supervision’s current and desirable states of secondary school counselors in Bangkok under the Office of the Basic Education Commission 2) develop strategies of supervision for secondary school counselors in Bangkok. 3) examine strategies of supervision for secondary school counselors in Bangkok. The samples were 119 secondary schools in Bangkok under the secondary educational service area office 1 and 2. The information was collected from 119 school administrators or deputy school administrators. The research instruments were questionnaires and strategies’ assessment. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, PNI Modified technique and content analysis. The research found that the overall of current states of supervision for secondary school counselors in Bangkok under the Office of the Basic Education Commission was at the moderate level. Considering to each fields of study were found that the highest mean was evaluated services. The overall of desirable state was at the highest level. Considering to each fields of study were found that the average of data collecting service was at the highest level and PNI modified index value of the psychological counseling service was at the highest level too. (PNImodified = 0.404). Strategies of supervision for secondary school counselors in Bangkok under the Office of the Basic Education Commission consist of 3 primary strategies, 6 secondary strategies and 40 procedures. The first main strategy develops counseling policy strategies. Secondary strategies were to 1.1) restructure supervision of school counselors 1.2) create supervisory acceptance.The second main strategy accelerates the supervisory development variously. The secondary strategies promote 2.1) supervision activities in the field of counseling services. 2.2) supervision activities in the field of counseling activities. The third main strategy develops collaboration and encouragement of contributing to supervision for secondary school counselors. The secondary strategies encourage school counselors to 3.1) cooperate in internal and external school supervisions 3.2) strengthen school counselors’ supervision.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58452
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.396
DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.396
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883888827.pdf6.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.