Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59856
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ขนบพร แสงวณิช | - |
dc.contributor.author | บุญยนุช สิทธาจารย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-09-14T05:22:28Z | - |
dc.date.available | 2018-09-14T05:22:28Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59856 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดสะตีมศึกษาและพัฒนาชุดการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านสะเต็มศึกษา-สะตีมศึกษา 3 คน 2) ครูด้านสะเต็มศึกษา-สะตีมศึกษา จำนวน 3 คน 3) ครูที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีด้านการสอนศิลปะแบบบูรณาการ จำนวน 3 คน 4) ครูศิลปะในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 394 คน 5) นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถาม แบบประเมินชุดการสอน และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรม รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แนวคิดสะตีมศึกษาเป็นการนำความรู้ ทักษะ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะ และคณิตศาสตร์มาใช้ในการสร้างชิ้นงานผ่านการคิดวางแผนและปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน ในการจัดการเรียนการสอนครูควรกระตุ้นความสนใจด้วยสื่อที่หลากหลาย ตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเพื่อนำสู่เรื่องที่สอน สาธิตวิธีการสร้างสรรค์ผลงาน มอบหมายงานให้นักเรียนปฏิบัติโดยให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า วางแผน ออกแบบ และลงปฏิบัติมือตามที่ออกแบบไว้ นำเสนอผลงาน สะท้อนความคิด แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสรุปสิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม 2. ชุดการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนคิดอย่างเป็นองค์รวมโดยการนำความรู้ 5 ศาสตร์มาใช้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานผ่านการคิดวางแผนและปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน มีหลักการสำคัญ 3 ส่วน ประกอบด้วย การบูรณาการ 5 ศาสตร์ การทำงานเป็นทีม และกระบวนการสร้างสรรค์ มีการออกแบบกิจกรรมโดยคำนึงถึงหลักสูตรแกนกลางของแต่ละวิชาและสอดแทรกเนื้อหาความเป็นไทยผ่าน 5 หน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) ตะลุงหลากสี 2) ดนตรีสื่อสาร 3) นิทานสัตว์หรรษา 4) นาวาลูกโป่ง และ 5) บ้านสามมิติ 3. ผลการตรวจชุดการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน พบว่า ชุดการสอนมีคุณภาพในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 4.36) 4. ผลจากการนำชุดการสอนไปทำการทดลองกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย=4.27) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจที่ได้ใช้ความคิดในการสร้างสรรค์ศิลปะมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.52) รองลงมานักเรียนเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ชิ้นงานมากขึ้น (ค่าเฉลี่ย = 4.47) และนักเรียนรู้สึกสนุกกับการเรียนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษา (ค่าเฉลี่ย = 4.41) ตามลำดับ | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to study the concept of STEAM Education and develop Arts Instructional package based on STEAM Education to promote the creative process . The samples in the research were 1) 3 specialists in STEM-STEAM Education 2) 3 teachers in STEM-STEAM Education 3) 3 best practice in Arts integrated teachers 4) 394 Arts teachers under the Office of the Basic Education Commission, and 5) 37 fifth graders. The instruments used in the study were questionnaire, observation form, assessment form, teaching evaluation pack and the satisfaction rating on the activity. Data collected and analyzed by percentage, mean, standard deviation and content analysis. The results summarized as follows; 1. STEAM Education concept was to apply knowledge, skills, and processes in science, technology, engineering, art and mathematics to the creation of work pieces through planning and implementation. In teaching and learning, teachers should stimulate their attention with a variety of media, raised questions for students to discuss and express their ideas, demonstrate how to create collective work, assign tasks for students to study, research, plan, design and follow the plan, represent the reflections and to summarize results from the activity. 2. Arts Instructional package based on STEAM Education aims to provide students with holistic thinking through the use of 5 subject knowledge in the creation of work pieces through the planning and implementation of a step-by-step approach. There are three main principles, including the integration of 5 Subjects teamwork skills and creative process the activity design that based on the core curriculum of each subject and inserted Thai content of 5 learning units included 1) colorful shadow paly (Talung) 2) Music communication 3) Animal fairy tales 4) water Balloons, and 5) 3D houses. 3. The results of the teaching set by 5 experts found that the instructional package was of a good quality (mean = 4.36). 4. The result of the instructional package based on STEAM Education which taught to fifth graders, the students were satisfied. (mean =4.27). When considering each item, it was found that students use the most creative ideas in art (mean = 4.52) secondary significent should students have inspiration of work piece (mean = 4.47) and students enjoy art lessons in STEAM Education concept (mean = 4.41) respectively. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1491 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ศิลปะ -- การศึกษาและการสอน | - |
dc.subject | การสร้างสรรค์ | - |
dc.subject | Arts -- Study and teaching | - |
dc.subject | Creative ability | - |
dc.title | การพัฒนาชุดการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 | - |
dc.title.alternative | DEVELOPMENT OF ART INSTRUCTIONAL PACKAGE BASED ON STEAM EDUCATION ENHANCING CREATIVE PROCESS FOR THE FIFTH GRADERS | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | ศิลปศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Khanobbhorn.W@Chula.ac.th,nobbhorn13@hotmail.com,Khanobbhorn.W@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.1491 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5983337427.pdf | 28.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.