Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59982
Title: ARCHITECTURAL DESIGN FACTORS INFLUENCING PEDESTRIAN FLOW IN COMMUNITY MALLS: A CASE STUDY OF THONG LO
Other Titles: ปัจจัยในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีอิทธิพลต่อการเดินเท้าภายในศูนย์การค้าชุมชน: กรณีศึกษาทองหล่อ
Authors: Nicha Wiboonpote
Advisors: Pat Seeumpornroj
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Architecture
Advisor's Email: Pat.S@Chula.ac.th,ps2272@gmail.com
Issue Date: 2017
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: During the past decade, community malls are in the fastest growing category of Bangkok’s retail industry. This growth was due to their building layouts and types of tenants which match urban lifestyles; along with Bangkok zoning restrictions for large shopping centers in residential areas. Today, the number of community malls with three or more floors (mid-rise community malls) is growing, especially in Thong Lo. This is because of the increasing land prices, where investments in community malls with one-two floors are no longer cost-effective. However, mid-rise community malls commonly have the issue of low pedestrian flows on the upper floors, which leads to lower chances of sales for the tenants. Accordingly, adjustments of building layouts to encourage customers to visit the upper floors are necessary for survivals of the community malls. This research aims to provide architectural design factors influencing pedestrian flows in community malls. For the research method, frameworks and theories are studied from literature reviews and interviews with architects and developers to form a research methodology for case studies in Thong Lo. Four methods for data collections are formed from three hypotheses. The first and the second hypotheses are the anchor tenants can draw customers to the upper floors, and the effortlessness in moving between floors can distribute pedestrian flows to the upper floors. The data of tenant placements, tenant mix, and pedestrian patterns are collected for these parts. The third hypothesis is visual accesses from entrances can encourage the customers to the upper floors. Here, the panoramic photograph is captured from each entrance and visibility graphs are generated from the program called DepthmapX (UCL, 2017). After these data are analyzed, it is found that apart from the anchor tenants, tenants such as learning centers and fitness centers can also encourage the flow of the customers. For the effortlessness, the combinations of vertical paths in most community malls are stairs and elevators. These vertical paths should be located near both main entrances and entrance from parking areas. The visual accesses in the community malls mostly rely on the relationships between atria, vertical distances between floors, and widths of corridors. When these design criteria are implemented to the proposed community mall, the result of the visibility graph shows that the upper floors are easier for the customers to access when compares with the case studies. All in all, this research is anticipated to provide design suggestions based on customers’ behaviors.
Other Abstract: ในระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมาศูนย์การค้าชุมชนเป็นรูปแบบธุรกิจการค้าที่มีการเติบโตสูงเป็นอันดับต้นๆ ของกรุงเทพ การเติบโตนี้มีผลมาจากลักษณะอาคารและประเภทผู้เช่าที่ตอบรับกับการใช้ชีวิตของคนเมือง รวมถึงกฎหมายผังเมืองที่มีข้อจำกัดมากสำหรับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ในเขตที่อยู่อาศัย ในปัจจุบันศูนย์การค้าชุมชนมีลักษณะเป็นอาคารสามถึงสี่ชั้นมากขึ้นในเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่น โดยเฉพาะทองหล่อ เนื่องจากราคาที่ดินที่ปรับตัวสูงทำให้การสร้างศูนย์การค้าชุมชนแบบหนึ่งถึงสองชั้นนั้นไม่คุ้มค่ากับการลงทุน อย่างไรก็ดีศูนย์การค้าชุมชนแบบสามถึงสี่ชั้นนั้นมักประสบกับปัญหาลูกค้าไม่กระจายตัวสู่ชั้นบน ส่งผลให้ผู้เช่าที่อยู่ชั้นบนมีโอกาสในการขายน้อย ดังนั้นการปรับปรุงรูปแบบอาคารเพื่อสร้างความชักจูงให้ลูกค้าขึ้นชั้นบน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความอยู่รอดของศูนย์การค้าชุมชน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอปัจจัยในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีผลต่อการเดินเท้าภายในศูนย์การค้าชุมชน กระบวนการในงานวิจัยเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ ร่วมกับการสัมภาษณ์สถาปนิกและผู้พัฒนาโครงการ เพื่อสร้างกรอบการวิจัยและศึกษาทฤษฎีที่นำไปสู่วิธีการเก็บข้อมูลของกรณีศึกษาในบริเวณทองหล่อ โดยมีสมมุติฐานและวิธีการเก็บข้อมูล ดังนี้ สมมุติฐานที่หนึ่ง ผู้เช่าหลักสามารถดึงดูดลูกค้าให้ขึ้นชั้นบนได้ สมมุติฐานที่สอง การอำนวยความสะดวกแก่การเคลื่อนตัวระหว่างชั้นสามารถกระจายลูกค้าขึ้นสู่ชั้นบนได้ ทั้งสองสมมุติฐานนี้มีการเก็บข้อมูลโดยการจดบันทึกประเภทและตำแหน่งที่ตั้งของผู้เช่า รวมถึงการสังเกตทิศทางในการเดินของลูกค้า สมมุติฐานที่สาม ความชัดเจนในการมองเห็นชั้นบนจากทางเข้าสามารถชักจูงให้ลูกค้าขึ้นชั้นบนได้ การเก็บข้อมูลในข้อนี้แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือการเก็บภาพ ๓๖๐ องศาจากทางเข้าโครงการแต่ละจุด ส่วนที่สองคือการใช้ชุดคำสั่งโปรแกรมเพื่อคำนวณระยะการมองเห็น หลังจากทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว พบว่านอกจากผู้เช่าหลักแล้ว ผู้เช่าประเภทโรงเรียนกวดวิชาและศูนย์ออกกำลังกายก็มีผลต่อทิศทางการเดินของลูกค้าเช่นกัน ในส่วนของความสะดวกสบายของลูกค้า พบว่าศูนย์การค้าชุมชนมักใช้ทางขึ้นลงประเภทบันไดและลิฟท์ โดยทางขึ้นลงควรตั้งอยู่ใกล้กับทางเข้า ทั้งนี้ไม่ใช่เพียงทางเข้าหลักหน้าโครงการเท่านั้น แต่รวมถึงทางเข้าจากที่จอดรถด้วย ส่วนความชัดเจนในการมองเห็นระหว่างชั้นนั้นมีองค์ประกอบหลักคือสัดส่วนของโถงอาคาร ความสูงระหว่างชั้น และความกว้างของทางเดินชั้นบน เมื่อนำเกณฑ์เหล่านี้มาใช้เป็นแนวทางการออกแบบ พบว่าชั้นบนของอาคารศูนย์การค้าชุมชนมีการเข้าถึงที่ง่ายและทั่วถึงมากขึ้นเมื่อเทียบกับกรณีศึกษา สุดท้ายนี้คาดว่าผลงานวิจัยจะสามารถเสนอแนะแนวทางการออกแบบที่เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้พื้นที่ของลูกค้าได้ต่อไป
Description: Thesis (M.Arch.)--Chulalongkorn University, 2017
Degree Name: Master of Architecture
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Architectural Design
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59982
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.15
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.15
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773701325.pdf14.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.