Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60098
Title: การพัฒนาแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: The Development of Political Literacy Inventory for Upper Primary School Students
Authors: ภัทรสุดา แก้วโวหาร
Advisors: ศิริชัย กาญจนวาสี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sirichai.K@Chula.ac.th,Sirichai.K@Chula.ac.th
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการพัฒนาแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อวิเคราะห์คุณภาพแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อเปรียบเทียบการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตฯ กับ นักเรียนในโรงเรียนสังกัด สพฐ. กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2560 โดยการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 797 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดการรู้ทางการเมือง เป็นแบบวัดหลายตัวเลือก ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ค่าความเที่ยง การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ตัวประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พบว่า มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้ทางการเมือง ทักษะทางการเมือง และเจตคติทางการเมือง 2. ผลการวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พบว่ามีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.82 ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลพบว่าโมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square = 108.24, df =83, p = .53, GFI = .98, AGFI = .96 RMR = .03, และ RMSEA = .02 3. ผลจากการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนการรู้ทางการเมือง ของนักเรียนของโรงเรียนสาธิตฯ มีค่าเฉลี่ยการรู้ทางการเมืองด้านทักษะสูงที่สุด 5.93 ค่าเฉลี่ยด้านความรู้ 5.65 และค่าเฉลี่ยด้านเจตคติ 5.61 นักเรียนของโรงเรียนในสังกัด สพฐ. มีค่าเฉลี่ยการรู้ทางการเมืองด้านทักษะสูงที่สุด 4.75 ค่าเฉลี่ยด้านเจตคติ 4.34 และค่าเฉลี่ยด้านความรู้ 4.18 พบว่า นักเรียนของโรงเรียนสาธิตฯ มีค่าเฉลี่ยการรู้ทางการเมืองทุกด้านสูงกว่านักเรียนโรงเรียนในสังกัด สพฐ. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The objectives of the research were: 1.) to develop the political literacy inventory for upper primary school students 2.) to analyze the quality of the political literacy inventory 3.) to compare political literacy between Demonstrative schools students and Office of the Basic Education Commission (OBEC) schools students. The participating students were randomly sampled from upper primary schools of academic year 2017. There were 797 students samples. The instrument was the political literacy test. Data were analyzed by using descriptive statistics, reliability, independent-t test and confirmatory factor analysis. Results were as follows: 1.) The political literacy for upper primary school students consisted of three factors: political knowledge, political skills and political attitudes. 2.) The political literacy inventory’s reliability was 0.82. The political literacy test’s validity found that the model was fits to the empirical data (Chi-square = 108.24, df =83, p =.53, GFI =.98, AGFI =.96 RMR =.03, และ RMSEA =.02) 3.) According to the political literacy test, students from demonstrative schools had average scores of skills, knowledge and attitudes 5.93, 5.65, and 5.61 respectively. Students from schools under OBEC had average scores of skills, attitudes and knowledge 4.75, 4.34, and 4.18 respectively. Students from demonstrative schools had average scores of all factors higher than students from schools under OBEC by statistical significant level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60098
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.730
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.730
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883368827.pdf4.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.