Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61522
Title: ความชุกชุมและความหลากหลายของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสในอ่าวไทยตอนใน
Other Titles: Abundance and diversity of gelatinous zooplankton in the inner gulf of Thailand
Authors: หัทยา จิตรพัสตร์
Advisors: อัจฉราภรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: แพลงก์ตอนสัตว์ทะเล -- อ่าวไทย
ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล -- อ่าวไทย
Marine zooplankton -- Thailand, Gulf of
Marine biodiversity -- Thailand, Gulf of
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสมีความหลากหลายทางชีวภาพและทางนิเวศวิทยาสูงพบได้ทั้ง herbivores และ carnivores ปัจจุบันการเพิ่มจำนวนของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสในทะเลเป็นที่สนใจทั่วโลก การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุกชุมและความหลากหลายของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสบริเวณอ่าวไทยตอนใน โดยเก็บตัวอย่างด้วยถุงลากแพลงก์ตอนขนาดตา 330 ไมโครเมตร จากอ่าวไทยตอนในในเดือนมิถุนายนเป็นตัวแทนฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  เดือนตุลาคมเป็นตัวแทนปลายฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ปี 2560 และเดือนเมษายนเป็นตัวแทนฤดูร้อน ปี 2561 ผลการศึกษาพบแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสทั้งหมด 63 ชนิด ไฮโดรเมดูซีเป็นกลุ่มที่มีความหลากชนิดมากที่สูงสุด ขณะที่หนอนธนูชนิด Flaccisagitta enflata เป็นชนิดเด่นจากการสำรวจทั้งสามฤดูโดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และฤดูร้อน นอกจากนี้แพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเด่นอื่น ๆ แตกต่างกันตามฤดูกาล โดยมี Doliolum sp. เป็นชนิดเด่นในปลายฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ดัชนีความหลากชนิดรวมทั้งความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสในบริเวณก้นอ่าวมีค่าสูงกว่าแนวห่างจากฝั่ง เนื่องจากอิทธิพลปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีการผันแปรสูงโดยเฉพาะความเค็มรวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหาร ความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสขึ้นอยู่กับระยะห่างจากปากแม่น้ำและฤดูกาลโดยมีค่าผันแปรอยู่ในช่วง 43-1,369 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ในฤดูร้อนพบความหนาแน่นเฉลี่ยมากที่สุด ในช่วงปลายฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พบความชุกชุมของ salps สูง ทำให้ค่าปริมาตรชีวภาพสูงที่สุดด้วย ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบชนิดและปริมาณของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเจลาตินัสพบความแตกต่างชุมชนแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มนี้ในบริเวณก้นอ่าวและบริเวณห่างฝั่งออกไป ผลการศึกษายังแสดงว่าในบริเวณก้นอ่าวมีความเค็มต่ำนั้นจะพบไฮโดรเมดูซีเป็นกลุ่มเด่น ขณะที่หนอนธนูเป็นกลุ่มเด่นในแนวถัดออกมาจากปากเเม่น้ำซึ่งเป็นบริเวณที่มีความเค็มสูง
Other Abstract: A highly diverse group of gelatinous zooplankton plays ecological roles which cover both herbivores and carnivores in marine food chains. Recently, many consequences of gelatinous zooplankton bloom have been concerned and became the global critical problems. The goal of this study was to investigate the abundance and diversity of gelatinous zooplankton in the Inner Gulf of Thailand. Samples of gelatinous zooplankton were collected by a 330µm-mesh net in June and October of 2017 and April 2018 as representatives of southwest monsoon, post-southwest monsoon and summer season, respectively. The total number of gelatinous zooplankton species recorded was 63 with hydromedusae as the most diverse group, while a chaetognath Flaccisagitta enflata was the dominant species in all seasons. However, temporal variation in dominant species was established that F. enflata dominated in both southwest monsoon and summer season, while Doliolum sp. was the dominant species in post-southwest monsoon season. Diversity index of gelatinous zooplankton as well as the density of gelatinous zooplankton from the upper part of the Inner Gulf of Thailand was the highest due to the environment variability especially salinity and the fertility of food sources. The abundance of gelatinous zooplankton also depended on the distance from the river mouth and seasons with the density range of 43-1,369 ind.m-3. Higher abundance was recorded in the upper part and in the summer season. The highest biovolume was noticed during post-southwest monsoon due to the abundance of salps. Community structure of gelatinous zooplankton showed the dissimilarity between the upper part of the Inner Gulf of Thailand and the lower part due to the difference in environmental factors. Hydromedusae dominated in the upper part with low salinity, whereas chaetognaths were the dominant species in the lower part with high salinity values.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61522
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1150
DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1150
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5872087623.pdf6.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.