Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62286
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนพรัตน์ ผลาพิบูลย์-
dc.contributor.authorศรีสุมาลัย รัตโน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-06-26T09:11:52Z-
dc.date.available2019-06-26T09:11:52Z-
dc.date.issued2518-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62286-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลและผู้บริหารแผนกพยาบาลเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารแผนกพยาบาลที่เป็นอยู่ (Real) 2.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลและผู้บริหารแผนกพยาบาลเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารแผนกพยาบาลตามอุดมคติ (Ideal) 3.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารแผนกพยาบาลกับพยาบาลเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารแผนกพยาบาลที่เป็นอยู่ (Real) และตามอุดมคติ (Ideal) วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารแผนกพยาบาลและพยาบาลในโรงพยาบาล 30 แห่ง ภายในเขตกรุงเทพมหานคร แยกเป็นผู้บริหารแผนกพยาบาล 30 คน และพยาบาล 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม Leader Behavior Description Questionnaire (LBDQ) ซึ่งแปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับของฮัลปิน (Halpin) การวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้วิธีสถิติ คำนวณเป็นร้อยละ หาค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ความแปรปรวน และทดสอบความมีนัยสำคัญ ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย 1. ตามความเห็นของพยาบาล ผู้บริหารส่วนใหญ่คือประมาณร้อยละ 46.67 ได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้มีพฤติกรรมทางการบริหารสูง ทั้งด้านความริเริ่มและด้านความเกรงใจ 2. ผู้บริหารส่วนมากหรือประมาณร้อยละ 43.33 เห็นว่าตนเองมีพฤติกรรมทางการบริหารสูง ทั้งด้านความริเริ่มและด้านความเกรงใจ 3. ผู้บริหารกับพยาบาลในโรงพยาบาลแต่ละแห่ง มีความคิดเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารแผนกพยาบาลที่เป็นอยู่ ในเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับสมาชิกในหน่วยงาน การพยายามสร้างรูปแบบที่ดีของหน่วยงาน วิธีติดต่อสัมพันธ์กันและกระบวนวิธีต่างๆ ในการดำเนินงาน 4.ผู้บริหารกับพยาบาลในโรงพยาบาลแต่ละแห่ง มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารแผนกพยาบาลที่เป็นอยู่และตามอุดมคติ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการแสดงออกซึ่งความเป็นมิตร ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การยอมรับนับถือ และการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารกับผู้ร่วมงาน 5.ผู้บริหารและพยาบาลในโรงพยาบาลทั้ง 30 แห่ง ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าผู้บริหารแผนกพยาบาลควรจะมีพฤติกรรมทางการบริหารสูงทั้งด้านความริเริ่มและด้านความเกรงใน 6.พยาบาลต้องการให้ผู้บริหารแผนกพยาบาลมีพฤติกรรมภาวะผู้นำมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ทั้งสองด้าน และผู้บริหารเองก็คิดว่าตนเองควรจะแสดงพฤติกรรมผู้นำให้เด่นชัดมากกว่าที่เป็นอยู่-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of the study The study was designed to analyze the administrative behavior of nursing service administrators in Bangkok Metropolis. The specific purpose of this research endeavor were as the following statements. 1. To ascertain perceptions concerning the “real” leader behavior of the administrators as described by the administrators themselves and the nurses. 2. To ascertain opinion concerning the “idea” leader behavior of the administrators as described by the administrators themselves and the nurses. 3. To compare the perceptions of the respondents with regard to the real and ideal administrative behavior of the administrators. Methods and Procedures The administrators and nurses in 30 hospitals in Bangkok Metropolis were selected as respondents. The sample included 240 respondents : 30 administrators, and 210 nurses. The instrument used was the Leader Behavior Description Questionnaire (LBDQ), adapted from the Halpin’s LBDQ. The statistical treatment included percentage, mean, analysis of variance, and test of significance. Major Findings The significant findings of this investigation have been summarized in the following statements. 1. The nurses accepted that there are 46.67 percent of the administrators had higher scored on both initiating structure and consideration. 2. The administrative scored themselves higher on both initiating structure and consideration or about 43.33 percent. 3. The statistically significant differences F.99(29,180) = 1.79 between the nurses and the administrator’s scores were found on real administrative behavior indicative of the relationship themselves to establish well defined patterns of organization, channels of communication, and method of procedure. 4. The administrators and the nurses agreed on the administrative behavior of nursing service administrators both real and ideal in friendship, mutual trust, respect, and warmth in the relationship between the administrators and the members of the work group. 5. The majority of the administrators and the nurses in 30 hospitals expected that the ideal nursing service administrators should be strong in initiating structure and show high consideration for the members of his work group. 6. The nurses would like to see the nursing service administrators show more leadership behavior on both dimensions. The administrators also thought that they should display more leadership behavior than they presently do.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectพยาบาล -- การบริหาร-
dc.titleพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหาร แผนกพยาบาลในกรุงเทพมหานคร-
dc.title.alternativeAdministrative behavior of nursing service administrators in Bangkok metropolis-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสุขศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srisumalai_Ra_front.pdf305.17 kBAdobe PDFView/Open
Srisumalai_Ra_ch1.pdf411.65 kBAdobe PDFView/Open
Srisumalai_Ra_ch2.pdf820.87 kBAdobe PDFView/Open
Srisumalai_Ra_ch3.pdf356.94 kBAdobe PDFView/Open
Srisumalai_Ra_ch4.pdf667.18 kBAdobe PDFView/Open
Srisumalai_Ra_ch5.pdf329.32 kBAdobe PDFView/Open
Srisumalai_Ra_back.pdf494.24 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.