Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6241
Title: | การสร้างความหมายของสาวพริตตี้ในอุตสาหกรรมรถยนต์โดยสื่อมวลชน |
Other Titles: | The meaning construction of "Pretty girls" in automobile business through mass media |
Authors: | กมลวรรณ ขุมทรัพย์ |
Advisors: | สุธี พลพงษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sutee.P@chula.ac.th |
Subjects: | รถยนต์ -- โฆษณา -- ไทย สตรีในโฆษณา -- ไทย |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบจุดร่วมและจุดต่างในความหมายของ "สาวพริตตี้" ที่สร้างขึ้นโดยผู้ผลิตความหมายสามกลุ่มได้แก่บริษัทรับจัดงาน ผู้ประกอบอาชีพสาวพริตตี้และสื่อมวลชน รวมทั้งศึกษากระบวนการต่อรองความหมายที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทรับจัดงาน ผู้ประกอบอาชีพสาวพริตตี้และสื่อมวลชน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแหล่งข้อมูลประเภทบุคคล เอกสารที่เกี่ยวข้อง สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออินเตอร์เน็ต สื่อเทปวีดีทัศน์ โดยการนำแนวคิดหลักที่เกี่ยวกับการประกอบสร้างความหมาย ได้แก่แนวคิดการสร้างความเป็นจริงทางสังคมและการเข้ารหัสของผู้ส่งสาร แนวคิดเกี่ยวกับการครอบงำและการต่อรองได้แก่การกำหนดวาระการสร้างวาระ ทฤษฎีสตรีศึกษากลุ่มเฟมินิส และการต่อรองอำนาจเพื่อกำหนดภาพตัวแทน แนวคิดทางด้านการตลาด ได้แก่กระบวนการผลิตงานของบริษัทรับจัดงาน จากการวิจัยพบว่าการสร้างความหมายของสาวพริตตี้นั้นขึ้นอยู่กับการควบคุมความหมายของกลุ่มผู้ผลิตทั้งสามกลุ่มบริษัทรับจัดงาน ได้ถ่ายโอนความหมายของสินค้าไปยังสาวพริตตี้ซึ่งทำหน้าที่เป็นสื่อบุคคลในการประชาสัมพันธ์สินค้า โดยให้ความสำคัญกับความสวย ความฉลาดมีไหวพริบและมีความรู้พื้นฐานเรื่องรถยนต์เป็นอันดับแรก ผู้ประกอบอาชีพสาวพริตตี้ใช้สื่อมวลชนเป็นช่องทางในการสร้างความหมายโดยอาศัยอำนาจของสื่อมวลชนในการสร้างความหมายเชิงบวกผ่านการเข้ารหัส โดยให้ความสำคัญกับความรู้พื้นฐานเรื่องรถยนต์ ความสามารถ และบุคลิกที่ดีเป็นลำดับแรก สื่อมวลชนนั้นได้ประกอบสร้างความหมายของสาวพริตตี้โดยการคัดสรรความหมาย สื่อมวลชนส่วนใหญ่ประกอบสร้างความหมายของสาวพริตตี้ในเชิงลบมากกว่าเชิงบวกความหมายเชิงลบได้แก่การแต่งกายที่ไม่เหมาะสม ส่วนความหมายเชิงบวกนั้นสื่อนำเสนอประเด็นเรื่องของความสามารถและความสวยเซ็กซี่ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ผลิตความหมายทั้งสามกลุ่มได้มีการสลับลำดับความสำคัญของความหมายโดยให้น้ำหนักกับความสำคัญแตกต่างกัน บริษัทรับจัดงานและสาวพริตตี้จะสร้างความหมายเชิงบวกเท่านั้นเพราะมีผลประโยชน์ร่วมกัน ส่วนสื่อมวลชนส่วนใหญ่นั้นสร้างความหมายเชิงลบเพราะธรรมชาติของสื่อมวลชนมักนำเสนอข่าวด้านลบมากกว่าด้านบวก การที่สื่อมวลชนมีอำนาจในการเข้าถึงผู้รับสารจำนวนมากทำให้สื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อการกำหนดความหมายของสาวพริตตี้มากที่สุด ในกระบวนการต่อรองความหมายของผู้ผลิตทั้งสามกลุ่มนั้นอาศัยสองช่องทางในการสร้างและต่อรองความหมายคือการสื่อสารระหว่างบุคคลและการสื่อสารมวลชน จากการวิจัยพบว่าสื่อมวลชนมีอำนาจในการสร้างและต่อรองความหมายมากที่สุดเมื่อเทียบกับบริษัทรับจัดงานและสาวพริตตี้ รองลงมาคือบริษัทรับจัดงานซึ่งมีอำนาจเหนือสาวพริตตี้ ส่วนสาวพริตตี้มีอำนาจในการต่อรองความหมายน้อยที่สุด สาเหตุที่สื่อมวลชนมีอำนาจสูงสุดในการต่อรองนั้นเกิดจากความสามารถในการเข้าถึงผู้รับสารจำนวนมากทำให้ข้อมูลข่าวสารที่สื่อมวลชนนำเสนอนั้นแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าผู้ประกอบอาชีพสาวพริตตี้นั้นจะใช้สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือในการสร้างและต่อรองความหมายเพื่อสร้างภาพตัวแทนความหมายด้านบวกให้อาชีพตนได้ในระดับหนึ่งแต่อำนาจในการสร้างความหมายและต่อรองความหมายที่แท้จริงนั้นเป็นอำนาจของสื่อมวลชนในการคัดเลือกและกำหนดประเด็นของสาวพริตตี้และนำเสนอต่อสังคม สำหรับการรับรู้ความหมายของผู้รับสารชายนั้นพบว่าผู้รับสารจำนวนใหญ่เห็นภาพความหมายของสาวพริตตี้เชิงบวกซึ่งความหมายดังกล่าวเกิดจากประสบการณ์ตรงในการเข้าชมงานแสดงรถยนต์ ซึ่งขัดแย้งกับความหมายเชิงลบที่สื่อมวลชนส่วนใหญ่นำเสนอ |
Other Abstract: | This qualitative study examines; 1) the meaning of "pretty girls" constructed by organizers, pretty girls, and mass media and ; 2) the negotiation process among the three groups of encoders. Samples were drawn from key informants, print media, internet, and video cassettes. It applies three major concepts of; 1) meaning construction including social construction of reality and encoding of audience; 2) hegemony and negotiation including agenda setting, agenda building, feminist approach and politics of negotiation; 3) marketing including event production by organizers. Study results indicate that the meaning construction of "pretty girls" depends on each encoder. Organizers ranked beauty, intelligence and sagacity, basic knowledge in automobile first while pretty girls ranked basic knowledge in automobile, ability, and characteristic first. The meaning of pretty girls portrayed by mass media was both positive and negative. It was based on the selective of meaning specifically the negative aspect of wearing improper attires. Ability and beauty were presented by mass media as positive aspects of pretty girls. The finding shows that the meaning of pretty girls was listed in an alternate order by the three encoders. It is found that both organizers and pretty girls focus mainly on positive meaning due to their mutual interests while mass media emphasize on negative meaning according to the rules of news writing suggesting that no news is good news. Mass media can reach massive audience within a short time. Therefore, they serve as a major encoder in the meaning construction of "pretty girls." Interpersonal communication and mass communication were used as a mean of meaning negotiation among the three groups. Results indicate that the power of meaning construction and negotiation was primarily controlled by mass media, followed by organizers and pretty girls respectively due to the capability of mass media in disseminating messages through massive audience instantly. Even though pretty girls tend to construct positive meaning for their careers through mass media, they, in fact, seem to have no control over the selection of meaning and agenda setting concerning "pretty girls." Instead, the story about "pretty girls" portrayed by mass media has become more convincing and reliable. Perceived meaning of "pretty girls" among male audience addresses the positive meaning shaped by their direct experiences in attending the trade shows. Such meaning contrasts with the negative meaning portrayed by the majority of mass media personnel. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6241 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1362 |
ISBN: | 9741749155 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2005.1362 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kamonwan_Ko.pdf | 3.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.