Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/628
Title: การฟ้อนของชาวผู้ไทย : กรณีศึกษาหมู่บ้านโพน อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์
Other Titles: Dance of Phuthai : a case study in Pon Village District, Kalasin Province
Authors: สุภาพร คำยุธา, 2521-
Advisors: สวภา เวชสุรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Subjects: ผู้ไท
หมู่บ้านโพน (กาฬสินธุ์)
การรำ--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
นาฏศิลป์--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา และการสืบทอดการฟ้อนอีสานของชนเผ่าผู้ไทย วิเคราะห์รูปแบบ กระบวนท่าฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ตามแบบชาวบ้านดั้งเดิม โดยศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์บุคคล ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศิลปะการฟ้อน และร่วมฝึกปฏิบัติการฟ้อน ผลการศึกษาพบว่าชาวผู้ไทยบ้านโพน มีศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในแบบชาวบ้านดั้งเดิม และมีการสืบทอด จนเกิดเป็นพัฒนาการมาจนถึงปัจจุบันอยู่ 2 ชุดด้วยกัน คือ ฟ้อนละครผู้ไทย และฟ้อนผู้ไทย ศิลปะการฟ้อนทั้ง 2 ชุด เป็นการฟ้อนที่เกิดขึ้นในชุมชนบ้านโพน และปัจจุบันยังมีการอนุรักษ์การฟ้อนอย่างต่อเนื่อง โดยมีการฟ้อนในงานบุญบั้งไฟ หรืองานพิธีการที่สำคัญ ซึ่งมีบทบาทในการสร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน และสังคมเป็นอย่างมาก ฟ้อนละครผู้ไทย เป็นการฟ้อนที่เกิดขึ้นจากประเพณีบุญบั้งไฟ ก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 จากหลักฐานที่ปรากฏ ฟ้อนละครผู้ไทย มีพัฒนาการแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ 1.ยุคดั้งเดิม ระหว่าง พ.ศ. 2459 -2512 เป็นการฟ้อนที่ไม่มีแบบแผนกระบวนท่าที่ชัดเจน 2. ยุคพื้นฟู ระหว่าง พ.ศ. 2532 -2539 เป็นการฟ้อนอย่างมีรูปแบบ และมีการคิดท่าฟ้อนขึ้นมา 4 ท่า ได้แก่ ท่าเดินทาง ท่ารำลาวละคร ท่าเซิ้งละคร และท่าสาละวัน 3. ยุคการประยุกต์ ระหว่าง พ.ศ.2539 - ปัจจุบัน รูปแบบการฟ้อนและองค์ประกอบในการฟ้อน มีการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสม ท่าฟ้อนมีแบบแผนที่ชัดเจน ซึ่งมี 5 ท่าประกอบด้วย ท่าเดิน ท่าฟ้อนข้าง ท่าไกวมือสูง ท่าหมุนตัว และท่าลง ฟ้อนผู้ไทย เป็นการฟ้อนที่เกิดจากความต้องการของชาวผู้ไทย เพื่อฟ้อนถวายองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในปี พ.ศ.2521 ท่าฟ้อนที่คิดประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกมี 5 ท่า ได้แก่ ท่าเดินผู้ไทย ท่าฟ้อนข้าง ท่ายิง ท่าม้วนหาง และท่าวงเดือน เอกลักษณ์ของการฟ้อนจะมีความสมจริงตามชื่อท่า ปัจจุบันได้มีการคิดท่าฟ้อนเพิ่มเติม 2 ท่าคือ ท่าฟ้อนเฉียง และท่าลง เอกลักษณ์การฟ้อนจะเน้นลีลาความอ่อนช้อย และมีการกำหนดระยะของการจัดวางท่าอย่างชัดเจน งานวิจัยนี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานทางด้านประวัติศาสตร์นาฏยศิลป์อีสาน ในแบบชาวบ้านดั้งเดิม อันจะเป็นแนวทางในการศึกษาฟ้อนอีสาน ต่อไป
Other Abstract: This thesis aims to study the history and existence of Isan Dance in Phuthai Village, which is exclusively distinct and unique dance especially for Banpon Phuthai Village. To analyze the dance pattern precisely, the sources of study are gathered from the related document, interviewing the concerned and skillful villagers, and joining to practice the dance. The study discovered that there are two kinds of unique dance : Fonn Lakorn Phuthai and Fonn Phuthai which still kept the gracefulness as the old day did in Banpon Phuthai Village. Furthermore, it had been continuously passed on to the young generation till nowadays. The dance is presently preformed in Rocket Festival (Boon Bang Fai) and in other important ceremonies. Not only the Fonn Phuthai Dance takes its role to promote the reputation of the village but to preserve the precious dance of the country’s heritage also. Fonn Lakorn Phuthai is originated from rocket festival before the reign of King Rama 5 as the evidence shows. It has three developed stages : 1) The Primitive stage (1906-1969), Non formal dance pattern. 2) The Innovation stage (1989-1996), Created 4 formal dance patterns which are Duen Tang, Ram Low Lakorn, Serng Lakorn and Salawan. 3) The Applied stage (1996-present), Standardized dance pattern, Created and adapted 5 formal dance patterns which are Duen, Fonn Khang, Kwai mua Soong, Mun Tua and Long. Fonn Phuthai is designed by the villagers in the purpose of performing to Her Majesty the Queen Sirikit in 1978. The 5 dance pattern were initially created at that time are Duen Ohuthai, Fonn Khang, Ying, Muan Hang and Wongdeon. Presently, there are two more additional dance patterns is Fonn Chaing and Long which the name of the dance patterns come from its gesture. The dance emphasized in the graceful and affectedly graceful gestures. This research is basic information in history of Isan Dance which the scope of study emphasized in the specific group of village. It will be a guidance for the interested Isan Dance researcher to know the general ideas of the Isan Culture richness.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/628
ISBN: 9741753438
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn.pdf22.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.