Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63416
Title: ผลกระทบของกรดไหลย้อนต่อการดำเนินของโรคพังผืดในปอด
Other Titles: Effect of gastroesophageal reflux to progression of  pulmonary fibrosis
Authors: จุฑาภัทร วีระวัฒนา
Advisors: กมล แก้วกิติณรงค์
สุเทพ กลชาญวิทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Kamol.K@Chula.ac.th
Sutep.G@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มาและความสำคัญ : ภาวะกรดไหลย้อนเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคพังผืดในปอด เคยมีรายงานว่าสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดที่แย่ลง อย่าวไรก็ตามการรักษาด้วย ยา proton pump inhibitor (PPI) ยังได้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจนัก วิธีการศึกษา : ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น โรคพังผืดในปอดจากภาพถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เข้ารับการตรวจกรดไหลย้อนด้วยวิธี esophageal manometry,24 hr pH monitoring /impedance หลังจากหยุดยา PPI อย่างน้อย 7 วัน มีการเก็บข้อมูลสมรรถภาพปอดและ แบบสอบถามประเมิณอาการเหนื่อย (SGRQ score) เมื่อเข้าร่วมโครงการวิจัย และติดตามผลที่ 12 สัปดาห์ ภาวะกรดไหลย้อนนิยามโดย มีค่า abnormal esophageal acid exposure (ระยะเวลาที่ค่า pH ที่หลอดอาหารส่วนปลายน้อยกว่า 4 มากกว่า 4.5%) หรือจำนวน reflux (มีการลอลงของค่าการนำไฟฟ้ามากกว่า 50% อย่างน้อย 2 ช่องการตรวจที่หลอดอาหารส่วนปลาย) มากกว่า 40 ครั้ง ผลการศึกษา : ผู้ป่วยโรคพังผืดในปอด 22 ราย (ผู้ชาย 10 ราย ผู้หญิง 12 ราย, อายุ 60.68 ± 10.13 ปี) เ มีการลดลงของค่า FVC ที่ 12 สัปดาห์ (150 มล) ในกลุ่มที่มีกรดไหลย้อนชนิดเป็นกรด เทียบกับกลุ่มที่ไม่มีกรดไหลย้อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p value < 0.001  สรุปผลการวิจัย : ผู้ป่วยพังผืดในปอดที่มีกรดไหลย้อนชนิดที่เป็นกรด จะมีการลดลงของค่า FVC ที่ 12 สัปดาห์มากกว่ากลุ่มที่ไม่มีกรดไหลย้อน  
Other Abstract: Background : Gastroesophageal acid reflux is common in patients with pulmonary fibrosis and has been reported to be associated with pulmonary function decline. However, treatment with proton pump inhibitor (PPI) still had unsatisfactory results. Methods : Patients diagnosed pulmonary fibrosis by HRCT scan underwent high resolution esophageal manometry and 24-H impedance pH monitoring during off PPI for > 7 days. Baseline pulmonary function test (PFT) and dyspnea scores (SGRQ score) were evaluated, then at 12 weeks follow-up. Significant GER was defined as either abnormal esophageal acid exposure (% time pH < 4 at distal esophagus >4.5%) or total number of acid and non-acid reflux (>50% impedance drop at least 2 most distal channels) > 40 times during 24-H monitoring. Results : Twenty two patients (Male 10 female 12, age 60.68 ± 10.13 years) with pulmonary fibrosis were evaluated. When compared to the non GER group, there was significantly decrease of force vital capacity (FVC) at 12 weeks in patients with abnormal esophageal acid exposure (mean change 150 ml) p value< 0.001. Conclusions : Abnormal esophageal acid exposure causes more FVC decline at 12 weeks follow up when compare to the non GER group.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63416
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1491
DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1491
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074007330.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.