Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64237
Title: ศิลาวรรณาและธรณีเคมีของหินภูเขาไฟ ในอำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี และอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
Other Titles: Petrology and geochemistry of volcanic rocks in Lam Sonthi district, Lopburi province and Bueng Sam Phan district, Phetchabun province
Authors: กนกวรรณ เอ่งฉ้วน
Advisors: อภิสิทธ์ ซาลำ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Abhisit.A@chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับศิลาวรรณาและธรณีเคมีของหินภูเขาไฟ ในอำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี และอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยพื้นที่ศึกษาทั้งสองอยู่ในส่วนแนวคดโค้งเลย ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเข้าใจลักษณะธรณีวิทยา จำแนกลักษณะหินภูเขาไฟ ให้สอดคล้องกับหมวดหินที่เหมาะสมสำหรับหินภูเขาไฟในพื้นที่ลำสนธิ และพื้นที่พึงสามพัน จากการวิเคราะห์ทางศิลาวรรณา ทำการแบ่งกลุ่มหินภูเขาไฟที่พบได้เป็นสามกลุ่ม คือ กลุ่มหินแอนดีไซต์เนื้อดอก กลุ่มหินบะซอลติกแอนดีไซต์เนื้อดอก และกลุ่มหินไมโครไดออไรต์ โดยในพื้นที่ลำสนธิพบสองกลุ่มหิน ได้แก่ กลุ่มหินแอนดีไซต์เนื้อดอก และกลุ่มหินไมโครไดออไรต์ ส่วนในพื้นที่บึงสามพันพบ สองกลุ่มหินเช่นกัน ได้แก่ กลุ่มหินแอนดีไซต์เนื้อดอก และกลุ่มหินบะซอลติกแอนดีไซต์เนื้อดอก หลังจากนั้นทำการคัดเลือกหินที่สดที่สุด และมีการแปรเปลี่ยนน้อยที่สุด นำไปวิเคราะห์ทางด้านธรณีเคมี โดยใช้เครื่อง XRF พบว่ากลุ่มหินแดนดีไซต์เนื้อดอกของพื้นที่ลำสนธิ ธาตุหลักมีปริมาณ Mg, Fe และ Ti ที่ตำกว่า และธาตุร่องรอยมีปริมาณ Nb, Th, Y และ Zr ที่สูงกว่ากลุ่มหินภูเขาไฟทั้งสองกลุ่มในพื้นที่บึงสามพัน และกลุ่มหินไมโครไดออไรต์ ของพื้นที่ลำสนธิ ซึ่งมีธาตุหลักปริมาณของ Si, K และ Mn ที่ต่ำกว่า และธาตุร่องรอยมีปริมาณ V ที่สูงกว่า แล้ว จากผลวิเคราะห์ธรณีเคมี ทำให้ทราบว่ากลุ่มหินแอนดีไซต์เนื้อดอกของพื้นที่ลำสนธิ บ่งชี้ถึงชนิดของแมกม่าต้นกำเนิดประเภทแคลอัลคาไลน์ และ Metaluminous ส่วนกลุ่มหินภูเขาไฟทั้งสองกลุ่มในพื้นที่บึงสามพัน และกลุ่มหินไมโครไดออไรต์ของพื้นที่ลำสนธิ บ่งชี้ถึงชนิดแมกม่าต้นกำเนิดประเภทโทรลีไอต์ และ Metaluminous โดยหินภูเขาไฟจากพื้นที่ลำสนธิ และพื้นที่บึงสามพัน มีสภาพแวดล้อมธรณีแปรสัณฐานแบบแนวคดโค้งภูเขาไฟ (Volcanic arc) และมีความสัมพันธ์กับชุดหินภูเขาไฟในยุคเพอร์โม-ไทรแอสซิก ทางด้านองค์ประกอบทางเคมีและลักษณะธรณีแปรสัณฐาน
Other Abstract: This project study about petrology and geochemistry of volcanic rocks from Lam Sonthi District, Lopburi Province and Bueng Sam Phan District, Phetchabun Province, where the two areas are in Loei Fold belt, aiming to understand geology of Lam Sonthi and Bueng Sam Phan areas and define volcanic rocks in study areas to a proper rock formation. Based on petrological study can be subdivided into 3 units volcanic rocks namely; porphyritic andesite, porphyritic basaltic andesite and microdiorite. In Lam Sonthi area, there are two units which are porphyritic andesite and microdiorite and in Bueng Sam Phan area, there are also two units which are porphyritic andesite and porphyritic basaltic andesite. Then, all those samples from 3 units were least alteration and were selected for geochemical study by using XRF. Major element and trace element characteristics indicate that the porphyritic andesite unit of Lam Sonthi area has lower amount of Mg, Fe and Ti and has higher amount of Nb, Th, Y and Zr then the two volcanic units of Bueng Sam Phan area and microdiorite unit of Lam Sonthi area, which have lower amount of Si, K and Mn and have slightly high V. They also suggest that the origin magma of porphyritic andesite unit of Lam Sonthi area derived from cal-alkaline magma series and metaluminous. For the two units of volcanic rocks in Bueng Sam Phan area and microdiorite unit of Lam Sonthi area, the origin magma are suggested to be tholeiite maga series and metaluminous, leads to conclusion that the volcanic rocks in the Lam Sonthi area and Bueng Sam Phan area have been formed in a volcanic are environment. So, this two study areas are related with Late Permian to Early Triassic volcanic rocks by geochemistry and tectonic setting.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64237
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanokwan_E_Se_2561.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.