Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64255
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศรีเลิศ โชติพันธรัตน์ | - |
dc.contributor.author | บัณทิตา ราชานาค | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-02-26T03:11:50Z | - |
dc.date.available | 2020-02-26T03:11:50Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64255 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้ทำการศึกษาผลกระทบของมอนต์มอริลโลไนต์คอลลอยด์ต่อการเคลื่อนตัวของแคดเมียม โดยทดลองในคอลัมน์ที่บรรจุทรายอิ่มตัวซึ่งจำลองภายใต้การไหลภายใต้ชั้นน้ำบาดาลมีแรงดัน การทดลองแบบคอลัมน์ใช้แคดเมียมที่ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ผสมกับมอนต์มอริลโลในต์คอลลอยด์ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัมต่อลิตร กำหนดความเร็วการไหลเท่ากับ 0.159 เซนติเมตรต่อนาที โดยการทดลองแบบคอลัมน์ทำภายใต้ที่ค่าพีเอชที่แตกต่างกัน (พีเอช 3 6 และ 8) จากการทดลองพบว่า เมื่อค่าพีเอชเพิ่มขึ้นจากพีเอช 3 เป็นพีเอช 8 ทำให้มอนต์มอริลโลไนต์คอลลอยด์มีประจุที่พื้นผิวเป็นลบมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการดูดติดประจุบวกของแคดเมียมได้มากขึ้น ดังนั้นปริมาณแคดเมียมที่เคลื่อนที่ผ่านคอลัมน์จึงเพิ่มขึ้นจาก 1.67 มิลลิกรัม เป็น 1.89 มิลลิกรัม คิดเป็นร้อยละ 11.64 สำหรับค่าตัวประกอบความหน่วงของแคดเมียมพบว่ามีค่าลดลงจาก 3.71 เป็น 2.83 (ลดลงร้อยละ 23.62), 4.41 เป็น 3.07 (ลดลงร้อยละ 30.33) และ 5.51 เป็น 3.43 (ลดลงร้อยละ 37.83) ซึ่งทำให้มีค่าความเร็วการเคลื่อนที่ของแคดเมียมเพิ่มขึ้นภายใต้ค่าพีเอช 3 6 และ 8 ตามลำดับ เนื่องจากผลของการมีมอนต์มอริลโลในต์คอลลอยด์ในระบบการไหล ดังนั้นมอนต์มอริลโลไนต์คอลลอยด์ช่วยส่งเสริมการเคลื่อนที่ของแคดเมียมภายใต้สภาวะที่มีค่าพีเอชที่สูงอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ผลการศึกษาพบว่าเมื่อค่าพีเอชสูงขึ้นมอนต์มอริลโลไนต์คอลลอยด์ที่เคลื่อนที่ออกมาจากคอลัมน์เพิ่มขึ้นจาก 10.59 มิลลิกรัม เป็น 13.40 มิลลิกรัม เมื่อค่าพีเอชเพิ่มขึ้นจากพีเอช 3 ไปเป็นพีเอช 8 เนื่องจากค่าพีเอชที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้อนุภาคของมอนต์มอริลโลไนต์คอลลอยด์มีขนาดเล็กลง (ลดลงจาก 487.00 นาโนเมตรเป็น 190.80 นาโนเมตร) และประจุบนผิวของอนุภาคของมอนต์มอริลโลไนต์คอลลอยด์มีค่าลดลงจาก -6.56 มิลลิโวลล์เป็น -13.10 มิลลิโวลล์ เมื่อค่าพีเอชเพิ่มขึ้นจากพีเอช 3 ไปเป็นพีเอช 8 ตามลำดับ และจากผลการวิเคราะห์ SEM พบอนุภาคมอนต์มอริลโลไนต์คอลลอยด์เกาะที่พื้นผิวทรายหลังจากให้มอนต์มอริลโลไนต์คอลลอยด์และแคดเมียมไหลผ่าน และพบธาตุเหล่านี้: อลูมิเนียม โซเดียม ซิลิกอน และออกซิเจน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของแร่มอนต์มอริลโลไนต์ | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study investigated the impacts of pH on co-transport of cadmium (Cd) and montmorillonite colloid through water-saturated sand column. The Cd-bearing montmorillonite was injected through the column containing saturated sand which was simulated as a groundwater flowing under pressure aquifer. Column experiment using 10 ppm of Cd mixed with 100 ppm of montmorillonite colloid. Cadmium and montmorillonite colloid solutions of different pH were pumped to the column in upward mode at a constant velocity of 0.159 cm/min. The column experiment was done under different pH conditions (3, 6 and 8). According to column experiments, the results revealed that the increase in Cd concentration in effluent from 1.67 mg. to 1.89 mg. (11.64% increase) when the pH value increased from pH 3 to pH 8. Moreover, retardation factors (RF) of Cd increase with increasing pH. In addition, the presence of montmorillonite colloid decreased the RF of Cd from 3.71 to 2.83 (23.62% decrease), 4.41 to 3.07 (30.33% decrease) and 5.51 to 3.43 (37.83% decrease), facilitating Cd movement under pH 3, 6 and 8, respectively. Therefore, montmorillonite colloid can promote the movement of Cd at the higher pH conditions. In addition, when increasing pH, the montmorillonite colloid passing through the column increased from 10.59 mg to 13.40 mg due to the decrease in size of particles (from 487.00 nm to 190.80 nm) and decrease of negative charge on the montmorillonite from -6.56 mV. to -13.10 mV. As per; SEM analysis, montmorillonite colloid was sticked onto the sand surface. This was indicated by the appearance of these elements: aluminum, sodium, silicon and oxygen. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | ผลกระทบของมอนต์มิริลโลไนต์คอลลอยด์ต่อการเคลื่อนตัวของแคดเมียมในคอลัมน์ทรายอิ่มตัว | en_US |
dc.title.alternative | Impact of montmorillonite colloid on facilitated-transport cadmium in saturated sand column | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | Srilert.C@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Bunthita_R_Se_2561.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.