Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64323
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประณัฐ โพธิยะราช-
dc.contributor.authorกนกพันธุ์ พานิชสมบัติ-
dc.contributor.authorวิศวชิต ปานบางพงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-03-10T09:45:40Z-
dc.date.available2020-03-10T09:45:40Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64323-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561en_US
dc.description.abstractปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอมีความพยายามที่จะปรับปรุง พัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอให้ประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และยังคำนึงถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเส้นใยยังคงมีสมบัติที่ดี มีความแข็งแรง ยืดหยุ่น รวมถึงการตอบสนองต่อการใช้งานเฉพาะด้าน อาทิ สิ่งทอที่ช่วยลดการเกิดไฟฟ้าสถิต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสมบัติโดยรวมของผลิตภัณฑ์สิ่งทอเมื่อถูกนำไปใช้งาน ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะนำพลาสติกชีวภาพ (bioplastic) ได้แก่ พอลิแล็กทิกแอซิด (poly(lactic acid), PLA) และพอลิบิวทีลีนซักซิเนต (poly(butylene succinate), PBS) มาผลิตเป็นเส้นใยผสม เนื่องจากในปัจจุบันแนวโน้มความสนใจของผู้ใช้ให้ความสำคัญกับวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการปรับปรุงสมบัติด้านความแข็งแรง เสถียรภาพทางความร้อน รวมถึงสมบัติต้านทานการเกิดไฟฟ้าสถิต งานวิจัยนี้ได้ศึกษาอัตราส่วนระหว่างพอลิแลกทิกแอซิดและพอลิบิวทีลีนซักซิเนต (100:0, 95:5, 90:10, 80:20) และศึกษาปริมาณการเติมแกรฟีนในพอลิเมอร์ผสม (ร้อยละ 0.5, 1.0, 1.5, 2.0 ) พบว่าที่อัตราส่วนพอลิเมอร์ผสมที่ 90:10 มีสมบัติเชิงกลที่เหมาะสม พบอนุภาคของพอลิบิวทีลีนซักซิเนตกระจายตัวในพอลิแลกทิกแอซิด มีขนาดที่ใกล้เคียงกันและกระจายตัวกันอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อเติมแกรฟีนพบว่าที่ปริมาณร้อยละ 0.5 มีความทนแรงดึง ประกอบกับร้อยละการยืดตัวที่ดี เนื่องจากเป็นอัตราส่วนที่แกรฟีนสามารถกระจายตัวในเมทริกซ์ได้ดีและมีส่วนช่วยในการเหนี่ยวนำให้เกิดผลึก นอกจากนี้ปริมาณแกรฟีนที่เพิ่มขึ้นจะทำให้มีอุณหภูมิการสลายตัวสูงขึ้น และสมบัติทางไฟฟ้าดีขึ้นเมื่อเทียบกับเส้นใยพอลิเมอร์ผสมที่ไม่มีการเติมแกรฟีนen_US
dc.description.abstractalternativeTextile industries effort to develop textile products for better performance in order to increase value of textiles and also consider about eco-friendly products. The fibers should be strength, flexible and other properties such as anti-static properties. This research aims to use biopolymer as poly(lactic acid) (PLA) and poly(butylene succinate) (PBS) blended for eco-friendly fibers in various PLA:PBS ratios (100:0, 95:5, 90:10, 85:15 and 80:20). The blend fibers were mixed with grapheme particles in various ratios (0.5, 1.0, 1.5 and 2.0 wt.%) for improve mechanical, thermal and electrical properties. The results showed the optimal ratio of PLA:PBS is 90:10 which have high mechanical properties because PBS is well distributions and disperses in PLA matrix. The PLA/PBS blends filled with graphene 0.5 wt.% have high tensile strength more than neat.PLA/PBS because graphene is well disperse in polymer matrix and induce the polymer chains to rearrange for crystallization. Moreover, the increased amount of graphene also increase thermal and electrical properties.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleเส้นใยจากพอลิเมอร์ผสมพีแอลเอ/พีบีเอสเสริมแรงด้วยแกรฟีนสำหรับงานต้านไฟฟ้าสถิตย์en_US
dc.title.alternativePLA/PBS blend fiber reinforced with graphene for anti-static applicationen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorPranut.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanokpun P_Se_2561.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.