Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71283
Title: การขยายตัวของอุตสาหกรรมกับความไม่เท่าเทียมกันของรายได้
Other Titles: Industrialization and income inequality
Authors: อรกช เก็จพิรุฬห์
Advisors: อิศรา ศานติศาสน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Isra.S@Chula.ac.th
Subjects: การพัฒนาอุตสาหกรรม
การส่งเสริมอุตสาหกรรม
การกระจายรายได้
Industrialization
Industrial promotion
Income distribution
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การขยายตัวของอุตสาหกรรม เป็นกลไกสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา ในขณะที่ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของรายได้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นโดยตลอดเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงปี 2533 - 2535 มีการศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีความไม่เท่าเทียมกันของรายได้รุนแรงที่สุดใน กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก หากปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมตามมา โดยปัญหาทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น เนื่องจากการขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพ และการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันส่วนปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้น เป็นผลของการอพยพของแรงงานจากชนบทเข้าสู่เมือง ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาเป็น ลูกโซ่ ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการขยายตัวอุตสาหกรรมกับความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ดังกล่าว จะได้ ทำการศึกษา ในปี 2531 2535 และ 2539 โดยดัชนี Shorrocks Order Two ซึ่งเป็นดัชนีที่สามารถนำมาแยกส่วนเพื่อหาสาเหตุ ที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ โดยวิธีการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นการวิเคราะห์ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้โดยรวม ส่วนที่สองเป็นการวิเคราะห์ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้โดยวิธีแยกส่วนตามปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ความไม่เท่าเทียมกันตามแหล่งที่มาของรายไค้ และความไม่เท่าเทียมกันตามคุณสมบัติของประชากร เช่น ภาคการผลิต ภูมิภาค เขตการปกครอง การศึกษา และอาชีพ เป็นด้น ส่วนสุดท้ายเป็นการวิเคราะห์ความไม่เท่าเทียมกันของ รายได้โดยวิธีแยกส่วนตามระยะเวลา ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของรายได้โดยรวมมีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นสุงสุด ในปี 2535 การขยายตัวของอุตสาหกรรม ทำให้มีการสะสมทุนเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างรายได้ และกระทบต่อความไม่เท่าเทียมกันของรายได้โดยรวม โดยที่ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้จากกำไรนอกภาคเกษตร สามารถอธิบายความไม่เท่าเทียมกันของรายได้โดยรวมได้สูงสุด ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของความไม่เท่าเทียมกันของรายได้จาก กำไรนอกภาคเกษตร ในปี 2535 และรายได้จากค่าจ้างและเงินเดือน ในปี 2539 เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้โดยรวมเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาโครงสร้างความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ในแต่ละภาคการผลิต พบว่า ภาคบริการ สามารถอธิบายความไม่เท่าเทียมกันของรายได้สูงสุด ในปี 2531 และ 2535 ขณะที่ ภาคอุตสาหกรรมอธิบายได้ สูงสุดในปี 2539 หากมองในภาพรวม พบว่า การขยายตัวของอุตสาหกรรม เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความไม่เท่าเทียมกันของ รายได้เพิ่มสูงขึ้น แต่หากมองในระดับภูมิภาค พบว่า ยังขึ้นอยู่กับลักษณะการขยายตัวของอุตสาหกรรมว่า มีการขยายตัวแบบ กระจุกอยู่ในบางส่วนของภูมิภาคหรือกระจายไปทั่วทั้งภูมิภาค
Other Abstract: Industrialization has been an important mechanism in Thailand’s economics growth. At the same time, it has also exacerbated the income gap between the rich and the poor. During the period 1990-1992, some researches reveal that this problem impacted Thailand the most compared to the other East Asian countries. Income inequality is cause for concern because it creates both economics and social problems. It threatens the economy by compromising skilled labor and competitiveness and causes social problem through the associated risks of rural to urban migration. This research explores the impact of industrialization on Thailand’s income inequality for the years 1988, 1992, 1996. The analysis employs the Shorrocks Order Two indices, which can be decomposed for analyses source of income inequality. This study is divided into the following three parts: 1) analysis of aggregate income inequality 2) analysis according to source of income and various other population characteristics 3) analysis through intertemporal decomposition. The results of this study reveal that income inequality has increased in severity in Thailand, reaching its height in 1992. While industrialization has increased capital formation, it has also changed the income structure and impacted the overall distribution of income. Income inequality derived from non-farm profit account for most of Thailand aggregate income inequality. In particular, non-farm profit for 1992 and wages and salaries for 1996 cause the income gap to widen. When considering the structure of income inequality of each sector of production, the service sector most explains for 1988 and 1992 while the industrial sector most explains for 1996. Overall, industrialization has increased income inequality, but on the regional level, the increase also depends on the nature of industrialization. An important feature is whether growth was concentrated in some areas or dispersed allover the region.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71283
ISBN: 9743325751
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orakoch_ke_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.03 MBAdobe PDFView/Open
Orakoch_ke_ch1_p.pdfบทที่ 11.67 MBAdobe PDFView/Open
Orakoch_ke_ch2_p.pdfบทที่ 22.08 MBAdobe PDFView/Open
Orakoch_ke_ch3_p.pdfบทที่ 31.57 MBAdobe PDFView/Open
Orakoch_ke_ch4_p.pdfบทที่ 41.17 MBAdobe PDFView/Open
Orakoch_ke_ch5_p.pdfบทที่ 53.74 MBAdobe PDFView/Open
Orakoch_ke_ch6_p.pdfบทที่ 6885.04 kBAdobe PDFView/Open
Orakoch_ke_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.