Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71297
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรชุลี อาชวอำรุง | - |
dc.contributor.advisor | สุชาดา บวรกิตติวงศ์ | - |
dc.contributor.author | สุนทรี ดวงทิพย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-12-07T03:33:44Z | - |
dc.date.available | 2020-12-07T03:33:44Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9741301278 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71297 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเพื่อสัมฤทธิผลของสมรรถภาพด้านการเรียนรู้ 2. พัฒนารูปแบบสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่ส่งเสริมสัมฤทธิผลของสมรรถภาพด้านการเรียนรู้ 3. ทดสอบรูปแบบสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่ส่งเสริมสัมฤทธิผลของสมรรถภาพด้านการเรียนรู้ 4. เสนอรูปแบบสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่ส่งเสริมสัมฤทธิผลของสมรรถภาพด้านการเรียนรู้ รูปแบบสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 6 ตัว และตัวแปรสังเกตได้19 ตัว กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์และนักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 3 ในหลักสูตร 4 ปีของสถาบันราชภัฏ ประจำปีการศึกษา 2543 จำนวนกลุ่มตัวอย่างละ 382 คน เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความตรงของรูปแบบสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ประกอบด้วยแบบสอบถามอาจารย์ 1 ฉบับ และแบบสอบถามนักศึกษา 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่างและลักษณะการแจกแจงตัวแปร โดยหาค่าสถิติพื้นฐาน ตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วย โปรแกรมลิสเรส 8.3 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่ส่งเสริมสัมฤทธิผลของสมรรถภาพด้านการเรียนรู้มี 5 ด้านได้แก่ ผู้สอน รูปแบบการสอน บรรยากาศในห้องเรียนผู้เรียนและแบบการเรียน ผู้สอนมีอิทธิพลต่อสมรรถภาพด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยส่งผ่านรูปแบบการสอน บรรยากาศในห้องเรียนและแบบการเรียน ซึ่งบรรยากาศในห้องเรียน รูปแบบการสอนและแบบการเรียนเป็นองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน รูปแบบสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี กล่าวคือ ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายค่าความแปรปรวนของตัวแปรสมรรถภาพด้านการเรียนรู้ได้ร้อยละ 97 ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย มีดังนี้ 1. ผู้สอนควรกำหนดรูปแบบการสอน และบรรยากาศห้องเรียนที่เอื้ออำนวยต่อการ พัฒนาผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มากที่สุด เพราะผลจากการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนและบรรยากาศในห้องเรียนมีอิทธิพลต่อสมรรถภาพด้านการเรียนรู้ 2. ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาควรพัฒนาอาจารย์ในด้านคุณลักษณะด้านวิชาชิพ เพราะเป็นคุณลักษณะที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนานักศึกษา 3. ผู้สอนควรกำหนดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเพื่อพัฒนาให้นักศึกษาเกิดคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์อื่นๆ | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of the research were 1) synthesize theories and concepts concerning classroom environment for achievement in learning competence 2) to develop a classroom environment model for achievement in learning competence 3) to test the classroom environment model for achievement in learning competence 4) to present the classroom environment model for achievement in learning competence. The developed model was a LISREL model which consists of 6 latent variables and 19 observable variables. Samples in the study consist of 382 instructors and 382 third year students of 2000 academic year in Rajabhat Institutes. Questionnaires for instructors and students were developed by the researcher. Basic statistics were used to analyze the samples’ background and the distribution of the observable variables and LISREL program version 8.3 was performed for model testing. The research results indicated five factors affecting learning competence: instructor, teaching styles, classroom climate, learner and learning styles. Instructor through teaching styles, classroom climate and learning styles. Moreover, these three factors were found to be interrelated. The model accounted for 97% of the variance in learning competence. Suggestions from research results are as follows: 1.Teaching model should be determined by instructors and classroom climate provided to facilitate to student development to their potential as confirmed by the results. 2.Professional development for instructors should be given as it has direct impact on student development. 3.Ciassroom environment should be designed to develop other desirable student characteristics. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ห้องเรียน | - |
dc.subject | สภาพแวดล้อมทางการเรียน | - |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | - |
dc.subject | การเรียนรู้ | - |
dc.subject | ลิสเรลโมเดล | - |
dc.subject | ลิสเรลโมเดล สถาบันราชภัฏ -- นักศึกษา | - |
dc.title | การพัฒนารูปแบบสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเพื่อสัมฤทธิผลของสมรรถภาพด้านการเรียนรู้ในสถาบันราชภัฏ | - |
dc.title.alternative | The development of classroom model for achievement in learning competence in Rajabhat Institutes | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | อุดมศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Soontaree_do_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 787.01 kB | Adobe PDF | View/Open |
Soontaree_do_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Soontaree_do_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Soontaree_do_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 785 kB | Adobe PDF | View/Open |
Soontaree_do_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Soontaree_do_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Soontaree_do_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.