Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73234
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญวรา ชูประวัติ-
dc.contributor.authorจิตรแก้ว พงษ์ไชย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-05-03T05:49:34Z-
dc.date.available2021-05-03T05:49:34Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73234-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 2. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 6 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน 6 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 6 คน และครู 56 คน รวมผู้ให้ข้อมูล จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNIModified) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.65) และมาก (M=4.40) ตามลำดับ โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ การวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ (PNIModified=0.699) รองลงมา คือ การปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงาน (PNIModified=0.682) และด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุดคือ การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายในการปฏิบัติงานร่วมกัน (PNIModified=0.601) แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง มีทั้งหมด 5 แนวทาง โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นตามลำดับ ดังนี้ 1) การพัฒนากระบวนการวางแผนการออกแบบหลักสูตรสะเต็มศึกษาอย่างเป็นระบบของสมาชิกในเครือข่าย 2) การพัฒนากระบวนการปรับปรุงและพัฒนาการออกแบบหลักสูตรสะเต็มศึกษาของสมาชิกในเครือข่าย 3) การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการจัดสรรและบริหารงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนสะเต็มศึกษาระหว่างสมาชิกในเครือข่าย 4) การพัฒนากระบวนการนำแผนการออกแบบหลักสูตรสะเต็มศึกษาไปสู่การปฏิบัติและเสนอผลสะท้อนกลับระหว่างสมาชิกในเครือข่าย และ 5) การพัฒนากระบวนการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายในการจัดสรรและบริหารงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนสะเต็มศึกษาร่วมกันของสมาชิกในเครือข่ายen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were 1) to study the present and the desirable states of developing the professional learning community in STEM Education for STEM Education private school network in the lower northern region 2) to propose approaches for developing the professional learning community in STEM Education for STEM Education private school network in the lower northern region. The population was the members of STEM Education private school network in the lower northern region. The informants were the Principal, the Assistant Principal and the teachers; 68 in total. The research instruments were rating scale questionnaires and rating scale appropriability and possibility of evaluation forms. The data were analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, PNI Modified and content analysis. The results were as follows: the present and the desirable states in developing the professional learning community in STEM Education for STEM Education private school network in the lower northern region were at the medium level (M=2.65) and high level (M=4.40) respectively. The first priority needs index was planning a systematic practice (PNIModified=0.699); the second priority needs index was improving practice (PNIModified=0.682); and the last priority needs index was identifying the focus by setting shared vision, mission and goal (PNIModified=0.601) There were five approaches for developing the professional learning community in STEM Education for STEM Education private school network in the lower northern region. The approaches sort by priority needs index were 1) developing the planning a systematic practice process in STEM Education curriculum design 2) developing the improving STEM Education curriculum design practice process 3) developing the sharing outcome process in budgeting management for STEM Education 4) developing the applying and reflecting process in STEM Education curriculum design 5) developing the identifying the focus by setting shared vision, mission and goal process in budgeting management for STEM Education.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.902-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาชุมชน-
dc.subjectชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ-
dc.subjectโรงเรียนเอกชน-
dc.subjectCommunity development-
dc.subjectProfessional learning communities-
dc.subjectPrivate schools-
dc.titleแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษา ของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่างen_US
dc.title.alternativeApproaches for developing the professional learning community in STEM Education for STEM Education private school network in the lower northern regionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpenvara.x@chula.ac.th,penvara.x@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.902-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Edu_5883807027_Jitkaew Po.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.