Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73795
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิมลศิริ ชำนาญเวช-
dc.contributor.authorสุจินตนา ศรีประเสริฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-06-10T09:34:35Z-
dc.date.available2021-06-10T09:34:35Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.issn9745630721-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73795-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en_US
dc.description.abstractแต่เดิมการรับบุตรบุญธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อจะรับเด็กอื่นซึ่งมิใช่บุตรที่แท้จริงของตนมาเป็นบุตรด้วยความเมตตาสงสารและมักกระทำกันในหมู่เครือญาติ วิธีการรับบุตรบุญธรรมในสมัยนั้นยังไม่มีระบบระเบียบแบบแผน ต่อมาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติเรื่องการรับบุตรบุญธรรมไว้โดยได้ระบุถึงคุณสมบัติต่าง ๆ และกำหนดให้การรับบุตรบุญธรรมต้องไปจดทะเบียนตามกฎหมายจึงจะมีผลสมบูรณ์ ในระยะหลังวัตถุประสงค์ในการรับบุตรบุญธรรมเริ่มจะเปลี่ยนแปลงไป มีการแสวงหาประโยชน์จากเด็กโดยการค้าเด็กในรูปของการรับเด็กเป็นบุตรบุธรรม มีการจัดหาเด็กเพื่อส่งออกไปเป็นบุตรบุญธรรมภายนอกประเทศ เป็นที่เสื่อมเสียชื่อเสียงของประเทศไทยเป็นอย่างมาก รัฐบาลได้มองเห็นความสำคัญของเด็กที่จะถูกรับเป็นบุตรบุธรรม และประสงค์จะคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก จึงได้ตราพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุบธรรม พ.ศ. 2522 ออกมาใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2522 แต่เมื่อพระราชบัญญัติฉบับนี้ออกมาใช้บังคับได้พบว่ามีข้อบกพร่องหลายประการ ผู้เขียนจึงได้พยายามศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากตำราและหนังสือที่เกี่ยวร้อง ทั้งจากแนวความคิดของบุคคลหลายฝ่าย เช่น นักกฎหมาย นักสังคมสงเคราะห์ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็กกำพร้า อนาถา ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้ศึกษาหลักกฎหมายและวีธีดำเนินการในเรื่องการรับบุตรบุญธรรมของประเทศต่าง ๆ เพื่อหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขพิจารณาข้อดี ข้อเสีย โดยการเปรียบเทียบกับของต่างประเทศ จากการศึกษาหาข้อมูลดังกล่าวพบว่า มีข้อบกพร่องหลายประการ เช่น ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 ข้อ 4 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ชาวต่างประเทศที่ประสงค์จะขอรับเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรมด้วยใจบริสุทธิ์ และด้วยความเมตตาสงสารเด็กอย่างแท้จริง แต่ก็ไม่สามารถรับเด็กไทยนั้นเป็นบุตรบุญธรรมได้ เพราะกฎหมายห้ามเนื่องจากมีบุตรมากกว่า 1 คน จึงทำให้เด็กต้องอยู่ในสภาพเป็นเด็กกำพร้าอนาถาในสถานสงเคราะห์ต่อไป นอกจากนี้ก็ยังมีปัญหาปลีกย่อยอีกหลายประการที่เป็นอุปสรรคและข้อขัดข้องในการปฎิบัติงาน จนกระทั้งมีผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้บางท่านให้ข้อคิดว่า พระราชบัญญัติฉบับดีจริงหรือไม่ ซึ่งผู้เขียนได้สรุปข้อดี ข้อเสีย และข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขไว้หลายประการ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับนี้ในโอกาสต่อไป-
dc.description.abstractalternativeOriginally adoption has its objective in providing a method of accepting a child of others into the adopter's family through kindness, love and care. There were initially no regulations as to adoption until the promulgation of the Civil and Commercial Code B.E. 2478 which imposed certain legal requirements on adoption including the qualifications of both the adopter and adopted child and compulsory registration of adoption. Later on adoption was abusively used as a way and means to manipulate illegal child trade. Under the disguise of adoption, several children were sent abroad, and thus such incidents brought a bad reputation to Thailand. The problem being realized and greater importance being placed on the welfare of children, the government passed new legislation namely, Adoption Act B.E. 2522 which came into force on 22nd April 1979. But up to the present the operation of this Act has proved to be defective in many respects. This thesis thus attempts to propose certain reforms to the current law. Before going into the discussion of reforms the author shall first establish the problems arising from the operation of the Act. For instance an adoption made by a foreign adopter of a Thai child, though arising from true spirits of love and care cannot be legally effected, if such foreign adopter has already had more than one child. Therefore, a child who has such good prospects of adoption is helplessly left in an orphanage. Apart from this, there are also numerous other obstacles and problems confronting those officials concerned. In short, this thesis is attempting to establish an objective assessment of the Adoption Act B.E. 2522 and put forward proposal reforms to it.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1984.23-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectบุตรบุญธรรมen_US
dc.subjectกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- บุตรบุญธรรมen_US
dc.subjectAdopted childrenen_US
dc.subjectCivil and commercial law -- Adopted childrenen_US
dc.titleบุตรบุญธรรมตามพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ.2522en_US
dc.title.alternativeAdoption Under Child Adoption Act 1979en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1984.23-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchintana_sr_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ1.69 MBAdobe PDFView/Open
Suchintana_sr_ch0_p.pdfบทที่ 0809.8 kBAdobe PDFView/Open
Suchintana_sr_ch1_p.pdfบทที่ 15.27 MBAdobe PDFView/Open
Suchintana_sr_ch2_p.pdfบทที่ 26.53 MBAdobe PDFView/Open
Suchintana_sr_ch3_p.pdfบทที่ 39.98 MBAdobe PDFView/Open
Suchintana_sr_ch4_p.pdfบทที่ 45.39 MBAdobe PDFView/Open
Suchintana_sr_ch5_p.pdfบทที่ 52.67 MBAdobe PDFView/Open
Suchintana_sr_ch6_p.pdfบทที่ 62.06 MBAdobe PDFView/Open
Suchintana_sr_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก5.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.