Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75176
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์-
dc.contributor.authorกนิษฐา ธีรศรีศุภร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-08-26T07:40:33Z-
dc.date.available2021-08-26T07:40:33Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75176-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562en_US
dc.description.abstractธุรกิจสถานรับฝากเลี้ยงสัตว์เป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีอัตราการเจริญเติบโตในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปัจจัยส่วนหนึ่งเป็นเพราะสภาพโครงสร้างทางสังคมของประเทศไทยที่มี การเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ประชากรไทยนิยมเลี้ยงสัตว์ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาบทของกฎหมายในประเทศไทยที่มีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลธุรกิจสถานรับฝากเลี้ยงสัตว์ ในประเทศไทยแล้ว จะพบว่าธุรกิจสถานรับฝากเลี้ยงสัตว์เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเข้ามาก ากับ ควบคุมดูแล การก ากับควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจสถานรับฝากสัตว์เลี้ยงยังเป็นไปในลักษณะของ การด าเนินธุรกิจแบบทั่วไป ซึ่งขัดแย้งกับลักษณะโดยธรรมชาติของธุรกิจสถานรับฝากเลี้ยงสัตว์ที่จะต้องมี มาตรฐานเฉพาะในการดูแลสัตว์เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของสัตว์ อีกทั้งเพื่อไม่เป็นการกระทบ ต่อสิทธิ์ของสัตว์ จากศึกษาเมื่อมาเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศที่ท าการศึกษาคือประเทศญี่ปุ่นและ ประเทศสิงคโปร์ ทั้งสองประเทศจะมีกฎหมายเฉพาะที่ใช้ในการควบคุมดูแลธุรกิจสถานรับฝากสัตว์เลี้ยงโดย เฉพาะเจาะจง ผลดีของการมีกฎหมายที่ควบคุมดูแลธุรกิจสถานรับฝากเลี้ยงสัตว์เป็นการเฉพาะนี้น าไปสู่การ ควบคุมมาตรฐานในการดูแลสัตว์ให้มีความปลอดภัยและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตามมาตรฐานที่กฎหมาย ก าหนด รวมถึงตรงตามชนิดและประเภทของสัตว์ ยิ่งไปกว่านั้นทั้งประเทศญี่ปุ่นและประเทศสิงคโปร์ยังมี หน่วยงานเฉพาะที่เข้ามาควบคุมตรวจสอบการประกอบธุรกิจและการออกใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจ สถานรับฝากสัตว์เลี้ยง หน่วยงานเฉพาะเหล่านี้มีทั้งหน่วยงานในส่วนกลางและการกระจายอ านาจ ไปสู่หน่วยงานส่วนท้องถิ่นในการก ากับดูแลธุรกิจสถานรับฝากสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้กฎหมายทั้งสองประเทศจะ ให้ความส าคัญกับการอบรมผู้เป็นเจ้าของธุรกิจและพนักงานที่มีหน้าที่ในการดูแลสัตว์ให้มีความรู้ความสามารถ เฉพาะด้านในการดูแลสัตว์ รวมไปถึงการก าหนดสถานที่ที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงและเหมาะสมกับตัวสัตว์ มีการจัดท าแผนงานที่ชัดเจนในการดูแลสัตว์ ซึ่งเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้วกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นและ ประเทศสิงคโปร์พยายามออกแบบและก าหนดมาตรการให้สถานประกอบธุรกิจสถานรับฝากสัตว์เลี้ยง มีการดูแลสัตว์ให้มีมาตรฐานและส่งเสริมต่อสวัสดิภาพของสัตว์และสิทธิของสัตว์ขั้นพื้นฐาน ดังนั้นผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะว่าให้มีการบัญญัติกฎหมายเฉพาะในการใช้ควบคุมธุรกิจสถานรับฝาก สัตว์เลี้ยง โดยใช้แนวทางการบัญญัติกฎหมายของต่างประเทศมาบัญญัติเป็นกฎหมายเฉพาะและก าหนดให้มี หน่วยงานเฉพาะทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในการเข้าควบคุมดูแลธุรกิจสถานรับฝากสัตว์เลี้ยง ในประเทศไทย รวมไปถึงการควบคุมดูแลการละเมิดหรือการทารุณกรรมสัตว์อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการเกิด โรคติดต่ออีกทางหนึ่งด้วย เพื่อยกระดับมาตรฐานของสถานประกอบธุรกิจสถานรับฝากสัตว์เลี้ยง ในประเทศไทยให้ได้รับมาตรฐานตามกฎหมายสากลว่าการทารุณกรรมสัตว์และสวัสดิภาพของสัตว์en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.141-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสัตว์เลี้ยง -- การค้าen_US
dc.subjectโรงแรม -- ที่พักสำหรับสัตว์เลี้ยงen_US
dc.titleแนวทางการกำกับดูแลสถานรับฝากสัตว์เลี้ยงในประเทศไทยen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwirote.w@chula.ac.th-
dc.subject.keywordธุรกิจรับฝากสัตว์เลี้ยงen_US
dc.subject.keywordการคุ้มครองสัตว์เลี้ยงen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2019.141-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186151034.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.