Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76773
Title: แนวทางพัฒนาพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารของวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะนวัตกร
Other Titles: Approaches for developing food processing industry makerspace of vocational college in eastern economic corridor based on the concept of innovator competency learning outcomes
Authors: วิมลพร ปานดำ
Advisors: สุกัญญา แช่มช้อย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research)  มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะนวัตกร ของนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารของวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะนวัตกร 3) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารของวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะนวัตกร  ประชากรในการวิจัย คือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหาร ครู และนักเรียน จำนวน 284 คน โดยแบ่งเป็น ผู้บริหาร สถานศึกษา จำนวน 14 คน ครูจำนวน 28 คน และนักเรียน จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบประเมินระดับสมรรถนะนวัตกรของนักเรียน แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารของวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะนวัตกร  และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ฐานนิยม และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการใช้เทคนิค  (PNIModified) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารของวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ตามลำดับ (สภาพปัจจุบัน ค่าเฉลี่ย = 3.826)  (สภาพที่พึงประสงค์ ค่าเฉลี่ย = 4.577) ด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ  ผู้อำนวยการเรียนรู้ (PNImodified = 0.222) รองลงมาคือ เครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ (PNImodified = 0.210 ) และด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำสุดคือ คือ พื้นที่ (PNImodified =0.153) ระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะนวัตกร อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมุ่งความสำเร็จ (Mean =4.542) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2 อันสุดท้าย คือ ความกล้าเสี่ยง (Mean =3.442)  และการคิดแก้ปัญหา (Mean =3.205) และ 3) แนวทางการพัฒนาพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารของวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะนวัตกร มีแนวทางการพัฒนาพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารทั้งหมด 3 แนวทางหลัก 6 แนวทางย่อย และ 10 วิธีการดำเนินการ แนวทางที่ 1 จัดหาและพัฒนาผู้อำนวยการเรียนรู้ในพื้นที่นักประดิษฐ์ฯที่ส่งเสริมผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะนวัตกร แนวทางที่ 2 จัดหาเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ในพื้นที่นักประดิษฐ์ฯที่เพื่อส่งเสริมผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะนวัตกร และแนวทางที่ 3 พัฒนาพื้นที่นักประดิษฐ์ฯที่ส่งเสริมผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะนวัตกร
Other Abstract: The research  is a Descriptive Research. This research has 3 main objectives, namely 1) To study the level of learning outcomes in innovation competency of vocational students in EEC; 2) To study the current and desirable conditions of the food processing industry makerspace of vocational colleges in EEC; and 3) To developing the food processing industry makerspace in accordance with conceptual frameworks of learning outcomes in innovation competency of vocational colleges in EEC.  The research population consisted of vocational colleges in the EEC. The respondents consisted of 284 school administrators, teachers and students, classified into 14 school administrators, 28 teachers, and 242 students. The research tools were 5-level rating scale questionnaires, performance level assessment form, assessment form for current and desirable conditions of the design of the food processing industry makerspace in accordance with conceptual frameworks of learning outcomes in innovation competency of vocational colleges in EEC, and assessment form for the suitability and feasibility of drafted guidelines for the design of the food processing industry makerspace. The quantitative data were analyzed by descriptive statistics such as frequency, percentage, arithmetic mean, mode and standard deviation. Qualitative data were analyzed by content analysis and using the Modify Priority Needs Index (PNIModified) technique to prioritize the importance. The research results indicated that 1) The current and desirable conditions of the food processing industry makerspace of vocational colleges in EEC were high and very high, respectively (Current conditions, Mean = 3.826) (Desirable conditions, Mean = 4.577). The aspect with the highest Modified Priority Needs Index was learning facilitator (PNImodified = 0.222), followed by tools and materials (PNImodified = 0.210). On the other hand, the aspect with the lowest Modified PNI was area (PNImodified =0.153). The study results also showed that level of learning outcomes in innovation competency was very high. The aspect with the highest average scores was success-oriented (Mean = 4.542). On the other hand, the 2 aspects with the lowest average scores were risk-taking (Mean =3.442) and problem solving (Mean =3.205); and 3) Regarding developing for the food processing industry makerspace in accordance with conceptual frameworks of learning outcomes in innovation competency of vocational colleges in EEC, there were 3 design approaches, 6 sub-approaches and 10 implementational methods. The 1st approach is to provide and develop learning facilitator in the food processing industry makerspace to promote learning outcomes in innovation competency. The 2nd approach is to supply tools and materials in the food processing industry makerspace to promote learning outcomes in innovation competency. The 3rd approach is to developing the food processing industry makerspace which promotes learning outcomes in innovation competency
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76773
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.870
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.870
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280137527.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.