Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76775
Title: แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
Other Titles: Approaches for developing sub-district quality school management based on the concept of school as a learning community
Authors: อนงค์กาญจน์ ศรีจันทร์
Advisors: ชญาพิมพ์ อุสาโห
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงบรรยาย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล กรุงเทพมหานคร จำนวน 47 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน 43 คน ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 44 คน นักเรียนที่เป็นคณะกรรมการนักเรียน 43 คน และผู้ปกครอง 43 คน รวมผู้ให้ข้อมูลจำนวน 173 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNIModified) และฐานนิยม (Mode) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้นั้น คือ การประเมินผลเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีความต้องการจำเป็นสูงสุด (PNIModified = 0.351) และ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ มี 3 แนวทางหลัก ได้แก่ แนวทางหลักที่ 1 พัฒนาการวางแผนที่มุ่งเน้นวิสัยทัศน์ของโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย 5 แนวทางรอง 17 วิธีดำเนินการ แนวทางหลักที่ 2 ยกระดับการนำแผนไปสู่การปฏิบัติที่มุ่งเน้นปรัชญาของโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย 3 แนวทางรอง 10 วิธีดำเนินการ และแนวทางหลักที่ 3 เร่งรัดการประเมินผลที่มุ่งเน้นวิสัยทัศน์ของโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย 4 แนวทางรอง 15 วิธีดำเนินการ
Other Abstract: This research aimed to: 1) study the priority needs of school management; 2) propose approaches for developing sub-district quality school management based on the concept of school as a learning community. This study applied a descriptive research method. The population consisted of 47 sub-district quality schools. The informants were 43 school directors, 44 heads of subject area group, 43 students and 43 parents. The research instruments were a questionnaire and a appropriateness and feasibility assessment form for the approaches. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, Modified Priority Needs Index (PNIModified) and mode. The results of the research revealed as follow 1) The needs assessment of sub-district quality school management based on the concept of school as a learning community, found that the evaluation of vision of School as a Learning Community had the highest needs (PNIModified = 0.351) 2) Approaches for developing sub-district quality school management based on the concept of School as a Learning Community had 3 main approaches, (1) Developing a planning that focused on the vision of the School as a Learning Community consisted of 4 sub-approaches and 17 procedures (2) Elevating the implementation of the plan that focused on the philosophy of School as a Learning Community consists of 3 sub-approaches and 10 procedures and (3) Accelerating assessments focused on the vision of School as a Learning Community consisted of 4 sub-approaches and 15 procedures.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76775
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.868
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.868
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280159327.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.