Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7873
Title: บทละครโต้กลับ : การวิพากษ์วรรณกรรมเอกของยุโรป
Other Titles: Counter-discursive plays : a critique of the European canon
Authors: ดนยา ทรัพย์ยิ่ง
Advisors: กองกาญจน์ ตะเวทีกุล, ม.ร.ว.
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Kongkarn.T@Chula.ac.th
Subjects: วรรณกรรมยุโรป -- ประวัติและวิจารณ์
บทละครยุโรป -- ประวัติและวิจารณ์
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิเคราะห์กลวิธีการนำเสนอและแนวคิดในบทละครโต้กลับวรรณกรรมเอกเรื่อง Une Tempete ของเอเม เซแซร์ Pantomime ของเดเร็ก วอลค็อตและ M.Butterfly ของเดวิด เฮนรี ฮวง โดยเป็นเครื่องมือตอบโต้อคติทางเชื้อชาติและความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ในงานวรรณกรรมเอกของยุโรป เรื่อง The Tempest ของวิลเลียม เชกสเปียร์ Robinson Crusoe ของแดเนียล ดิโฟ และ Madama Butterfly ของ จาโคโม ปูชชินี จากการศึกษาพบว่าวรรณกรรมเอกของยุโรปทั้งสามเรื่องได้นำเสนออคติทางเชื้อชาติ ด้วยการสร้างภาพลักษณ์ของตัวละครที่เป็นชนชาติอื่นที่ไม่ใช่ยุโรป ให้มีความเป็นอื่นในลักษณะที่เป็นคู่ตรงข้ามกับชาวยุโรป ลักษณะของคู่ตรงข้ามที่ชาวยุโรปนำมาใช้เพื่ออธิบายความแตกต่างระหว่างชาวยุโรปกับชนชาติอื่น ได้แก่ คู่ตรงข้ามระหว่างผิวขาว-ผิวดำ นาย-ทาส ชาย-หญิง แล้วจัดวางความแตกต่างนั้นในลักษณะที่ไม่เท่าเทียมกัน เพื่อให้ชนชาติอื่นเป็นตัวแทนของความด้อยที่มายืนยันความสูงส่งให้แก่ตัวตนของชาวยุโรป แต่เนื่องจากวรรณกรรมทั้งสามได้รับการยกย่องให้เป็นวรรณกรรมเอก ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความยิ่งใหญ่และความมีคุณค่าก็ทำให้อคติดังกล่าวถูกมองข้าม นักเขียนซึ่งเป็นชนชาติอื่นสร้างบทละครโต้กลับวรรณกรรมเอกขึ้น เพื่อปลดแอกตนเองจากการตกเป็นอาณานิคมทางความคิดของชาวยุโรป ผู้เขียนมุ่งลบล้างอคติที่แฝงอยู่ในวรรณกรรมเอก ด้วยการนำวรรณกรรมเอกของยุโรปมาเล่าใหม่โดยเปลี่ยนแปลงโครงเรื่อง บริบท ตัวละครและรูปแบบการประพันธ์ ตลอดจนพยายามสอดแทรกวัฒนธรรมพื้นถิ่นเข้าไปในเนื้อหาเพื่อยืนยันอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมตนเอง แม้ผู้เขียนบทละครโต้กลับวรรณกรรมเอกจะมีจุดมุ่งหมายในการตอบโต้อคติ ในงานวรรณกรรมเอกเช่นเดียวกันแต่ผู้เขียนมีแนวทางในการตอบโต้ที่ต่างกัน เซแซร์เลือกที่จะคงความต่างแบบคู่ตรงข้ามระหว่างผิวขาวกับผิวดำไว้ แล้วกลับขั้วให้ความเป็นคนดำที่เคยถูกปิดกั้นนั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าน่ายกย่อง ในขณะที่วอลค็อตและฮวงมุ่งสลายระบบความคิดแบบคุ่ตรงข้าม ด้วยการชี้ให้เห็นว่าระบบคู่ตรงข้ามนั้นเป็นเพียงมายาคติรูปแบบหนึ่ง
Other Abstract: To analyze the techniques and themes in three counter-discursive plays: Aime Cesaire's Une Tempete, Derek Walcott's Pantomime and David Henry Hwang's M. Butterfly. These techniques and themes function as strategies to expose ethnic prejudices and power relations in three selected European canonical works: William Shakespeare's The Tempest, Daniel Defoe's Robinson Crusoe and Giacomo Puccini's madama Butterfly. The study shows that the three European works represent racial biases by constructing non-European characters as the inferior "other" to European characters. These biases are part of the binary opposition that is based upon the difference between "white-black", "master-slave" and "man-woman". The opposition entails a violent hierarchy that underlines non-European inferiority as against European superiority. Such biases are disquised by the canon formation as a symbol of literary greatness and valorization of European culture. Cesaire, Walcott and Hwang create counter-discursive plays in order to decolonize the mind from the European cultural hegemony. They deconstruct representations of authority in the European canon by rewriting plots, contexts, characters, and genres of the canonical texts, and by combining these elements with features of literary traditions of their indigenous cultures as part of their efforts to reconstruct their cultural identities. Different strategies are employed to subvert the racial biases: Cesaire opposes European and non-European characters so as to reverse the hierarchy to show the positive blackness light; and Walcott and Hwang present all fixed images as illusions.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วรรณคดีเปรียบเทียบ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7873
ISBN: 9741747594
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Danaya_Su.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.