Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80816
Title: การศึกษากลไกและเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนและความเสี่ยงของผู้มีส่วนได้เสียหลักในสัญญา PPP O&M ของโครงการทางหลวงระหว่างเมืองในประเทศไทย
Other Titles: A study of availability-based payment mechanisms and stakeholders’ risk of PPP O&M contracts for Thailand's intercity motorway projects
Authors: นันทพัฒน์ ปิ่นตบแต่ง
Advisors: นคร กกแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันรัฐได้เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการของรัฐในรูปแบบของการจ้างดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ (PPP O&M) สัญญารูปแบบดังกล่าว รายได้จากการเก็บค่าผ่านทางจะเป็นของรัฐทั้งหมด แล้วจ่ายผลตอบแทนให้กับเอกชนในลักษณะอัตราเหมาจ่าย โดยรัฐต้องแบกรับความเสี่ยงด้านการตลาด (Market risk) เช่น ความเสี่ยงด้านปริมาณจราจร เป็นต้น ส่วนเอกชนแบกรับความเสี่ยงด้านการลงทุนงานระบบ และค่ายใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษา สัญญา PPP O&M ได้นำกลไกการจ่ายค่าตอบแทน (Payment mechanisms) ที่เรียกว่า “Availability Payment หรือ AP” โดยอาจจะมีการปรับลดค่าตอบแทน (Payment Adjustment) ถ้าเอกชนผู้ให้บริการไม่สามารถรักษาสภาพความพร้อมใช้และคุณภาพของการให้บริการได้ตามสัญญา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการจ่ายค่าตอบแทนตามความพร้อมใช้ และเกณฑ์การคำนวณการปรับค่าตอบแทนของสัญญา PPP O&M และเพื่อสร้างกรอบการคำนวณ (Computational framework) สำหรับวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน ปัจจัยเสี่ยงและระดับความเสี่ยง (Risk variables and risk profile) ของผู้มีส่วนได้เสียหลัก ได้แก่ (1) รัฐเจ้าของโครงการ (2) เอกชนผู้ให้บริการ และ (3) สถาบันการเงินผู้ให้เงินกู้ยืม ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสียหลักในการพัฒนากลไกการจ่ายค่าตอบแทน โดยงานวิจัยนี้ใช้โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 บางปะอิน - นครราชสีมา เป็นโครงการกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่ากรอบการคำนวณที่ได้พัฒนาสามารถนำมาใช้ในการประเมินผลตอบแทนทางการเงินและระดับของความเสี่ยงของแต่ละฝ่าย โดยแสดงผลการประเมินความเสี่ยงในรูปแบบ Risk profile เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการความเสี่ยงให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย 
Other Abstract: Currently, there is a new type of PPP arrangements that is being employed in the highway sector in Thailand called PPP O&M Gross Cost in which the private operator is responsible for operation and maintenance of the project to meet performance specification and will be paid for a fixed sum of money over the contract period and the public agency is responsible for land acquisition, construction cost, and still bears the market risks such as tolled revenue risk. In PPP O&M contracts, compensation arrangement called availability payment (AP) made to the private operator will be linked to output performance. Under this payment mechanism, the actual compensation will be adjusted by performance deduction if the private operator fails to meet performance specifications stipulated in the contract.   This research is to study availability-and-performance based payment mechanisms, so as to develop computational framework for risk analysis of key stakeholders (i.e., public agency, private operator, and lending institutions). Key risk variables are identified using sensitivity analysis, and they are modelled using various techniques such as Geometric Brownian motion (GBM) and Markov Chain. The proposed computational framework is then applied to a case study project named Motorway #6 (Bang Pa-In to Nakhon Ratchasima). The results of the study showed the financial outcomes and the risk profile of each stakeholder, which can be further improved using an appropriate payment mechanism.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80816
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.922
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.922
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270139521.pdf4.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.