Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81506
Title: | Drought assessment for the greater Baribo basin in Cambodia |
Other Titles: | การประเมินความเสี่ยงภัยแล้งในลุ่มน้ำบาริโบใหญ่ ประเทศกัมพูชา |
Authors: | Kimhuy Sok |
Advisors: | Supattra Visessri Sokchhay Heng |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Engineering |
Issue Date: | 2018 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Cambodia is a developing country. The development and economic of the country rely mainly on agricultural production. Cambodia is a major exporter in the world rice market. The Tonle Sap basin covers about 44% of country. Rice production in the Tonle Sap basin is a main driver for national economic and social development. Due to natural variability and climate change, many forms of the natural disaster such as heavy storm, flood, and drought have occurred in the Tonle Sap basin. Over the recent decades, increased attention has been drawn to drought due to the tendency of rainfall decline. The Royal Government of Cambodia (RGC), has implemented the “Rectangular Strategies” policy to support and enhance the agricultural management and adaptation. The Greater Baribo basin, one of the Tonle Sap’s 11 basins and major rice production area, was selected as a study site. The period of the study was from 1985 to 2008. Since drought is a slowly evolving natural disaster, its negative impacts can be mitigated through monitoring and characterizing drought levels by assimilating data from one or several indicators into a single numerical index. The single numerical index is more readily usable than raw indicator data. Standardize Precipitation Index (SPI), Standardized Vegetation Index (SVI) and Streamflow Drought Index (SDI) are employed for assessing the three types of drought namely a meteorological, agricultural, and hydrological drought, respectively. These indices were used to explore the drought frequency, severity, duration, intensity, and spatial distribution over the Greater Baribo basin. However, the Greater Baribo is considered an ungauged basin lacking of the streamflow data. Therefore, the Prediction in Ungauged Basin (PUB) technique was applied to generate streamflow in the Greater Baribo basin. The result indicated that the regressive equations between the rainfall-runoff model parameters and basin properties from PUB technique were able to generate the streamflow for assessing the hydrological drought. The SPI, SVI, and SDI suggested that the agriculture was heavily impacted by drought in 1993 and 1994. The longest duration and the most severe drought occurred between 2001 and 2006. The drought occurring in November led to severe damage on the annual rice production. However, agriculture sector was found to be slightly affected by the longest and most severe drought in 2001-2006. This is probably due to improved agricultural management and adaptation strategies of the government to increase rice production and support food security. |
Other Abstract: | กัมพูชาเป็นประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งการพัฒนาและเศรษฐกิจของประเทศพึ่งพาการผลิตจากภาคการเกษตรเป็นหลัก ประเทศกัมพูชาเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก โดยมีลุ่มน้ำโตนเลสาบซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมประมาณร้อยละ 44 ของประเทศเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ความผันผวนทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีส่วนก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติในหลากหลายรูปแบบ เช่น พายุฝน น้ำท่วม และภัยแล้ง ในลุ่มน้ำโตนเลสาบ ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ปัญหาภัยแล้งเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณฝนมีแนวโน้มลดลง รัฐบาลกัมพูชาจึงได้กำหนดนโยบายในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งโดยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการด้านการเกษตรและการปรับตัวต่อภัยแล้ง ลุ่มน้ำโตนเลสาบประกอบด้วย 11 ลุ่มน้ำย่อย ซึ่งลุ่มน้ำบาริโบใหญ่เป็นหนึ่งในลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำโตนเลสาบและเป็นพื้นที่ปลูกข้าวที่มีความสำคัญของประเทศกัมพูชา นอกจากนี้ลุ่มน้ำบาริโบใหญ่ยังเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการลดลงของปริมาณฝน ดังนั้น ลุ่มน้ำบาริโบใหญ่จึงถูกเลือกให้เป็นกรณีศึกษาในงานวิจัยนี้ ซึ่งดำเนินการศึกษาโดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528-2551 เนื่องจากภัยแล้งเป็นภัยธรรมชาติแบบไม่ฉับพลันและมีกระบวนการพัฒนาอย่างช้าๆ ดังนั้น การบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้งจึงสามารถกระทำโดยการประเมินและติดตามคุณลักษณะของภัยแล้งผ่านดัชนีภัยแล้ง (Drought index) ซึ่งเป็นตัวเลขสรุปข้อมูลที่คำนวณได้จากตัวแปรบ่งชี้ภัยแล้งตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป ซึ่งนำไปใช้งานได้สะดวกมากกว่าการใช้ข้อมูลดิบจากตัวแปรบ่งชี้ภัยแล้งแต่ละตัว ในการศึกษานี้มีการประเมินภัยแล้ง 3 ประเภท ได้แก่ ภัยแล้งเชิงอุตุนิยมวิทยา (Meteorological drought) ภัยแล้งเชิงเกษตรกรรม (Agricultural drought) และภัยแล้งเชิงอุทกวิทยา (Hydrological drought) โดยใช้ดัชนีภัยแล้ง 3 ตัว ได้แก่ ดัชนีน้ำฝนมาตรฐาน (Standardize Precipitation Index: SPI), ดัชนีพืชพรรณมาตรฐาน (Standardized Vegetation Index: SVI) และดัชนีน้ำท่ามาตรฐาน (Streamflow Drought Index: SDI) ตามลำดับ ในการประเมินภัยแล้งแต่ละประเภท โดยดัชนีภัยแล้งทั้ง 3 ตัวนี้ ถูกนำมาใช้ศึกษาคุณลักษณะต่างๆ ของภัยแล้ง ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ระดับความรุนแรง (Severity) ช่วงเวลา (Duration) อัตราความรุนแรงต่อช่วงเวลา (Intensity) และการกระจายตัวของพื้นที่ประสบภัยแล้งในลุ่มน้ำบาริโบใหญ่ ทั้งนี้ เนื่องจากลุ่มน้ำบาริโบใหญ่เป็นลุ่มน้ำที่มีสถานีตรวจวัดน้ำท่าจำนวนน้อย จึงต้องอาศัยเทคนิคการพยากรณ์น้ำท่าสำหรับลุ่มน้ำที่ไม่มีสถานีตรวจวัด (Prediction in Ungauged Basin: PUB) ในการประมาณปริมาณน้ำท่าเพื่อวิเคราห์ดัชนีภัยแล้งเชิงอุทกวิทยาในลุ่มน้ำบาริโบใหญ่ จากผลการศึกษาพบว่า สมการถดถอยเชิงเส้น (regressive equations) ที่พัฒนาจากความสัมพันธ์ระหว่างพารามิเตอร์ของแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่าและคุณลักษณะของลุ่มน้ำโดยใช้เทคนิคการพยากรณ์น้ำท่าสำหรับลุ่มน้ำที่ไม่มีสถานีตรวจวัดสามารถใช้ประมาณปริมาณน้ำท่าเพื่อประเมินภัยแล้งเชิงอุทกวิทยาได้ ผลการวิเคราะห์จากดัชนีทั้ง 3 ตัว (ดัชนีน้ำฝนมาตรฐาน ดัชนีพืชพรรณมาตรฐาน และดัชนีน้ำท่ามาตรฐาน) ชี้ว่า ภาคการเกษตรในลุ่มน้ำบาริโบใหญ่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเป็นอย่างมากในปี พ.ศ.2536 และ 2537 ซึ่งระหว่างปี พ.ศ.2544-2549 เป็นช่วงการเกิดภัยแล้งที่ยาวที่สุดและรุนแรงที่สุด โดยภัยแล้งที่เกิดในช่วงเดือนพฤศจิกายนจะเป็นช่วงที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรอย่างมาก แต่จากผลการวิเคราะห์พบว่า ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2544-2549 นั้น ภาคการเกษตรกลับได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ คาดว่าเป็นผลมาจากประสิทธิผลของนโยบายของรัฐบาลกัมพูชาในการยกระดับการจัดการด้านการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงการปรับตัวของเกษตรกรต่อภัยแล้ง |
Description: | Thesis (M.Eng.)--Chulalongkorn University, 2018 |
Degree Name: | Master of Engineering |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Water Resources Engineering |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81506 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.543 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.543 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5970382421.pdf | 9.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.