Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82563
Title: | ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบทางไกลที่มีการติดตามต่อเนื่องรายสัปดาห์ในผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2019 |
Other Titles: | Effect of tele-rehabilitation program with weekly monitoring in post COVID-19 pneumonia patients |
Authors: | วุฒิชัย แซ่เฉิน |
Advisors: | อมรพันธุ์ วงศ์กาญจนา ฑิมภ์พร วิทูรพงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มาและวัตถุประสงค์: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ที่หายจากภาวะปอดอักเสบภายหลังการติดเชื้อจํานวนมาก โดยส่งผลกระทบทั้งทางสุขภาพทางกายและจิตใจ ซึ่งการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเป็นวิธีที่มีส่วนช่วยในการฟื้นฟูสุขภาพทางจิตใจและทางกายของผู้ป่วย แต่ด้วยข้อจำกัดการเข้าถึงระบบการรักษาดังกล่าวในช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส จึงเป็นที่มาที่ทำให้เราตั้งใจศึกษาถึงผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบทางไกลที่มีการติดตามต่อเนื่องรายสัปดาห์ในผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 วิธีการวิจัย: ผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 และผ่านเกณฑ์การเข้าร่วมการศึกษา จะเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบทางไกล โดยจะได้รับคําแนะนําและสอนการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดจากแพทย์ผู้ทำการศึกษาและนักกายภาพบําบัดที่เกี่ยวข้องและนำไปฝึกและฟื้นฟูสมรรถภาพต่อที่บ้าน โดยจะมีการตรวจติดตามต่อเนื่องรายสัปดาห์ทางไกลผ่านการวิดีโอคอลและทางโทรศัพท์ ผลของการศึกษาจะถูกประเมินวันแรกที่เข้าร่วมการศึกษาและที่ 3 เดือนภายหลังเข้าร่วมการศึกษา ซึ่งได้แก่การประเมินคุณภาพชีวิตโดยแบบสอบถามอีคิวไฟว์ดีไฟว์แอล, ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันประเมินโดยคะแนนดัชนีบาร์เทลอินเด็กซ์, คะแนนระดับความเหนื่อยขณะประเมินสมรรถภาพของผู้ป่วยโดยแบบประเมินโมดิฟาย บอร์ก สเกล และการประเมินสมรรถภาพทางกายโดยการวัดระยะทางที่ผู้ป่วยสามารถเดินได้ในระยะเวลา 6 นาที ส่วนการประเมินสมรรถภาพปอดใช้วิธีสไปโรเมตรีย์ โดยผลของการศึกษาจะถูกนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมการศึกษาในกลุ่มการศึกษาเดียวกันและเปรียบเทียบกับกลุ่มการศึกษาที่ศึกษาย้อนหลังไปยังอดีตที่ไม่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดโดยวิธีการจับคู่ทางสถิติ ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 15 คน ผลการศึกษาภายหลังเข้าร่วมการศึกษาครบ 3 เดือน คุณภาพชีวิต ความสามารถในการดำเนินชีวิตและผลการประเมินสมรรถภาพทางกายและปอด มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการเข้าร่วมการศึกษา อย่างไรก็ตามไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติของผลการศึกษาภายหลังเข้าร่วมการศึกษาครบ 3 เดือนเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มการศึกษาที่ศึกษาย้อนหลังไปยังอดีต ยกเว้นคะแนนคะแนนการประเมินสุขภาพทางตรงผ่านแบบสอบถามอีคิวไฟว์ดีไฟว์แอล ที่ประเมินโดยผู้เข้าร่วมการศึกษา มีแนวโน้มคะแนนที่ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มการศึกษา 96.6±6.95 เทียบกับ 87±9.02 ในกลุ่มการศึกษาที่ศึกษาย้อนหลังไปยังอดีต สรุปผล: ผลกระทบที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบภายหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีแนวโน้มที่ดีขึ้นภายหลังการเข้ารับการศึกษา โดยการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดมีแนวโน้มช่วยลดความรู้สึกเหนื่อยในผู้ป่วยกลุ่มเหล่านี้ได้ ซึ่งอาจส่งผลช่วยป้องกันความเหนื่อยล้าและอาการเหนื่อยที่เกิดขึ้นภายหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระยะยาวได้ |
Other Abstract: | Background: COVID-19 has affected many people and many COVID-19 pneumonia survivors suffered from physical and mental sequelae. Pulmonary rehabilitation is a promising method to improve patients' psychological and physical conditions. Method: We enrolled patients who recovered from COVID-19 pneumonia to our home pulmonary rehabilitation program. All participants were instructed by a trained physical therapist and continued home training, at least 3 times a week, for 3 months. Weekly tele-monitoring was done via video call. Outcomes were measured at baseline and at 3 months. Quality of life and disability were assessed by EQ-5D-5L questionnaire, Barthel index, and modified Borg scale. Physiologic outcomes were assessed by spirometry, 6-minute walk distance. All outcomes were compared between our cohort and a non-rehabilitation historical cohort adjusted by one-to-one propensity score matching. Results: 15 patients were enrolled, and all participants completed the rehabilitation program. At 3 months, all Quality of life, disability, and physiologic outcomes were significantly improved from baseline. However, there was no statistically significant difference in those outcomes at 3 months when compared with historical control. Only visual analog scale of EQ-5D-5L was better in rehabilitation than in control group (96.6±6.95 vs. 87±9.02, p-value<0.05). Conclusion: COVID-19 pneumonia patients recovered quite well at 3 months. Pulmonary rehabilitation seemed to improve dyspnea sensation in these patients which might helpfully prevent chronic fatigue or tiredness which is commonly found in patients with long COVID. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82563 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.1034 |
DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2022.1034 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6470098030.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.