Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83066
Title: | การใช้ตัวทำละลายร่วมในปฏิกิริยาทรานเอสเทอร์ริฟิเคชันของน้ำมันปาล์มโอเลอิน โดยมีโซเดียมฟอสเฟตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา |
Other Titles: | Utilization of co-solvent in transesterification of palm olein oil using sodium phosphate as a catalyst |
Authors: | ศรัณยู ถาวรพัทธ์ |
Advisors: | พงศ์ธร เจริญศุภนิมิตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงผลกระทบของตัวทำละลายร่วมในการทำปฏิกิริยาทรานเอสเทอร์ริฟิเคชั่นของน้ำมันปาล์มโอเลอินและเมทานอลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์เป็นโซเดียมฟอสเฟต ทำการทดลองในเครื่องปฏิกรณ์แบบกะชนิดถังกวน ความเร็วรอบในการปั่นกวน 600 รอบต่อนาที ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา ร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนักน้ำมันพืช อัตราส่วนโดยโมลของเมทานอลต่อน้ำมันพืชเท่ากับ 6:1 ถึง 30:1 ชนิดตัวทำละลายร่วมที่เลือกใช้คือ อะซิโตนและเตตระไฮโดรฟูแรน ปริมาณตัวทำละลายร่วมร้อยละ 10 และ 20 โดยน้ำหนักน้ำมัน อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา 60 90 140 190 องศาเซลเซียส ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ตัวทำละลายร่วมไม่ส่งผลกระทบต่อค่าคงที่ทางจลน์พลศาสตร์ของปฏิกิริยา และยังส่งผลเสียในการเจือจางตัวเร่งปฏิกิริยาและสารตั้งต้นในการทำปฏิกิริยาที่สภาวะอุณหภูมิสูง (190 องศาเซลเซียส) นอกจากนี้ การทำปฏิกิริยาทรานเอสเทอร์ริฟิเคชั่นชอบการทำปฏิกิริยาในสภาวะที่มีความเข้มข้นของเมทานอลในวัฏภาคที่ทำปฏิกิริยาสูงๆ การละลายเข้าด้วยกันที่มากเกินไปของเมทานอลและน้ำมันพืชจะส่งให้ปฏิกิริยาเกิดช้าลงแทน |
Other Abstract: | The focus of this study is to examine how the use of a cosolvent affects the transesterification of palm olein when sodium phosphate is used as a catalyst. The experiment was conducted in a batch reactor with an agitation speed of 600 rpm, a catalyst loading of 0.5% based on oil weight, and various methanol to oil ratios (6:1, 12:1, 18:1, 24:1, and 30:1) while using acetone and tetrahydrofuran as cosolvents at 10% to 20% of oil weight. The reaction was carried out at different temperatures, including 60°C, 90°C, 140°C, and 190°C. The results of the study revealed that the cosolvent had a adverse effect at high temperatures due to its dilution effect. At high temperatures, methanol and oil are more likely to dissolve into one another, making the mass transfer phenomenon between the two liquid phases less significant. The transesterification process was found to be more efficient with a high concentration of methanol in the reaction phase. An excessive solubility limit between oil and methanol was found to reduce the reaction rate. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเคมี |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83066 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.809 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2022.809 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6270273921.pdf | 2.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.