Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83329
Title: การปรับตัวขององค์การภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัล: ศึกษากรณีการปรับตัวของกระทรวงการต่างประเทศสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลตามกรอบของแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2563 - 2565
Other Titles: The digital transformation of the Thai governmental agency: study the case of the ministry of foreign affairs under the framework of Thailand’s masterplan on digital government B.E. 2563 - 2565
Authors: ธรินด์ เลิศสุขีเกษม
Advisors: วันชัย มีชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในยุคปัจจุบันได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อการบริหารงานภาครัฐอย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลให้องค์การภาครัฐจำเป็นต้องปรับตัวสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล เพื่อดำเนินภารกิจ หน้าที่และอำนาจของตนต่อไปได้ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้กำหนดแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลของประเทศในชื่อ ‘แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565’ เพื่อเป็นกรอบให้หน่วยงานภาครัฐปรับเปลี่ยนองค์การสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยมีจุดเน้น ได้แก่ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับปรุงและพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานขององค์การ การอำนวยความสะดวกในการให้บริการภาครัฐแก่ประชาชน การเปิดเผยข้อมูล และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งนี้ งานศึกษาชิ้นนี้ได้ศึกษากระบวนการปรับตัวขององค์การภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลตามกรอบของแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ โดยเลือกศึกษากระบวนการปรับตัวของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความก้าวหน้าด้านดิจิทัลว่า เป็นไปตามกรอบแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยฯ หรือไม่ และอย่างไร ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการปรับตัวสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลของกระทรวงการต่างประเทศเป็นการปรับตัวที่เกิดจากแรงผลักจากสภาวะแวดล้อมภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในยุคปัจจุบัน ปัจจัยจากนโยบายของรัฐบาล และสถานการณ์ของโรคโควิด-19 และสอดคล้องตามจุดเน้นทั้ง 4 ด้านของแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยฯ แต่ยังคงมีข้อจำกัดและความท้าทายอันเกิดจากความต่อเนื่องของนโยบายในองค์การ ความแตกต่างในระดับความพร้อมด้านทักษะดิจิทัลของบุคลากร ตลอดจนกฎระเบียบของภาครัฐที่ยังเป็นความท้าทายสำคัญต่อการปรับตัวสู่รัฐบาลดิจิทัลของกระทรวงการต่างประเทศ
Other Abstract: The development of information technology has significantly brought changes to public administration and caused public organisations to adapt themselves to be digitalised to maintain their organisations’ performances. Thailand has issued a digital action plan titled “Thailand’s Master Plan on Digital Government B.E. 2563 – 2565’ as the national framework for digital government. The plan comprises 4 focuses, namely the utilization of digital technology to improve the organisations’ performance, improving the delivery of public services, creating open government, and promoting public participation in the policy process. This paper studies the process of digital transformation of the Ministry of Foreign Affairs of Thailand, using the Master Plan as framework of analysis, to seek whether the digital transformation of the Ministry is in line with the Master Plan or not. The study found that the digital transformation of the Ministry has been driven by external factors, including the technological changes, the relevant policies of the Royal Thai Government, and the outbreak of COVID-19 pandemic. It also found that the transformation process is in line with all focuses of the Master Plan, yet the implementation still faces challenges from various factors, including the continuation of the leadership’s policy, the differences in the level of digital literacy of staff, and rules and regulations of the Thai bureaucratic system.
Description: สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83329
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.270
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2022.270
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6382030624.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.