Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83463
Title: แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง
Other Titles: Approaches for developing academic management of Rattanakosinsomphotbowonniwetsalaya School based on the co5ncept of resilience
Authors: สุทธญา นิศากร
Advisors: สุกัญญา แช่มช้อย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา
การบริหารการศึกษา
ความสามารถในการฟื้นพลัง
Rattanakosinsomphotbowonniwetsalaya School
Resilience ‪(Personality trait)‬
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสามารถในการฟื้นพลังของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการ พัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง และ 3) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูจำนวน 76 คน และนักเรียนจำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามระดับความสามารถในการฟื้นพลังของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายาในพระสังฆราชูปถัมภ์ แบบสอบถามเรื่องสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ฐานนิยมและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสามารถในการฟื้นพลังของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.20) โดยด้านการตระหนักรู้ทางสังคม มีค่าเฉลี่ยสูงสุดและการรับรู้ความสามารถตนเอง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลังที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.25) รองลงมา คือ การจัดการเรียนรู้ (PNI [Modified] = 0.23) และการประเมินผล (PNI [Modified] = 0.21) ตามลำดับ 3) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลังโดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น 3 อันดับ มีทั้งสิ้น 3 แนวทาง ดังนี้ (1) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ความสามารถในการฟื้นพลังด้านความสามารถในการแก้ปัญหา การมีเป้าหมาย การรับรู้ความสามารถตนเองและการกำกับตนเอง (2) ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียน ด้านการรับรู้ความสามารถตนเองและการกำกับตนเอง (3) พัฒนาระบบการประเมินผลที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ความสามารถในการฟื้นพลังของผู้เรียน ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา การรับรู้ความสามารถตนเองและการกำกับตนเอง
Other Abstract: This study was a descriptive research and its purposes were to study : 1) students’ resilience level in Rattanakosinsomphotbowonniwetsalaya School 2) the needs for developing academic management of Rattanakosinsomphotbowonniwetsalaya school based on the concept of resilience and 3) to propose approaches for developing academic management of Rattanakosinsomphotbowonniwetsalaya school based on the concept of resilience. The informants consisted of 4 administrators, 76 teachers, and 162 students. The research instruments were: a rating scaled questionnaire about students’ resilience level in Rattanakosinsomphotbowonniwetsalaya School a rating scaled questionnaire about the current and desirable states of academic management of Rattanakosinsomphotbowonniwetsalaya school based on the concept of resilience and an evaluation form to testify appropriateness and feasibility of approaches. The data was analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, PNI [Modified], mode, and content analysis. The findings showed that: 1) students’ resilience level in Rattanakosinsomphotbowonniwetsalaya School was at the high level (x = 4.20), while the lowest level was self – efficacy. 2) The first priority needed for developing academic management was developing curriculum (PNI [Modified] = 0.25). The second priority needed for developing academic management was teaching and learning (PNI [Modified] = 0.23). The third priority needed of academic management was evaluation (PNI [Modified] = 0.21). 3) The 3 approaches for developing academic management of Rattanakosinsomphotbowonniwetsalaya school based on the concept of resilience were (1) developing curriculum that focused on resilience learning outcomes, problem-solving ability, purpose, self-efficacy and self-regulation (2) developing learning activities that focused on self-efficacy, and self-regulation. (3) developing an evaluation process that focused on learning outcomes, problem-solving ability, self-efficacy, and self-regulation.
Description: สารนิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83463
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.351
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.351
Type: Independent Study
Appears in Collections:Edu - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mp_63801857274_suttaya_ni.pdf163.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.