Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83539
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจิราภรณ์ ธนียวัน-
dc.contributor.authorไพเราะ ปิ่นพานิชการ-
dc.contributor.authorสุเพท ธนียวัน-
dc.contributor.authorสุชาดา จันทร์ประทีป-
dc.contributor.authorวรรณา ตุลยธัญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-09-21T08:38:26Z-
dc.date.available2023-09-21T08:38:26Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83539-
dc.description.abstractยีสต์ Pichia anomala PY1 ที่ใช้ในการทดลองนี้ถูกแยกมาจากข้าวหมากที่อำเภอ พนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จากการศึกษาการเจริญ และการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพในอาหารเหลว กำหนดสูตรที่มีน้ำมันถั่วเหลือง 4% เป็นแหล่งคาร์บอน มี NaNO₃ 0.4% เป็นแหล่งไนโตรเจนควบคุมค่าความเป็นกรดด่างเริ่มต้นเท่ากับ 5.5 บ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เขย่าอัตราเร็ว 200 รอบต่อนาที เป็นเวลา 7 วัน โดยส่วนน้ำเลี้ยงเชื้อที่ไม่มีเซลล์ มีค่าการกระจายน้ำมันสูงสุด 5.07 ตารางเซนติเมตร มีค่าแรงตึงผิวต่ำสุดในวันที่ 7 เท่ากับ 38 มิลลินิวตันต่อเมตร และเมื่อทำการก่อการกลายพันธ์เพื่อเพิ่มการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพโดยสาร Ethylmethane sulfonate คัดเลือกได้ยีสต์สายพันธุ์กลาย PY 12, PY 44, PY 189 พบว่ายีสต์สายพันธุ์กลายสามารถให้พื้นที่กระจายน้ำมันได้ดีกว่าประมาณ 1.14 1.69 และ 2.15 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ PY 1 ตามลำดับ และให้ค่า ∆ST อยู่ในช่วง 24-26 มิลลินิวตันต่อเมตร และทำการกลายพันธุ์ Pichia anomala PY1 ด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตร่วมกับสาร Ethylmethane sulfonate คัดเลือกได้ยีสต์สายพันธุ์กลาย MUE24 ยีสต์สายพันธุ์กลายสามารถให้พื้นที่กระจายน้ำมันได้ดี 3-5 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ PY1 ให้ค่า ∆ST ใกล้เคียงกับสายพันธุ์ Py1 คือเท่ากับ 21 มิลลินิวตันต่อเมตร จากการวิเคราะห์สารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้จากยีสต์สายพันธุ์กลายทั้ง 4 สายพันธุ์ ด้วยวิธีโครมาโตกราฟีแบบ Analytical Thin-Layer Chromatography พบว่า มีจำนวนลำดับส่วนไม่เท่ากัน และลำดับส่วนที่มีการกระจายน้ำมันสูงสุดของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้จากยีสต์สายพันธุ์กลายแต่ละสายพันธุ์จะมีค่าคงที่ของอัตราส่วนการเคลื่อนที่ (Rf) ที่ต่างจากของยีสต์ Pichia anomala Py1 และการศึกษาความสามารถในการก่ออิมัลชันของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้โดยการวัดค่าความเสถียรในการก่ออิมัลชัน (Emulsification stability) และค่าดัชนีการเกิดอิมัลชัน (Emulsion Index) ต่อน้ำมัน 2 ชนิด ได้แก่ น้ำมันคาโนลา และน้ำมันถั่วเหลืองที่ 24 ชั่วโมง ซึ่งให้ค่าค่าดัชนีการเกิดอิมัลชันมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ในน้ำมันคาโนลา คือ ยีสต์สายพันธุ์กลาย PY 12, PY 44, PY 189 และ MUE 24 และให้ค่าค่าดัชนีการเกิดอิมัลชันมากกว่า 80-90 เปอร์เซ็นต์ ในน้ำมันถั่วเหลือง คือยีสต์สายพันธุ์กลาย PY44 และ MUE24en_US
dc.description.abstractalternativePichia anomala PY1 employed in the present study was isolated from Khao Mak_obtained from Amphor Panasnikhom, Cholburi Province. Its growth and biosurfactant production was carried out in defined medium consists of 4% soil bean oil as carbon source, 0.4% NaNO₂ as nitrogen source at initial pH of 5.5, 30 degree Celsius and agitation rate of 200 rpm. After 7 days, its supernatant fluid showed maximum oil dispersion activity of 5.7 cm² and lowest surface tension on the same day at 38 millinewton/meter. Mutagenesis of this strain by ethylmethane sulfonate (EMS) yields a number of mutants, among these strain PY12, PY44 and PY189 revealed better oil dispersion activities of 1.14, 1.69 and 2.15 times more than their respective parental strain PY1 while the ∆ST were in the range of 24-26 milli-newton/meter. The wild type strain was further subjected to UV-induced and EMS mutagenesis. Among the mutants isolated, strain MUE24 revealed a 3-5 folds increased in oil dispersion activity compared to parental strain PY1 with ∆ST close to PY1 at 21 milli-newton/meter. Analysis of the biosurfactants produced via analytical TLC demonstrated that the 4 strains possess different patterns of bands, in addition the active band for each biosurfactant with oil dispersion activity were of different Rf and were differed from that of parental; Pichia anomala PY1. Emulsification stability and emulsifying index at 24 hours toward canola oil were higher than 90% in all of the 4 strains; PY12, PY44, PY189 and MUE24 and in between 80-90% in soy bean oil by strains PY44 and MUE24.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2552en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสารลดแรงตึงผิวชีวภาพen_US
dc.subjectจุลินทรีย์อุตสาหกรรมen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมอาหารen_US
dc.subjectBiosurfactantsen_US
dc.subjectIndustrial microorganismsen_US
dc.subjectFood industry and tradeen_US
dc.titleการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจากจุลินทรีย์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร : รายงานการวิจัยen_US
dc.title.alternativeBiosurfactant production by microorganism for food industryen_US
dc.title.alternativeนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยทางอาหารสู่โครงสร้างเศรษฐกิจยุคใหม่en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jiraporn_Th_Res_2552.pdf80.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.