Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83799
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชลดา เรืองรักษ์ลิขิต-
dc.contributor.authorธานีรัตน์ จัตุทะศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-12-01T07:18:02Z-
dc.date.available2023-12-01T07:18:02Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83799-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 2 ประการ ประการแรก มุ่งศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องอิเหนาฉบับไทยกับเรื่องอินเหนาฉบับลาว ที่หอสมุดแห่งชาติลาวจัดพิมพ์ปี พ.ศ. 2513 และประการที่สอง มุ่งศึกษาลักษณะเด่นของเรื่องอินเหนาฉบับลาวที่ต่างไปจากฉบับไทย ผลการวิจัยพบว่า เรื่องอิเหนาฉบับลาวซึ่งมีเนื้อหาเริ่มตั้งแต่ตอนจระกาส่งช่างเขียนไปวาดรูปบุดสะบาจนถึงตอนท้าวกะหนังหนิงส่งทูตไปสู่ขอบุดสะบาให้โอรส ที่มีมาจากบทละครในเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทั้งในด้านเนื้อหา ด้านบทบาทและลักษณะตัวละคร ด้านกลวิธีพรรณนาบทอาบน้ำแต่งตัว ด้านกลวิธีพรรณนาบทชมธรรมชาติ ด้านกลวิธีพรรณนาบทชมพาหนะ ด้านกลวิธีพรรณนาการรับราชทูต และด้านการใช้ถ้อยคำสำนวน ขณะเดียวกันเรื่องอินเหนาฉบับลาวก็แสดงลักษณะเด่นที่แตกต่างจากเรื่องอิเหนาฉบับไทยหลายประการซึ่งมีความสอดคล้องกับขนบวรรณคดีลาวและจุดประสงค์ที่แต่งขึ้นเพื่อให้อ่านทำนองลำ ลักษณะเด่นประการแรก เรื่องอินเหนาฉบับลาวมีการเพิ่มบทบาทและความสำคัญของตัวละครจระกาและตตัวละครบริวาร เช่น ยายมด และเสนาทหาร ให้มี่ความโดดเด่นต่างไปจากตัวละครเดียวกันในฉบับของไทย ประการที่สอง เรื่องอิเหนาฉบับลาวมีการเพิ่มและขยายบทพรรณนาธรรมชาติหลายช่วงให้โดดเด่นกว่าฉบับไทยจนกลายเป็นบทพรรณนาที่โดดเด่นที่สุดในเรื่อง และการขยายบทพรรณนาอื่น ๆ เช่น บทชมขบวนเสด็จ และบทชมโฉม ให้ละเอียดกว่าฉบับของไทย ประการที่สาม เรื่องอิเหนาฉบับลาวแทรกวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของสังคมลาวด้านต่าง ๆ เข้าไปสร้างสีสันให้แก่เรื่องอย่างกลมกลืน ได้แก่ การละเล่นและมหรสพความบันเทิงแบบลาว และอาหารการกินแบบลาว ประการสุดท้าย เรื่องอิเหนาฉบับลาวมีการสร้างความงามทางวรรณศิลป์อย่างโดดเด่นหลายลักษณะ ทั้งความงามด้านเสียง ความงามด้านคำ และความงามด้านความหมาย ความงามดังกล่าวนี้กวีลาวได้สร้างขึ้นอย่างประณีตโดยการผสมผสานขบวนวรรณศิลป์ลาวกับอัจฉริยภาพเฉพาะตัวกวี ลักษณะร่วมและลักษณะเด่นที่แตกต่างกันระหว่างเรื่องอินเหนาฉบับไทยกับเรื่องอินเหนาฉบับลาวนี้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์เชิงวรรณศิลป์ระหว่างไทยกับลาวและแสดงให้เห็นภูมิปัญญาของกวีลาวในการปรับสร้างเรื่องอินเหนาฉบับลาวให้กลายเป็นวรรณคดีประจำชาตที่มีลักษณะเด่นสอดคล้องกับขนบวรรณคดีลาวและจุดประสงค์ของการใช้ควบคู่กับการแสดงอัจฉริยภาพเฉพาะตัวของตนen_US
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากทุนพัฒนาอาจารย์ใหม่/นักวิจัยใหม่ กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2557en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอิเหนา -- ประวัติและวิจารณ์en_US
dc.subjectวรรณกรรมเปรียบเทียบ -- ไทยกับลาวen_US
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบเรื่องอิเหนาฉบับไทยกับเรื่องอินเหนาฉบับลาว : ความสัมพันธ์ระหว่างสองสำนวน และลักษณะเด่นของฉบับลาว : รายงานการวิจัยen_US
dc.title.alternativeA comparative study of Thai and Lao Panji Stories : their connection and the distinctive characteristics of the Lao versionen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thaneerat_Ja_Res_2557.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)19.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.