Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83944
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างตราบาปเกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางจิตใจ ความเมตตากรุณาต่อตนเอง และเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยาของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Other Titles: Relationships among mental illness stigma, self-compassion, and attitudes toward psychological help-seeking in undergraduates
Authors: กิตติชัย สายรุ้ง
Advisors: สมบุญ จารุเกษมทวี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยา หมายถึง พฤติกรรมที่บุคคลมีการแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยผ่านการพูดคุยสื่อสารเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือในลักษณะต่าง ๆ การแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยานี้ได้รับอิทธิพลจากทั้งปัจจัยภายในตนเองเช่นมุมมองและเจตคติที่บุคคลมีต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยา และปัจจัยภายนอกเช่นมุมมองจากบุคคลใกล้ชิดหรือสังคม อย่างไรก็ตาม ยังมีงานวิจัยไม่มากนักที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตราบาปเกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางจิตใจ ความเมตตากรุณาต่อตนเอง และเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยา ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างตราบาปเกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางจิตใจ ความเมตตากรุณาต่อตนเอง ในการร่วมกันทำนายเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยา ในกลุ่มนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลจากนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 221 คน มีอายุเฉลี่ย 20.29 ปี (SD = 1.59) ผลการวิจัยพบว่า 1) ตราบาปจากสังคมมีสหสัมพันธ์ทางลบต่อเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยา 2) ตราบาปจากบุคคลใกล้ชิดมีสหสัมพันธ์ทางลบต่อเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยา 3) ตราบาปจากตนเองมีสหสัมพันธ์ทางบวกต่อเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยา 4) ความเมตตากรุณาต่อตนเองมีสหสัมพันธ์ทางบวกต่อเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยา และ 5) ตราบาปจากสังคม ตราบาปจากบุคคลใกล้ชิด ตราบาปจากตนเอง และความเมตตากรุณาต่อตนเอง สามารถร่วมกันทำนายระดับเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ adjusted R2 = .449 ผลการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ องค์ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปประกอบการออกแบบ วางแผนกระบวนการเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยาในกลุ่มนิสิตนักศึกษาต่อไป
Other Abstract: Psychological help-seeking is defined as a person’s behaviors in seeking help from others through communications. Psychological help-seeking is influenced by factors both from inside such as the person’s attitudes, and outside such as their family’s or publics views on the problem. Although attitudes toward psychological help-seeking is an important factor, there is currently lack of studies that researched into relationships between mental illness stigma, self-compassion, and attitudes towards psychological help-seeking. This study aims to explore the relationships between public stigma, personal stigma, self-stigma, and self-compassion, and the degree to which these factors can predict the level of attitudes toward psychological help-seeking in undergraduates. Data were collected from 221 undergraduate students with a mean age of 20.29 (SD = 1.59). The results revealed 1) a significant negative correlation between public stigma and attitudes toward psychological help-seeking, 2) a significant negative correlation between personal stigma and attitudes toward psychological help-seeking, 3) a significant negative correlation between self-stigma and attitudes toward psychological help-seeking, 4) a significant positive correlation between self-compassion and attitudes toward psychological help-seeking, and 5) public stigma, personal stigma, self-stigma, and self-compassion have a significant predictive effect on attitudes toward psychological help-seeking (adjusted R2 = .449).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83944
Type: Thesis
Appears in Collections:FACULTY OF PSYCHOLOGY - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270002738.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.