Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83977
Title: ผลของการพยาบาลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อโปรตีนในปัสสาวะของเด็กวัยเรียนกลุ่มอาการเนโฟรติก
Other Titles: The effect of promoting self-efficacy nursing care in practicing appropriate eating behaviors on urine protein among school-age children with nephrotic syndrome
Authors: กมลวรรณ เปลี่ยนสี
Advisors: สุวิมล โรจนาวี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบโอกาสการพบโปรตีนในปัสสาวะของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนกลุ่มอาการเนโฟรติกภายหลังได้รับการพยาบาลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสมและการพยาบาลตามปกติ ระยะหลังการทดลองทันที ระยะหลังการทดลอง 1 วัน และระยะหลังการทดลอง 2 วัน โดยการพยาบาลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนนี้พัฒนามาจากทฤษฎีสมรรถนะแห่งตนของ Bandura (2001) กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กวัยเรียนอายุ 6-12 ปี กลุ่มอาการเนโฟรติกที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คนโดยจับคู่การใช้ยาสเตียรอยด์และยาควบคุมความดันโลหิตแล้วสุ่มเข้ากลุ่มโดยจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ การพยาบาลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสม แถบทดสอบปัสสาวะ และแบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กกลุ่มอาการเนโฟรติก ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และค่าความเที่ยงเท่ากับ 1.00 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติคทวิ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ป่วยเด็กกลุ่มอาการเนโฟรติกที่ได้รับการพยาบาลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสมมีโอกาสตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะในระยะหลังการทดลอง 2 วัน น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติร้อยละ 92.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The quasi-experimental research aimed to compare the probability of detecting urine protein among school-age children with nephrotic syndrome after receiving nursing care that promotes self-efficacy in practicing appropriate eating behaviors and usual nursing care. The immediate post-test, the 1-day post-test, and 2-day post-test periods were utilized for experimentation. The nursing care intervention was developed based on Bandura's self-efficacy (2001). The study sample comprised 40 children aged 6-12 years with nephrotic syndrome attending the outpatient department of King Chulalongkorn Memorial Hospital. They were divided into experimental and control groups, each consisting of 20 participants. Pairing was achieved by matching the use of steroids and antihypertensive drugs, followed by random assignment to groups through a lottery method. The experimental tools include promoting self-efficacy nursing care in practicing appropriate eating behaviors, urine dipstick, and eating behavior of children with nephrotic syndrome questionnaire. Qualified experts verified the content validity of these tools, and their reliability values of 1.00 and 0.80, respectively. The research findings revealed that children who received the promoting self-efficacy nursing care in practicing appropriate eating behaviors had a statistically significant lower likelihood (92.00%) of detecting urine protein on the 2-day post-test period compared to the group that received usual nursing care, at a significance level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลเด็ก
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83977
Type: Thesis
Appears in Collections:FACULTY OF NURSING - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6372001036.pdf10.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.