Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84095
Title: ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ในพนักงานกวาดถนน กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Prevalence and related factors of respiratory symptoms among road sweepers in Bangkok
Authors: ปลื้มใจ โชติกเดชาณรงค์
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
เจตน์ รัตนจีนะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยพรรณนาภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานกวาดถนน กรุงเทพมหานคร จำนวน 341 คน คัดเลือกโดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage sampling) ทำการศึกษาระหว่าง เดือน กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน พ.ศ. 2566 การเก็บข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับ ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านการสัมผัสมลพิษทางอากาศที่ไม่ได้เกิดในการทำงาน ปัจจัยด้านการทำงาน ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน และอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ประกอบด้วยอาการไอ มีเสมหะ อาการหายใจลำบาก และอาการหายใจมีเสียงดังหวีดจากทรวงอก ที่ดัดแปลงมาจากแบบสอบถามของ British Medical Research Council ฉบับแปลไทย ผลการศึกษาพบว่าพนักงานกวาดถนน กรุงเทพมหานคร มีความชุกอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจแบบเรื้อรังอย่างน้อย 1 อาการ ร้อยละ 33.70 อาการผิดปกติทางเดินหายใจที่พบบ่อยที่สุดคือ อาการไอ ร้อยละ 22.0 พนักงานกวาดถนนส่วนใหญ่สวมอุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจสวมตลอดเวลาขณะทำงานกวาดถนน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การสัมผัสควันบุหรี่มือสอง (aOR = 2.34, 95% CI: 1.30 - 4.23) การมีอาชีพเสริมหรืองานอดิเรกที่สัมผัสแก๊ส ฝุ่นหรือควัน (aOR=2.97, 95% CI: 1.33 - 6.63) ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรให้ความสำคัญกับการป้องกันอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ในอาชีพพนักงานกวาดถนน โดยการเฝ้าระวังอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอันตรายของควันบุหรี่มือสองและการป้องกันระบบทางเดินหายใจ เช่น การสวมอุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจที่เหมาะสมขณะทำงานกวาดถนนและเมื่อทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดมลพิษอากาศภายในอาคาร
Other Abstract: This research is a cross-sectional study conducted in a sample group of 341 street sweepers in Bangkok, selected by a multi-stage sampling method. The study was conducted during February and April 2023. Data collection included questionnaires on personal factors, non-occupational air pollutant exposure factors, work-related factors, and environmental factors in the workplace. Abnormal respiratory symptoms in the past 6 months were collected using a questionnaire applied from the British Medical Research Council. The results showed that the prevalence of chronic respiratory symptoms in street sweepers in Bangkok was 33.7 %. The most common chronic respiratory symptom was cough with a prevalence of 22.0 %. Most workers consistently wore respiratory protective equipment. Statistically significant factors associated with chronic respiratory symptoms included exposure to secondhand smoke (aOR = 2.34, 95% CI: 1.30 - 4.23) and having part-time jobs or hobbies involving exposure to air pollutants (aOR=2.97, 95% CI: 1.33 - 6.63). Therefore, stakeholders should prioritize the prevention of abnormal respiratory symptoms among street sweepers. This can be achieved by monitoring respiratory symptoms, increasing awareness about secondhand smoke hazards, and using proper respiratory protective equipment during activities that expose individuals to indoor air pollutants.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84095
Type: Thesis
Appears in Collections:FACULTY OF MEDICINE - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6570053830.pdf9.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.