Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84177
Title: มโนอุปลักษณ์เกี่ยวกับภาวะโรคระบาดใหญ่ในประเทศไทยในวาทกรรมสื่อหนังสือพิมพ์และวาทกรรมสื่อภาครัฐ
Other Titles: Conceptual metaphors related to the pandemics in Thailand in newspaper media discourse and government media discourse
Authors: ธรรมวัฒน์ พัฒนาสุทธินนท์
Advisors: ศิริพร ภักดีผาสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนอุปลักษณ์เกี่ยวกับภาวะโรคระบาดใหญ่ในประเทศไทยในวาทกรรมสื่อหนังสือพิมพ์และวาทกรรมสื่อภาครัฐ และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบมโนอุปลักษณ์และหน้าที่ของมโนอุปลักษณ์เกี่ยวกับภาวะโรคระบาดใหญ่ในประเทศไทยในวาทกรรมสื่อหนังสือพิมพ์และวาทกรรมสื่อภาครัฐโดยใช้แนวคิดมโนอุปลักษณ์ตามมุมมองภาษาศาสตร์ปริชานและหน้าที่ของมโนอุปลักษณ์ตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ เก็บข้อมูลจากวาทกรรมสื่อหนังสือพิมพ์และวาทกรรมสื่อภาครัฐในช่วงการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และโรคโควิด-19 รวม 803 ตัวบท ผลการศึกษาพบมโนอุปลักษณ์เกี่ยวกับภาวะโรคระบาดใหญ่ 10 มโนอุปลักษณ์ ได้แก่ [การแพร่ระบาดของโรค คือ สงคราม] [การแพร่ระบาดของโรค คือ ภัยพิบัติ] [การแพร่ระบาดของโรค คือ กีฬาชกมวย] [โรคระบาด คือ คนร้าย] [โรคระบาด คือ บุคคล] [โรคระบาด คือ สัตว์ร้าย] [โรคระบาด คือ วิญญาณร้าย] [โรคระบาด คือ พืช] [โรคระบาด คือ มะเร็ง] และ [การแพร่ระบาดของโรค คือ การเรียน] มโนอุปลักษณ์ที่พบสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับโรคระบาดได้ 6 มุมมอง ได้แก่ 1) โรคระบาดเป็นภัยคุกคาม จึงต้องควบคุมป้องกันให้สิ้นสุดลงโดยเร็ว 2) โรคระบาดไม่สามารถควบคุมให้สิ้นสุดลงโดยง่ายและสามารถเกิดขึ้นซ้ำได้ 3) โรคระบาดเป็นสิ่งน่ากลัว สามารถทำอันตรายแก่มนุษย์ 4) โรคระบาดเป็นการคุกคามสุขภาพที่ร้ายแรงถึงชีวิตและรักษาได้ยาก 5) โรคระบาดคือการแข่งขันกีฬา ผู้เข้าแข่งขันต้องทำคะแนนเพื่อป้องกันการถูกโจมตีตลอดเวลาและสามารถเอาชนะได้ในที่สุด และ 6) โรคระบาดเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องทำความรู้จักและปรับตัวเพื่อให้อาศัยอยู่ร่วมด้วยได้ เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการสื่อสาร องค์ประกอบที่น่าจะมีผลต่อหน้าที่ของมโนอุปลักษณ์ ได้แก่ ฉาก ผู้ร่วมเหตุการณ์ จุดมุ่งหมาย ลำดับวัจนกรรม เครื่องมือ บรรทัดฐานการปฏิสัมพันธ์และการตีความ และประเภทของข้อความ ทำให้หน้าที่ของมโนอุปลักษณ์ที่พบมีหน้าที่ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ หน้าที่ด้านถ่ายทอดความคิด หน้าที่ด้านถ่ายทอดความคิดและบุคคลสัมพันธ์ และหน้าที่ด้านเรียบเรียงความ เมื่อเปรียบเทียบมโนอุปลักษณ์ตามโรคพบว่าด้วยระยะเวลาการแพร่ระบาดที่ยาวนานไม่เท่ากันและความรุนแรงที่ต่างกันทำให้พบมโนอุปลักษณ์ต่างกัน มโนอุปลักษณ์ที่พบต่างกันในการแพร่ระบาดทั้งสองครั้ง ได้แก่ [การแพร่ระบาดของโรค คือ กีฬาชกมวย] และ [โรคระบาด คือ มะเร็ง] เมื่อเปรียบเทียบมโนอุปลักษณ์ตามวาทกรรมพบมโนอุปลักษณ์ในวาทกรรมสื่อหนังสือพิมพ์มากกว่าวาทกรรมสื่อภาครัฐซึ่งสัมพันธ์กับบทบาทการรายงานข่าวสาร ขณะที่มโนอุปลักษณ์ในวาทกรรมสื่อภาครัฐแม้ว่าจะพบน้อยกว่าแต่ก็มีบทบาทสำคัญในการชี้แนะให้ผู้รับสารปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติบางอย่างรวมไปถึงกำหนดบทบาทหน้าที่และควบคุมสังคมในยามวิกฤต สำหรับหน้าที่ของมโนอุปลักษณ์เมื่อพิจารณาตามประเภทวาทกรรมมีความต่างกันที่หน้าที่ถ่ายทอดความคิดและบุคคลสัมพันธ์ที่เด่นชัดกว่าในวาทกรรมสื่อภาครัฐจากบทบาทในการผลิต เผยแพร่ ผลิตซ้ำ และตอกย้ำอุดมการณ์บางอย่างเพื่อชักจูงโน้มน้าวผู้รับสาร ผลการศึกษาแสดงให้เห็นบทบาทของภาษาในการถ่ายทอดความคิดด้วยการนำสิ่งที่เป็นรูปธรรมกว่าและประสบการณ์ที่ใกล้ตัวกว่ามาเปรียบเทียบกับโรคระบาดให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและสภาวการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นบทบาทของภาษาในภาวะวิกฤตที่นอกจากจะมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดที่เกิดขึ้นยังมีหน้าที่กำหนดความคิดของคนในสังคมเพื่อทำให้ภาวะโรคระบาดที่เกิดขึ้นกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
Other Abstract: This study aims at analyzing conceptual metaphors related to the pandemics in Thailand in newspaper media discourse and government media discourse. Also, it aims at comparing conceptual metaphors related to each pandemic and analyzing the functions of the conceptual metaphors in the two discourses by adapting Conceptual Metaphor Theory and the concept of functions of metaphor. The data were collected from newspaper media discourse and government media discourse during the 2009 H1N1 Flu pandemic and the COVID-19 pandemic. In total, 803 texts were gathered. The analysis reveals that there are 10 metaphors related to the pandemics including THE SPREAD OF PANDEMIC IS A WAR, THE SPREAD OF PANDEMIC IS A DISASTER, THE SPREAD OF PANDEMIC IS A BOXING, PANDEMIC IS A VILLAIN, PANDEMIC IS A PERSON, PANDEMIC IS A DANGEROUS ANIMAL, PANDEMIC IS A PLANT, PANDEMIC IS A CANCER, and THE SPREAD OF PANDEMIC IS AN EDUCATION. These metaphors reflected 6 aspects of the pandemics as follow. 1) Pandemics are a threat. Therefore, it must be controlled and terminated as soon as possible. 2) Pandemics cannot be easily brought to an end and can recur. 3) Pandemics are scary things that can harm human beings. 4) Pandemic is a serious health threat that is life-threatening and difficult to treat. 5) Pandemic is a fighting sport. Contestants must score points and fend off constant attacks and try to win finally. 6) Pandemics are something that humans must get to know and adapt themselves to in order to live with. Next, in terms of the analysis of communicative components, the components that are likely to affect the functions of metaphors in both discourses include setting, participants, ends, act sequences, instrumentalities, norms of interaction and interpretation, and genre. As for the functions of metaphor, the analysis reveals that the PANDEMIC metaphors serve 3 functions including ideational, ideational and interpersonal, and textual functions. When comparing metaphors by pandemic, it is found that the different length and the different levels of severity of the pandemics have led to different usage of metaphors. The metaphors that are differently adopted include THE SPREAD OF PANDEMIC IS A BOXING, and PANDEMIC IS A CANCER. When comparing by the type of discourse, it is found that metaphors related to the pandemics in newspaper media discourse outnumber those in government media discourse, which is mainly related to the role of news reporting. Although metaphors in government media discourse are less than those in newspaper media discourse, they play a key role in information reporting as well as instructing the audience (not) to act or perform certain behaviors. Also, they set the proper roles of social members as well as control over the society during the crisis. When focusing on the functions of metaphors, ideational and interpersonal functions are more prominent in government media discourse as it serves to produce, distribute, reproduce, and reinforce certain ideologies in order to persuade the receivers. This study reveals the ideational role of language by viewing the pandemics in terms of more concrete things and familiar experiences. Moreover, the analysis also reveals the role of language in crisis management. In addition to ideational function, language serves as a device for cognitive and behavioral control in order to restore the normal condition as soon as possible.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84177
Type: Thesis
Appears in Collections:FACULTY OF ARTS - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380019922.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.