Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84181
Title: การใช้มาส์ก เทคนิค ของ ฌาค เลอคอก เพื่อพัฒนาความสามารถของนักแสดงเพื่อเข้าสู่การเป็นตัวละคร : กรณีศึกษา เดนีซ ซาเวจ ในบทละครเรื่อง ซาเวจ อิน ลิมโบ ของ จอห์น แพทริค แชนลีย์
Other Titles: The use of Jacques Lecoq's Mask technique for improving actor's ability to embody a character : a case study of Denise Savage in John Patrick Shanley's Savage in Limbo
Authors: ภรินทร์ลดา อาภาภิรม
Advisors: พันพัสสา ธูปเทียน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ฌาค เลอคอก เป็นหนึ่งในนักการละครที่ริเริ่มนำเอาหน้ากากเข้ามาปรับใช้ในการฝึกฝนนักแสดงเพื่อเสริมสร้างทักษะทางอวัจนภาษาและพัฒนาศักยภาพร่างกายของนักแสดง เลอคอกเชื่อว่าทักษะทางอวัจนภาษาจะช่วยเพิ่มพลังให้กับคำพูดของตัวละคร หรือกล่าวโดยง่ายคือ ช่วยให้สิ่งที่ตัวละครพูดถึงมีความหมายและชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ตัวละครมีมิติและเป็นเอกลักษณ์อีกด้วย ผู้วิจัยได้ทดลองนำแบบฝึกหัด มาส์ก เทคนิค ของเลอคอกมาใช้ในการเข้าสู่การเป็นตัวละคร เดนีซ ซาเวจ จากบทละครเรื่อง ซาเวจ อิน ลิมโบ ซึ่งเป็นตัวละครที่แตกต่างจากผู้วิจัยอย่างมากไม่ว่าจะเป็น ปูมหลัง บุคลิก อุปนิสัย บริบททางสังคม ยุคสมัย และวัฒนธรรมที่ไกลตัว โดยมีสมมติฐานว่า การใช้ มาส์ก เทคนิค ของเลอคอกจะช่วยให้ผู้วิจัยเข้าสู่การเป็นตัวละครได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น และสื่อสารสภาวะอารมณ์ ความรู้สึกที่ซับซ้อนของตัวละครผ่านอวัจนภาษาได้อย่างชัดเจนมากขึ้น โดยผู้วิจัยใช้ มาส์ก เทคนิค ใน 4 ลักษณะคือ 1) การสร้างสรรค์ตัวละคร 2) ค้นหาแก่นของตัวละคร 3)สร้างบุคลิกและอุปนิสัยภายนอก และ 4) พัฒนาศักยภาพของร่างกายและจิตใจ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์และประเมินผลจากการปฏิบัติจริง พร้อมทั้งบันทึกกระบวนการทำงาน การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางการแสดง แบบสอบถามจากผู้ชม และการชมวีดีโอบันทึกการแสดง ผลการวิจัยพบว่าการฝึกฝน มาส์ก เทคนิค อย่างต่อเนื่องจะช่วยขยายศักยภาพร่างกายของนักแสดง ได้ค้นพบอิสรภาพทั้งในการเคลื่อนไหวและเสียง ได้รู้จักร่างกายของตนเองมากขึ้น และเข้าใจหลักการของอวัจนภาษาบนเวทีมากขึ้น ซึ่งช่วยให้นักแสดงเข้าบทบาทเป็นตัวละครได้สมบูรณ์ขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน มาส์ก เทคนิคเป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมือดังนั้นก่อนที่จะเข้าสู่การใช้แบบฝึกหัด นักแสดงควรต้องวิเคราะห์ตัวละครอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อน
Other Abstract: Jacques Lecoq was one of the pioneering dramatists who incorporated masks into his pedagogy, aiming to enhance actor’s proficiency in physical expression. Lecoq believed that movements enhance the subtext of the character's dialogue and assist actors in creating distinctive characters. In this research, I, as the researcher, used Denise Savage's character from the play “Savage in Limbo” as a case study, highlighting the disparities between the character and myself in terms of physicality, social context, historical periods, and cultural background. I posit that Mask Technique will aid in a better character embodiment and improve the communication of intricate emotions through body language. Mask Technique exercises are used in 4 areas 1) character development 2) character's essence exploration 3) building the character’s public persona 4) physical enhancement and concentration. This research involves collecting and analyzing data from rehearsal records, interviewing experts, audience feedback, and video recordings. Results show that consistent mask technique training expands actors’ physical capabilities, deepening physical awareness and enhancing freedom of voice and movement on stage, resulting in more comprehensive character embodiment. While valuable, integrating mask technique into a meticulous character analysis optimizes results.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปการละคร
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84181
Type: Thesis
Appears in Collections:FACULTY OF ARTS - THESIS

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6388013522.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.