Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10853
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระพงษ์ บุญโญภาส-
dc.contributor.advisorจิรนิติ หะวานนท์-
dc.contributor.authorพิณทิพย์ ลีลาเกรียงศักดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-08-31T11:19:11Z-
dc.date.available2009-08-31T11:19:11Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740308309-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10853-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 อาจเกิดขึ้นได้ในขณะเดียวกันกับการกระทำโดยการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันกรณีภัยผ่านพ้นไปแล้วตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69 ซึ่งเป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดตามโครงสร้างความรับผิด โดยผู้กระทำไม่มีอำนาจกระทำได้และไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ แต่เป็นเหตุลดโทษที่กฎหมายกำหนดให้ศาลมีดุลพินิจในการลงโทษผู้กระทำน้อยเพียงใดก็ได้เช่นเดียวกันโดยที่มาตรา 69 เป็นคุณแก่ผู้กระทำมากกว่าคือ ถ้ากระทำไปโดยความตื่นเต้น ความตกใจ หรือความกลัว ศาลอาจไม่ลงโทษผู้กระทำได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือกรณีใดควรปรับบทด้วยมาตรา 69 หรือ มาตรา 72 โดยควรพิจารณาเป็น 3 กรณี คือ กรณีที่หนึ่ง ผู้กระทำได้เริ่มใช้สิทธิป้องกันแล้วและกระทำต่อเนื่องติดพัน แม้ภยันตรายผ่านพ้นไปแล้วก็ยังกระทำอยู่ ควรปรับบทเรื่องของการป้องกันเกินขอบเขตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69 กรณีที่สอง ผู้กระทำได้เริ่มใช้สิทธิป้องกันแล้วและกระทำต่อเนื่องติดพัน แม้ภยันตรายผ่านพ้นไปแล้วก็ยังกระทำอยู่ โดยที่ผู้กระทำเข้าใจว่าผู้ก่อภัยยังมีภยันตรายที่จะคุกคามอยู่ แม้ความจริงผู้ก่อภัยไม่มีความสามารถจะทำอันตรายได้แล้ว ควรปรับบทเรื่องของการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายโดยสำคัญผิด กรณีที่สาม ผู้กระทำได้เริ่มใช้สิทธิป้องกันตอบโต้กลับไปที่ผู้ก่อภัยเมื่อภยันตรายผ่านพ้นไปแล้ว ควรปรับบทเรื่องการกระทำโดยบันดาลโทสะ โดยไม่เข้าเรื่องของการป้องกันเกินขอบเขต เพราะผู้กระทำไม่ได้เริ่มใช้สิทธิป้องกัน และไม่มีเจตนากระทำการป้องกันในขณะที่เกิดภยันตรายขึ้นเลย นอกจากนี้ หากเป็นกรณีที่มีการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมซึ่งทำให้ผู้กระทำบันดาลโทสะแต่มิได้กระทำโต้ตอบไปในทันที ต้องพิจารณาว่าเป็นการบันดาลโทสะซึ่งเป็นเหตุในการลดโทษหรือไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งเป็นเหตุให้รับโทษหนักขึ้น จุดแบ่งแยกที่ชัดเจนคือระยะเวลาเพียงพอที่จะระงับความโกรธและมีสติ โดยต้องพิจารณาตามหลัก Objective Test โดยเปรียบเทียบวิญญูชนที่ถูกข่มเหงเช่นเดียวกับผู้กระทำและตามหลัก Subjective Test คือผู้กระทำความผิดหรือจำเลยนั้นมีระยะเวลาเพียงพอที่จะระงับโทสะได้หรือไม่ หากพิจารณาแล้ววิญญูชนและจำเลยยังไม่มีเวลาที่จะสามารถระงับโทสะได้และยังมีโทสะอยู่ในขณะที่ทำโต้ตอบ กรณีนี้เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ หรือกรณีที่วิญญูชนมีระยะเวลาพอสมควรที่จะระงับโทสะได้แล้ว แต่จำเลยยังคงมีโทสะอยู่นานกว่าบุคคลทั่วไป จึงกระทำความผิดไปโดยไม่สามารถบับยั้งชั่งใจได้ กรณีนี้เป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเท่านั้น แต่หากพิจารณาแล้ววิญญูชนและจำเลยมีเวลาเพียงพอที่จะระงับโทสะได้และจำเลยไม่มีโทสะแล้วในขณะโต้ตอบ หรือแม้วว่าวิญญูชนไม่สามารถระงับโทสะได้แต่จำเลยสามารถระงับโทสะได้สมบูรณ์และคิดทบทวนได้แล้ว กรณีนี้เป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อนen
dc.description.abstractalternativeProvocation under Penal Code Section 72 may happen coincidentally with the act of excessive self-defense or excessive necessary case of offence as the calm has past under Penal Code Section 69 which is the action to complete the constituent part of the offence, whereby the actor has no power to commit and no any law to make an exception of punishment. However, it may be the cause that the Court may use its discretion to punish the offender as less as it does fit whereas Section 69 is somewhat benevolent to the offender in case that the acts is done under the excitement, fear or alarm, the Court may not punish the actor. It must be consider on the problem which case should be adjusted under Section 69 or Section 72 that should be considered under these 3 cases : The first case is that the offender has started to use his right of self-defense and acts continuously even though the harm is over, this should be adjudged as excessive self-defense under Section 69. The second case is that the offender has started to use his right of self-defense and acts continuously even though the harm is over, but the offender believes that the harm get being threatened inspite of the fact that the attacker is not able to commit further harm, this should be adjudged as a mistaking lawful defense. The third case is the offender has started to use his right of self-defense after the harm has finished, this should be adjudged as the circumstance of being sudden provoke not as excessive self-defense due to the offender has not started to use his right and has no intention to offend at the time the harm arising. Apart from this, the case of reasonable provocation that sudden provoked the actor but has not make promptly offence, this must be considered either being provoked suddenly that should be a cause for less punishment or being a case of premeditation that should be a cause for more punishment. The clear focal point should be considered on reasonable time to cool off under the process of Objective Test by comparing with a reasonable man who is harassed in the same manner as the offender as well as under the process of Subjective Test whether the offender has sufficient time for the passion to subside, if should, after consideration, the reasonable man has not sufficient time for the passion to subside while committing the offence, this should be adjudged as provocation. Should the reasonable man has a cooling off period to suppress his passion but the offender still be provoked longer than the reasonable man and commit the offence without self-control, this should be adjudged as the offence of intentional killing. However should the reasonable man and the offender, after consideration, have reasonable cooling off period and the offender is not provoked during committing the offence or even the reasonable man could not control his passion yet, but the offender could have self-control completely and think carefully, thus should be adjudged as premeditation.en
dc.format.extent1461043 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความผิด (กฎหมาย)en
dc.subjectการป้องกันตัวen
dc.subjectความผิดต่อบุคคลen
dc.subjectการไตรตรองไว้ก่อน (กฎหมาย)en
dc.subjectการยั่วยุ (กฎหมายอาญา)en
dc.titleการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะที่เกิดขึ้นในขณะเดียวกับการกระทำโดยเบื้องต้นและการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อนen
dc.title.alternativeA study of provocation at the time of self-defence and premeditationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorvboonyobhas@hotmail.com-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pinthip.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.