Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11089
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน | - |
dc.contributor.author | ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-09-10T10:23:00Z | - |
dc.date.available | 2009-09-10T10:23:00Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.isbn | 9741323042 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11089 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของแอ่วเคล้าซอ ตลอดจนระเบียบวิธีปฏิบัติ ผลการวิจัยพบว่า 1. จากพระราชกิจจานุเบกษาในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ที่ทรงประกาศห้ามแอ่วลาว ทำให้เกิดการรังสรรค์งานศิลปกรรมขึ้นใหม่ ชื่อว่า "แอ่วเคล้าซอ" ซึ่งเป็นผลจากการบูรณาการทางภูมิปัญญาของคนภาคกลาง โดยนำกระสวนทำนองลำของหมอลำหรือแอ่วลาว มาประยุกต์ดัดแปลงขึ้นใหม่ แต่รักษาเอกลักษณ์กระสวนทำนองเดิมบางแห่งบรรจุไว้ พบชัดเจนในช่วงขึ้นต้นทำนองร้องและเมื่อจะลงจบ พัฒนาการของแอ่วเคล้าซอมีมาเป็นลำดับ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เคยได้รับความนิยมจากสังคม ถึงกับสามารถประกอบเป็นอาชีพได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงก่อนประกาศยกเลิกโรงบ่อนเบี้ย แต่พอหลังจากนั้นก็ได้ซบเซาลง จนมาถึงเมื่อจัดตั้งกรมโฆษณาการแอ่วเคล้าซอได้ถูกนำเสนออีกครั้งทางวิทยุกระจายเสียงและได้มีการปรับปรุงรูปแบบการแสดงใหม่อย่างละครหรือลิเก แต่ได้รับความนิยมในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ปัจจุบันกำลังจะเลือนหายไปจากสังคมไทย 2. ลักษณะวิธีการเล่น แอ่วเคล้าซอ มีลักษณะคล้ายการละเล่นเพลงพื้นบ้านภาคกลาง แต่จะมีซออู้คอยบรรเลงเคล้าตลอดเวลา โดยมีฉิ่ง กรับและกลองแขกตีให้จังหวะ หน้าทับที่ใช้คือหน้าทับซุ้มลาวหรือหน้าทับสองไม้ชั้นเดียว ส่วนกลวิธีในการขับร้องและบรรเลง ผู้บรรเลงซอควรขับร้องให้ได้และทำความเข้าใจกับลำดับขั้นตอนให้ชัดเจน ส่วนผู้ขับร้องควรศึกษาบทร้องและบุคลิกภาพของตัวละคร เพื่อจะได้สร้างอารมณ์ให้เหมาะสม อีกทั้งยังสามารถนำหลักคีตศิลป์ไทยมาใช้ปรุงให้งดงามได้ | en |
dc.description.abstractalternative | To study the historical records of the origin and development of Aew-Khlao-Saw, and the methodology of its artistic expression. These are the results of the study. 1. A royal decree of King Rama IV forbidding Aew-Lao inspires a new form of musical creativity called Aew-Khlao-Saw which is an achievement of the central Thai folk music tradition based on the Aew-Lao mode whose unique artistic expression is clearly preserved in the beginning and the end of the sections. Aew-Khlao-Saw gained highest public favour in the reign of King Rama V as a popular entertainment with professional performers. It went into decline after the abolition of gambling houses. It was temporarily revived by the Government Public Relations Department radio broadcast program before final disappearance from Thai society. 2. Aew-Khlao-Saw's method of performance is similar to singing folk performance of the central region. But the singing is continually accompanied by Saw-U, with Ching, Krab and Klong Khack providing rhythmic accent using Na Thap Sum Lao or Na Thap Song Mai Chan Deiw. The Saw-U performer must know the melody and procedure thoroughly. The singer must study the lyic and the personality of the characters in order to achieve artistic effect embellished by unique musical expression. | en |
dc.format.extent | 1534796 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เพลงพื้นเมือง -- ไทย | en |
dc.subject | แอ่วเคล้าซอ | en |
dc.title | แอ่วเคล้าซอ : ประวัติความเป็นมาและระเบียบวิธีปฏิบัติ | en |
dc.title.alternative | Aew-Khlao-Saw : history and methodology | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ดุริยางค์ไทย | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | pakorn.jk@hotmail.com | - |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
yootthana.pdf | 1.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.