Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13008
Title: แบบแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับชนบทในมหาวิทยาลัยไทย : สังเคราะห์ในภาพรวม : รายงานการวิจัย (ฉบับสมบูรณ์)
Other Titles: Rural studies in Thai universities : a synthesis
Authors: สุริชัย หวันแก้ว
Email: Surichai.W@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Subjects: การศึกษาชนบท
ชนบท -- ไทย
สังคมชนบท -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
สถาบันอุดมศึกษา -- ไทย
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- ไทย
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการวิจัยแบบแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับชนบทไทย: สังเคราะห์ในภาพรวมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยแบบแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับชนบทไทยภายใต้การดำเนินงานของโครงการชนบทศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัยเป้ฯการนำผลการศึกษาที่ได้จากโครงการวิจัยแบบแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับชนบทไทยในระดับภูมิภาคทั้ง 6 ภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ขึ้นเป็นภาพรวมของการเรียนรู้ชนบทไทยของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน วัตถุประสงค์ในการศึกษามีอยู่ 3 ประการ คือ 1) เพื่อประมวลผลรวบรวมแบบแผนการสอน และการเรียนรู้ด้านชนบท 2) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาและกระบวนการดำรงชีพและการมีส่วนร่วมในปัจจุบัน และ 3) เพื่อสรุปปัญหาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย รวมถึงมาตรการเพื่อพัฒนาให้กระบวนการเรียนรู้ด้านชนบทศึกษา และด้านชุมชนศึกษาเป็นส่วนเกื้อหนุนต่อการพัฒนาของภูมิปัญญาของสังคมไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประยุกต์โดยใช้การวิจัยหลายวิธีผสมผสานกัน ได้แก่ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์โดยไม่ทางการ วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิจัยแบบเสวนา (Dialogical Research) และการประชุมเชิงนโยบายจากบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาสรุปโดยสังเขปได้ว่า แบบแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับชนบทไทยของสถาบันอุดมศึกษาโดยภาพรวมยังคงเป็นการเรียนรู้ในชั้นเรียนผ่านประสบการณ์ของอาจารย์ผู้สอน และสื่อการสอนต่าง ๆ มากกว่าที่จะเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในชนบท โดยเฉพาะหากมิใช่หลักสูตรที่เน้นด้านชนบทศึกษาโดยตรงนักศึกษาจะมีโอกาสลงพื้นที่ศึกษาภาคสนามน้อย แหล่งความรู้เกี่ยวกับชนบทส่วนใหญ่ยังจำกัดวงอยู่ภายในรั้วมหาวิทยาลัยโดยอาจารย์ผู้สอน ตำรา สื่อการเรียนการสอนเป็นหลัก บางแห่งมีการเชิญวิทยากรภายนอกมาบรรยายบ้างแต่ก็เป็นเพียงส่วนเสริมเท่านั้น ในแง่ความเชื่อมโยงระหว่างกระบวนการเรียนรู้เกี่ยงกับชนทบไทยจากหลักสูตรในสถาบันอุดมศึกษากับกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านหรือชุมชนนั้นยังคงมีช่องว่างอยู่มาก แต่ก็มีความพยายามที่ขยายฐานการเรียนรู้ด้านชนบทศึกษาให้กว้างออกไป ดายการสร้างเครือข่าวการเรียนรู้ร่วมกันกับชาวชนบทร่วมกับองค์การพัฒนาที่ทำงานเกี่ยวข้อง ซึ่งก็มีการริเริ่มและการก่อรูปของเครือข่ายการเรียนรู้เช่นนี้และเกิดขึ้นในแทบทุกภูมิภาคซึ่งล้วนแต่ต้องอาศัยความพยายามพิเศษของผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าจะยังไม่ปรากฏเป็นระบบที่ชัดเจนมั่นคงเป็นรูปธรรม ปัญหาและอุปสรรคอันเป็นที่มาของสภาพการณ์ดังกล่าวได้แก่ กระบวนทัศน์การพัฒนาแบบเดิมทีเห็นชนบทเพียงด้านเดียวคือ เป็นฐานทรัพยากรที่จะสนับสนุนแก่ภาคเมือง หรือภาคอุตสาหกรรม โดยการกอบโกยทรัพยากร ดิน น้ำ แรงงานคน และการส่งเสริมการผลิตที่ต้องการผลผลิตสูงแต่ทำลายความหลากหลายตามธรรมชาติ ซึ่งปรากฏให้เห็นในกระบวนวิชาในสถาบันอุดมศึกษาทั้งวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคมศาสตร์ภายใต้กระบวนทัศน์เช่นนี้ จึงเกิดช่องว่างระหว่างการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยที่ไม่สัมพันธ์กับชีวิตจริงกับการเรียนรู้เพื่ออยู่รอดของชุมชนชนบท การแบ่งแยกโดยขาดการเชื่อมดยงระหว่างกานสอนกันการวิจัยในมหาวิทยาลัย อุปสรรคด้านโครงสร้าง อันได้แก่ การปิดช่องทางการเรียนรู้จากภาคสนาม การไม่ยอมรับเทียบโอนการเรียนรู้นอกห้องเรียน การไม่มีช่องทางการเรียนรู้ข้ามภูมิภาคและระหว่างมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองกับชนบท ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาแนวทางแก้ไขกล่าวคือ ประการแรกต้องมีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากอุตสาหกรรมนิยมเป็นหลักการพัฒนาที่ยังยืน ซึ่งหมายถึงการพัฒนาที่ได้ดุลยภาพระหว่างเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรม นัยความหมายที่สืบเนื่องจังเท่ากับการเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติต่อชนบทศึกษา ประการที่สอง เมื่อทัศนคติเปลี่ยนแล้วก็จะตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนหรือหลักสูตรทั้งในส่วนของวัตถุประสงค์และวิธีการ ประการที่สาม การส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้นั้นก็ต้องอาศัยพื้นฐานจากเครือข่ายการเรียนรู้ด้านชนบทไทยที่กว้างขวางระหว่างอุดมศึกษาและชุมชนในชนบท การมีฐานองค์ความรู้ที่กว้างขวางและหลากหลายนั้นย่อมเป็นพลังภูมิปัญญาของสังคมไทยทั้งในการนำพาประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ ปละในการเป็นหลักประกันในการปรับตัวให้เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืน ลู่ทางการปรับปรุงชนบทศึกษาและชุมชนศึกษาเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากมิได้รับความร่วมมือจากทุกภาคที่เกี่ยวข้อง ทั้งคณาจารย์ผู้สอน สถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย รวมทั้งองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ทำงานร่วมกับชุมชน และประการสุดท้าย หน่วยงานที่ดูแลด้านนโยบายโดยเฉพาะทบวงมหาวิทยาลัย และกรทรวงศึกษาธิการ ควรต้องปรับกระบวนทัศน์สู่การพัฒนาที่สมดุลย์และยั่งยืนโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง และจากนั้นจะต้องมีนโยบายและมาตรการที่เป็นรูปธรรมเดี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านชนบทศึกษา อาทิ สนับสนุนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยและระหว่างภาคการพัฒนาชนบท การส่งเสริมการเรียนรู้ในท้องถิ่นภาคสนาม การส่งเสริมระบบการเรียนรู้ข้ามภูมิภาค การส่งเสริมการสอนอขงอาจารย์ด้านชนบทและชุมชนศึกษาข้ามมหาวิทยาลัย (ทุนอาจารย์อาคันตุกะระหว่างมหาวิทยาลัย) และการจัดตั้งศูนย์เพื่อความเป็นเลิศด้านชนบทศึกษาและชุมชนศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Other Abstract: The research project is part of a large research project, Rural Studies Systems in Thai Universities, under the auspices of the Ministry of State Universities. It is a synthesis of all 6 regional universities’ research projects under the same theme. The six university research teams carried out their research activities in respectie regions’ namely, central (Kasrtsart and Silpakorn), North (Chiengmai), South (Prince of Songkhla), Northeast (KhonKaen). Easr (Burapa) and Bangkok Metropolitan (Chulalongkorn and Thammasat). The project has three objectives (1) to collect forms and models of learning and teaching about rural systems mainly through 6 regional research projects (2) to synthesize and analyze the contents and process of rural studies in relation to the changing context of rural livelihoods and participation (3) to propose ways and means to overcome the sustainable development strategy of society. The methodologies in clued documentary research, participatory action research and informal interviews including policy dialogues. The findings are existing rural studies in Thai universities typified through the 6 research case-studies are very much dependent on the teacher and teaching media, classroom rather than field-and experience-based. There are cases of inviting guests including innovative community leaders who work in rural issues as special lectures. There appears to be wide gaps between the world of rural studies in universities and that of the rural learning of the rural communities and farmers. Notable are efforts to broaden the base of learning by creating networks with local NGOs and well know village intellectionals and model farmers, although most are not institutualized forms. The existing rural studies systems are conditioned by conventional modernization and industrialization-based view of rural and agricultural sector, mechanical division of labor between teaching and research in the university systems, bureaucratic and structural obstacles that prevent resources to among urban and regional universities. There conditions are largely responsible for the existing rural studies, most of the consequences are, however, unitended, meaning that they are results of system of unplanned action. To overcome the constraints, focus on a conscious paradigm shift from industrialism-based to sustainability-principled development in needed, this will mean policy shifts and more linkage perspective of university learning. With research with real-life issues of community, their livelihoods and participation, coloration among parties of such praxis in terms of rural learning would benefit both the university and the communities studies under sustainability development paradigm, open-up cross-university registration and accreditation, and mobility of teachers (domestic visiting professorships), support for field immersion and participary learning, setting-up of outreach station, and the creation of center of excellence in rural and community studies in Thailand for Southeast Asian region.
Description: เสนอต่อ โครงการวิจัยแบบแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับชนบทไทย ทบวงมหาวิทยาลัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13008
Type: Technical Report
Appears in Collections:Pol - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surichai_rural.pdf11.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.