Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13509
Title: | วิเคราะห์เดี่ยวระนาดทุ้มเพลงทะยอยเดี่ยว : กรณีศึกษาทางอาจารย์สืบศักดิ์ ดุริยประณีต |
Other Titles: | A Musical analysis of Tayoy Deaw Solo for Ranad Thum by Subsak Duriyapaneet |
Authors: | ภูริภัสสร์ มังกร |
Advisors: | บุษกร สำโรงทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Bussakorn.S@Chula.ac.th |
Subjects: | สืบศักดิ์ ดุริยประณีต, 2497- ดนตรีไทย เพลงไทยเดิม ระนาดทุ้ม เพลงทะยอยเดี่ยว |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | อาจารย์สืบศักดิ์ ดุริยประณีต เป็นทายาททางดนตรีไทยคนหนึ่งของบ้านสายตระกูล“ดุริยประณีต” ซึ่งเป็นสำนักดนตรีไทยที่มีความสำคัญอันมีประวัติการสืบทอดที่ยาวนาน รวมไปถึงยังเป็นแหล่งรวมสรรพวิทยา และองค์ความรู้ทางด้านดนตรีไทยจากบรมครูคีตกวีทางด้านดนตรีไทยอีกมากมาย และจากที่ได้รับการอบรมสั่งสอนและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านดนตรีไทย ประกอบกับความรู้ความสามารถที่ผ่านประสบการณ์ทางด้านดนตรีไทยมาเป็นเวลานาน จึงทำให้อาจารย์ สืบศักดิ์ ดุริยประณีต เป็นครูดนตรีไทยที่นับได้ว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อวงการดนตรีไทยในปัจจุบันอีกท่านหนึ่ง ที่ยังคงองค์ความรู้ในเรื่องของดนตรีไทยจากโบราณจารย์ที่ได้ถ่ายทอดไว้ และยังได้สร้างสรรค์ผลงานทางด้านดนตรีไทยไว้มากมายโดยเฉพาะทางเดี่ยวระนาดทุ้มเพลงทยอยเดี่ยว จากการศึกษาวิเคราะห์ เดี่ยวระนาดทุ้มเพลงทยอยเดี่ยว กรณีศึกษาทางอาจารย์สืบศักดิ์ ดุริยประณีต สรุปผลการวิจัยได้ว่า เพลงทยอยเดี่ยว เป็นเพลงเดี่ยวขั้นสูงที่มีการพัฒนามาจากการเดี่ยวปี่ในเพลงทยอยเดี่ยว ของพระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) มาสู่เครื่องดนตรีไทยชิ้นอื่นโดยเฉพาะเครื่องตีอย่างเป็นลำดับขั้น จนมาถึงในทางเดี่ยวระนาดทุ้มเพลงทยอยเดี่ยว ทางของอาจารย์สืบศักดิ์ ดุริยประณีต ที่มีลักษณะและกลวิธีในการบรรเลงที่คลี่คลายและอิงจากพื้นฐานของกระสวนทำนองในทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงทยอยเดี่ยว ทางครูสอน วงฆ้อง เป็นสำคัญ โดยมีอัตลักษณ์ที่ยึดแบบแผนมาแต่โบราณในการปรากฏทำนองใน 2 ช่วง คือทางโอด สามชั้น และทางพัน สองชั้น และปรากฏการซ้ำประโยคทำนอง โดยได้สอดแทรกเม็ดพรายในการบรรเลงต่างๆ เพื่อให้เกิดความแตกต่างและหลากหลาย และมีการทอนประโยคทำนองให้สั้นลงอันเป็นลักษณะสำคัญของเพลงประเภทเพลงทยอย การเปลี่ยนเสียงอย่างเฉียบพลัน การทอนประโยคทำนองอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงยังมีการปรุงแต่งทำนองในลักษณะพิเศษต่างๆ โดยมีนัยยะสำคัญเพื่อให้เกิดความวิจิตร และอรรถรสของท่วงทำนองเพิ่มมากขึ้น จนมีความเหมาะสมที่จะเป็นเพลงเดี่ยวในระดับขั้นสูงได้ |
Other Abstract: | Master Subsak Duriyapaneet is an heir of Thai classical music of Duriyapaneet Family which has a long history of keeping the knowledge of music. The Duriyapaneet Family has been following the task to preserve and continue the mission from the senior teachers in his family from the past till now with their old experiences of Thai classical music. Many factors made Master Subsak Duriyapaneet become one of the most important persons who receives the knowledge from his family by teaching and creating the new piece of song especially Tayoy-deaw for Ranad-Thum Solo. From this analytical study, Tayoy-deaw for Ranad-Thum Solo in case of the variation of Master Subsak Duriyapaneet, it is found that Tayoy-deaw is the master piece of solo works for musical instrument. From the beginning it started with Oboe solo of Phrapadidpailor (Mee Duriyangkoon) and developed to others instrument especially Melodic percussion musical instruments. Ranard-Tum Solo Tayoy-deaw of Master Subsak Duriyapaneet used the methods and techniques based on melodies from Kong wong yai solo Tayoy-deaw by senior teacher Kru Sorn Wongkong. The musical form using two method of composing are Tang-odd samchan and Tang-pan songchan combined with repeating some melodies by using techniques of playing to change the music scale that maked it different and varied. In this song, the composer put some special methods into some part of melodies to make them melodious and beautiful. Therefore, Tayoy-deaw for Ranad-Thum Solo is suitable for the master piece of Thai musical song to use for instrumental solo to present the potential of Thai musicians. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ดุริยางค์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13509 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1728 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1728 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phooripas_mu.pdf | 2.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.