Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15305
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิชชุตา วุธาทิตย์-
dc.contributor.authorวรรณิกา นาโสก-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialศรีสะเกษ-
dc.date.accessioned2011-06-20T09:10:38Z-
dc.date.available2011-06-20T09:10:38Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15305-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญ ความเป็นมาและพัฒนาการฟ้อนกลองตุ้ม การศึกษาองค์ประกอบและวิเคราะห์เอกลักษณ์ฟ้อนกลองตุ้มบ้านหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยศึกษาจากเอกสารการสัมภาษณ์บุคคลที่ส่วนเกี่ยวข้องในด้านต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ ผลการศึกษาพบว่า ฟ้อนกลองตุ้มเป็นฟ้อนที่เกิดขึ้นในประเพณีบุญบั้งไฟของชาวอีสาน ซึ่งมีจุดประสงค์ในการฟ้อนเพื่อเป็นการบูชาพญาแถน ที่เชื่อว่าเป็นผู้ที่บันดาลฝนให้ตกเพื่อการทำเกษตรกรรม เช่นเดียวกับฟ้อนกลองตุ้มบ้านหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ ปีพ.ศ.2350-2550 ซึ่งพบพัฒนาการฟ้อนกลองตุ้มในด้านองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ 1.ท่าฟ้อน มีท่าฟ้อนอยู่ 2 ยุค คือ ยุคที่ 1 ประมาณปีพ.ศ.2350-2440 ซึ่งเป็นทาฟ้อนที่ไม่มีแบบแผน ยุคที่ 2 ตั้งแต่ปีพ.ศ.2440-2550 มีท่าฟ้อนทั้งหมด 3 ท่า คือ ท่าที่ 1 ท่าอัญเชิญ ท่าที่ 2 ท่าคำมั่นสัญญา ท่าที่ 3 ท่าเกี้ยว 2.ผู้ฟ้อน มีการเปลี่ยนแปลง 3 ช่วง คือช่วงที่ 1 อดีตกาล ใช้ผู้ชายทั้งหมด ช่วงที่ 2 ประมาณปีพ.ศ.2440-2520 ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในการฟ้อนกลองตุ้มกับผู้ชาย ช่วงที่ 3 ประมาณปีพ.ศ.2520-2550 ใช้ผู้หญิงฟ้อน 3.เครื่องแต่งกาย แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ แบบที่ 1 ผู้ฟ้อนเป็นผู้ชายมีการแต่งกายแบบโบราณ แบบที่ 2 ผู้ฟ้อนใช้ผ้าขิดพันรอบอก แบบที่ 3 สวมเสื้อสีขาว ในแต่ละแบบจะประกอบด้วยเครื่องแต่งกายดังนี้ ผ้าขิดใช้ 4 ผืน ได้แก่ ผืนที่ 1พันศีรษะ ห้อยชายผ้าลงด้านซ้ายมีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ผืนที่ 2 ใช้เป็นสไบพาดจากไหล่ซ้ายเบี่ยงมาไขว้กันบริเวณสะโพกด้านขวา ผืนที่ 3 ใช้เป็นสไบพาดจากไหล่ขวาเบี่ยงมาไขว้กันบริเวณสะโพกด้านซ้าย ผืนที่ 4 มัดทับผ้าผืนที่ 2,3 บริเวณเอวแล้วผูกเป็นโบว์ ห้อยชายผ้าลงประมาณ 15 เซนติเมตร นุ่งผ้าโสร่ง ใส่ตุ้มเป 2 เส้น สวมซวยมือ 10 นิ้วและคล้องแขน-คล้องขา 4.เครื่องดนตรีมี 2 คือกลองตุ้มและพังฮาดen
dc.description.abstractalternativeThis thesis aimed to study and analyze importance, history, development, constituents, and identity of Fon Klongtum in Ban Nong Kaew, Kantararom District, Srisaket Province. The study was conducted by researching related documents and interviewing related people in various aspects according to the objectives.The results revealed that Fon Klongtum was born in the Rocket Festival of Isaan people. Similarly, the purpose of the dance and the festival is to pay respect to Phaya Thaen who is believed to predestine rain for agriculture. The history of the dance started from 1807 A.D. until 2007 A.D. The development of the constituents of Fon Klongtum is as follows: 1. The dancing postures can be divided into two periods. The first period is from 1807 A.D. to 1897 A.D., the dancing postures are not in pattern. The second period is from 1897 A.D. to 2007 A.D., there are 3 dancing postures altogether; the first is invitation, the second is word of honor, and the third is wooing. 2. The performers were changed 3 times. The first period in the past, only men danced. The second period from 1897 A.D. to 1977 A.D. women participated in Fon Klongtum with men. The third period from 1977 A.D. to 2007 A.D. only women danced. 3. The costumes can be divided into 3 types; first the old style costumes in case the performers are men, second Khid or patterned silk tying around chest, and third white shirts. In each type, 4 pieces of Khid are used. The first piece is used to tie around head by hanging the rim on the left side around 15 centimeters in length. The second piece is used as a shawl brought over the left shoulder and crossed at the right hip. The third piece is used as a shawl brought over the right shoulder and crossed at the left hip. The fourth piece is used to tie over the second and the third ones and is tied in a bow shape by hanging the rim around 15 centimeters in length. Moreover, there are sarongs, 2 Tum-pe, Suay-Mue on 10 fingers, and arm and leg loops. 4. There are 2 musical instruments; Klongtum and Panghad.en
dc.format.extent58784778 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2042-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectฟ้อนกลองตุ้มen
dc.titleพัฒนาการฟ้อนกลองตุ้ม อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษen
dc.title.alternativeDelvelopment of Fon Klongtum Kantararom District Srisaket Provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทยes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorVijjuta@yahoo.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.2042-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wannika_na.pdf57.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.