Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15766
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นครทิพย์ พร้อมพูล | - |
dc.contributor.author | วิภาพร กุศลชูกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2011-08-23T11:52:22Z | - |
dc.date.available | 2011-08-23T11:52:22Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15766 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | เอกสารกรณีทดสอบและผลของการทดสอบถือเป็นเอกสารสำคัญสำหรับการทดสอบซอฟต์แวร์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพครอบคลุมทั้งข้อกำหนดความต้องการของลูกค้า และข้อกำหนดขั้นตอนการทดสอบตามฟังก์ชันการใช้งาน นักทดสอบระบบจำเป็นต้องใช้เวลา และความพยายามอย่างมากเพื่อสร้างเอกสารกรณีทดสอบให้ครอบคลุมตามเกณฑ์ในการสร้าง ซึ่งจะมีประโยชน์สำหรับนักทดสอบระบบ หากสามารถนำกรณีทดสอบที่มีในโครงงานเดิมที่มีอยู่เพื่อนำกลับมาใช้ในโครงการที่เกิดขึ้นใหม่ได้ วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการจัดเก็บและค้นคืนกรณีทดสอบ และผลของการทดสอบโดยอาศัยโครงสร้างของเอกสาร และเพิ่มวิธีการค้นคืนโดยใช้ผลป้อนกลับที่ตรงประเด็นจากผู้ใช้ของกรณีทดสอบ และผลของการทดสอบด้วยการเปลี่ยนแปลงเทอมในคิวรี และการเปลี่ยนแปลงค่าน้ำหนักของเทอมในคิวรี ด้วยวิธีการค้นคืนโดยใช้ผลป้อนกลับที่ตรงประเด็นจากผู้ใช้แบบเวคเตอร์สเปซ ซึ่งในการค้นคืนโดยใช้ผลป้อนกลับที่ตรงประเด็นจากผู้ใช้ จะอาศัยส่วนต่อประสานกับผู้ใช้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกเอกสารที่ค้นคืนได้ และสามารถเลือกคำบนฮิสโทแกรมของคำที่ค้นคืนได้ พร้อมทั้งสามารถกำหนดน้ำหนักให้กับคำในแต่ละส่วนประกอบได้ ในงานวิทยานิพนธ์ใช้ค่าเรียกคืนและค่าความแม่นยำในการวัดประสิทธิผล ของระบบค้นคืนกรณีทดสอบและผลของการทดสอบของ 3 กรณี ดังนี้ 1) การค้นคืนโดยไม่ให้ผลป้อนกลับ 2) การค้นคืนที่ให้ผลป้อนกลับโดยการสร้างข้อคำถามใหม่ด้วยการพิจารณาข้อคำถามเดิมและ 3) การค้นคืนที่ให้ผลป้อนกลับโดยการสร้างข้อคำถามใหม่ด้วยการไม่พิจารณาข้อคำถามเดิม จากผลการทดลองที่ได้ให้ค่าความแม่นยำแตกต่างกันดังนี้ ในการค้นคืนกรณีทดสอบด้วยกรณีที่ (2) เทียบกับ (1) และ (3) เทียบกับ (1) และ (3) เทียบกับ (2) ให้ผลค่าความแม่นยำเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.51, 2.57 และ 2.97 ตามลำดับ และในการค้นคืนผลของการทดสอบด้วยกรณีที่ (2) เทียบกับ (1) ให้ค่าความแม่นยำเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.91 และให้ค่าความแม่นยำลดลงด้วยกรณีที่ (3) กับ (1) และ (3) เทียบกับ (2) ร้อยละ 33.30 และ 37.47 ตามลำดับ | en |
dc.description.abstractalternative | Test cases and test results are major documents for software testing in order to produce quality software that complies with user requirements and software functional testing specification. Usually a tester has to spend a lot of time and effort to create test cases according to test case generation criteria. It will be beneficial for the tester team if the previous test cases generated and kept in a collection could be used for a new project that is similar to ones in the collection. This thesis proposes a technique to store and retrieve test cases and test results for reusing purpose. The proposed technique is based on a vector space model with the use of document structure, and user relevance feedback. In addition, a user interface is provided so that a user can easily select a document from the search result, and for the purpose of a new query generation select and adjust the weight of any search terms which are presented in a wordbar, ranked by the weight of each term and its frequency of occurrences in a collection. This thesis use recall and precision to measure the retrieval efficiency of test cases and test results in 3 cases; 1) The retrieval of the test cases and test results without using relevance feedback, 2) The retrieval of the test cases and test results with using relevance feedback and selecting the search terms from word bar, 3) The retrieval of the test cases and test results with using relevance feedback without selecting the search terms from word bar. To compare the retrieval of the test cases between case 2 and 1, the precision is increased 2.51%. In case 3 and 1, the precision is increased 2.57%. In case 3 and 2, the precision is increased 2.97%. To compare the retrieval of the test results between case 2 and 1, the precision is increased 7.91%. In case 3 and 1, the precision is increased 33.30%. In case 3 and 2, the precision is increased 37.47%. | en |
dc.format.extent | 2452368 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1217 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ซอฟต์แวร์ -- การพัฒนา | en |
dc.subject | ซอฟต์แวร์ -- การทดสอบ | en |
dc.title | การจัดเก็บและค้นคืนกรณีทดสอบและผลของการทดสอบโดยใช้ผลป้อนกลับที่ตรงประเด็นจากผู้ใช้ | en |
dc.title.alternative | Test cases and test results storage and retrieval using user relevance feedback | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Nakornthip.p@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.1217 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wipaporn_Ku.pdf | 2.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.