Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15973
Title: การควบคุมการแสดงออกของยีนตัวขนส่งโดพามีนโดยกลไกระดับเหนือพันธุกรรมและพันธุกรรม
Other Titles: Regulation of the dopamine transporter expression by genetic and epigenetic mechanisms
Authors: รชตวรรธ บุญมาเลิศ
Advisors: เทวิน เทนคำเนาว์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์
Advisor's Email: tewin.t@chula.ac.th
Subjects: พันธุกรรม
การแสดงออกของยีน
พันธุศาสตร์
โดปามีน
ความซึมเศร้า
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โดพามีน (DA) เป็นสารสื่อประสาทมีบทบาทสำคัญในการสร้างความสุข แรงบันดาลใจและความทรงจำ การส่งสัญญาณประสาทโดพามีนจะสิน้ สุดโดยการดูดหรือดูดกลับเข้าเซลล์โดยรอบ ของไซแนปส์โดยผ่านตัวขนส่งโดพามีน (hDAT) โรคซึมเศร้า (MDD) เป็นโรคทางจิตเวชที่เป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขโลกที่ทวีความรุนแรงขึน้ เรื่อยๆในแต่ละปี การลดลงของ DA ใน ไซแนปส์ก่อให้เกิดภาวะอารมณ์ไม่ดีและไม่มีความสุขซึ่งเป็นอาการหลักของโรคซึมเศร้า การศึกษานี้ แบ่งออกเป็นสามส่วนหลักคือส่วนแรกเกี่ยวกับการทดสอบหา DNA methylation บริเวณ CpG dinucleotide ที่ตำแหน่ง -942 ของยีน hDAT ด้วยวิธี Methylation-sensitive isoschizomers โดย เปรียบเทียบการมี DNA methylation และการแสดงออกของยีน hDAT ในเซลล์เพาะเลีย้ งเจ็ดชนิด ส่วนที่สองคือการศึกษาความสัมพันธ์ของความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ตำแหน่ง rs2652511 และ 63bp-VNTR ในบริเวณ Promoter และ Intron 3 ของยีน hDAT ในกลุ่มผู้ป่ วยโรคซึมเศร้าใน ประชากรไทยโดยประกอบด้วยผู้ป่วย 173 ราย (44.5+12.99 ปี ) และกลุ่มควบคุม 187 ราย (42.1+9.89 ปี) และส่วนที่สามเป็นการศึกษาหน้าที่ของ hDAT promoter (-962/+41) กับยาDexamethasone ในเซลล์เพาะเลีย้ ง (SH-SY5Y, HeLa และ HaCaT) โดยใช้เทคนิค Reporter gene assay และ RT-PCR คณะผู้วิจัย ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการเกิด DNA methylation และการแสดงออกของยีน hDAT ในเซลล์เพาะเลีย้ งต่างๆ เนื่องจากไม่มีการเกิด DNA methylation ที่CpG บริเวณ -942 ส่วนผลการศึกษาความสัมพันธ์นัน้ ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน hDAT กับโรคซึมเศร้าทัง้ ในรูปแบบความถี่อัลลีล การกระจายตัวจีโนไทป์ และ Haplotype สำหรับการทดสอบหน้าที่ของ hDAT promoter นัน้ พบว่า Dexamethasone สามารถเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของ Reporter gene อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีการเพิ่มขึน้ ของการแสดงออกเมื่อให้ 10-4 M Dexamethasone ในเซลล์ SH-SY5Y (p <0.01) และ HaCaT (p < 0.01) ส่วนที่ความเข้มข้น 10-8 M นัน้ กดการแสดงออกของ Reporter gene ในเซลล์ SH-SY5Y อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
Other Abstract: Dopamine (DA), a neurotransmitter, plays a key role in pleasure creation, reinforcement, rewarding, attention and cognition. DA neurotransmission is ended by reuptake or uptake to surrounding cells via human dopamine transporter (hDAT). Major depressive disorder (MDD) leads to an increase in a global public health problem nowadays. Shortage of DA in dopaminergic synaptic cleft results in low mood and anhedonia in MDD patients. hDAT is one of the factors regulating the DA elimination from the synaptic cleft. This study was divided into three parts: 1) study of pattern CpG DNA methylation for hDAT promoter at the position -942 in 7 human cell lines using the technique called methylation-sensitive isoschizomers, 2) case-control association study of two polymorphisms (rs2652511 and 63bp-VNTR of the hDAT promoter and intron 3, respectively) and MDD in Thai unrelated patients (44.5+12.99 years; n = 173) and healthy controls (42.1+9.89 years; n = 187), and 3) functional study of the hDAT promoter (-962/+41) and dexamethasone in cellular model (SH-SY5Y, HeLa and HaCaT) using reporter gene assay and RT-PCR. We found no DNA methylation at the position -942, suggesting no association between this CpG nucleotide and the expression of hDAT. For association study, no differences in allele frequencies, genotype distributions and haplotypes between case and control groups were observed. In the functional analysis, dexamethasone altered the hDAT promoter activity as this drug at concentration 10-4 M significantly increased the activity in HaCaT (p < 0.01) and SH-SY5Y (p < 0.01); but, at 10-8 M, it significantly suppressed the activity in SH-SY5Y (p < 0.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15973
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.88
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.88
Type: Thesis
Appears in Collections:All - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rajatawatra_bo.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.