Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1624
Title: โครงการการศึกษาตัวแบบการจัดการแหล่งน้ำแบบยั่งยืน กรณีศึกษาบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ : รายงานฉบับสมบูรณ์
Other Titles: การศึกษาตัวแบบการจัดการแหล่งน้ำแบบยั่งยืน กรณีศึกษาบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ : รายงานฉบับสมบูรณ์
ตัวแบบการจัดการแหล่งน้ำแบบยั่งยืน กรณีศึกษาบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ : รายงานฉบับสมบูรณ์
การจัดการแหล่งน้ำแบบยั่งยืน กรณีศึกษาบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ : รายงานฉบับสมบูรณ์
Authors: พักตร์วิมล เพียรล้ำเลิศ
กำธร ธีรคุปต์
อาจอง ประทัตสุนทรสาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: แหล่งน้ำ--ไทย--นครสวรรค์
บึงบอระเพ็ด
การอนุรักษ์ธรรมชาติ--ไทย--นครสวรรค์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาตัวแบบการจัดการแหล่งน้ำประเภทบึง หนอง กว๊านและทะเลสาบให้ยั่งยืน โดยใช้บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ท้องถิ่นได้ตระหนักถึงคุณค่าของแหล่งธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่ ในการศึกษาตัวแบบการจัดการแหล่งน้ำ ได้ใช้วิธีการประเมินบึงโดยพิจารณาจาก 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านคุณค่าบึง ด้านศักยภาพในการจัดการ และด้านความเสี่ยงที่บึงอาจได้รับ จากนั้นสร้างตัวชี้วัดของแต่ละด้าน โดยคุณค่าบึงมีทั้งสิ้น 21 ตัววัด ศักยภาพมี 5 ตัววัด และความเสี่ยงมี 5 ตัววัด ทั้งนี้ในแต่ละตัวชี้วัดจะแบ่งออกเป็น 5 ระดับ หน่วยงานในท้องถิ่นจะเป็นผู้ประเมิน ด้วยการให้คะแนนตามสภาพปัจจุบันของบึงในขณะที่ประเมิน จากคะแนนที่ได้ในแต่ละคตัวชี้วัด จะถูกนำมาจัดอันดับความสำคัญเพื่อหาน้ำหนัก แล้วจึงหาค่าความเหมาะสมทั้งนี้ค่าความเหมาะสมที่ได้จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ ค่าเหมาะสมต่ำ อยู่ระหว่าง 1.0-1.7 ค่าความเหมาะสมปานกลาง อยู่ระหว่าง 1.8-3.4 ค่าความเหมาะสมสูง อยู่ระหว่าง 3.5-5.0 ผลการศึกษาปรากฏว่าด้านคุณค่าของบึงบอระเพ็ดมีค่าความเหมาะสม 3.72 ส่วนด้านศักยภาพในการจัดการบึงมีค่าความเหมาะสม 3.04 และด้านความเสี่ยงของบึงมีค่าความเหมาะสม 2.84 สรุป จากการสร้างตัวชี้วัดเพื่อใช้ประเมินบึงบอระเพ็ด ทำให้ทราบได้ว่า บึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่มีคุณค่าสูงโดยเฉพาะด้านควสมหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพ ส่วนศักยภาพในการจัดการและความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง
Other Abstract: This study aimed primarily to create an assessment model for evaluation of natural freshwater lakes, ponds, and marshed in Thailand using Bung Boraped wetland as a case study. The model obtained from this study was expected to be useful for sustainable management and for encouraging local people and organizations to be aware of the importance of their natural wetland habitats. Three major components each with a number of variable weighed indicators were considered in order to create the model in this study. They are the ecological and socio-economic values (21 indicators), the potential to be sustainable managed (5 indicators), and the risks of deterioration (5 indicators). The overall weight of each component was considered to indicate low, medium, or high value if it fell between 1.0-1.7, 1.8-3.4 and 3.5-5.0 respectivelt. The results showed that Bung Boraped had a high ecological and socio-economic values, especially in its biological diversity, while the potential to be managed and risks of deteriorationin th emedium levels.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1624
Type: Technical Report
Appears in Collections:Env - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pukwimol(aim).pdf24.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.