Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16565
Title: ความเป็นพิษต่อไตจากการใช้ยาทีโนโฟเวียร์ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี
Other Titles: Tenofovir-associated nephrotoxicity in HIV-infected patients
Authors: เกศรินทร์ ชัยศิริ
Advisors: นารัต เกษตรทัต
จุรีรัตน์ บวรวัฒนนุวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Narat.K@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: เอชไอวี (ไวรัส)
สารต้านไวรัส
ทีโนโฟเวียร์
ความเป็นพิษต่อไต
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ : ศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดพิษต่อไตจากการใช้ tenofovir ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีชาวไทย วิธีวิจัย : วิจัยเชิงวิเคราะห์โดยศึกษาย้อนหลังและเก็บข้อมูลไปข้างหน้าจนสิ้นสุดระยะเวลาที่ศึกษา เก็บข้อมูลผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้ tenofovir ซึ่งมารับการรักษาที่ คลินิกไพจิตร โรงพยาบาลชลบุรี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2550 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2552 เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินพิษต่อไตพิจารณาจาก 1) การเพิ่มขึ้นของระดับ serum creatinine (Scr) มากกว่า 1.5 เท่าจากค่าพื้นฐานก่อนเริ่มใช้ยาของผู้ป่วย หรือ 2) การลดลงของ creatinine clearance (CrCl) มากกว่า 25% จากค่าพื้นฐานของผู้ป่วย (คำนวณจากสูตร Cockcroft-gault) หรือ 3) การลดลงของ glomerular filtration rate (GFR) มากกว่า 25% จากค่าพื้นฐาน (คำนวณจากสูตร Simplified modification of diet in renal disease; Simplified MDRD) ผลการศึกษา : มีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษารวม 405 ราย ผู้ป่วย 99.0% เคยใช้ยาต้านเอชไอวีอื่นก่อนเริ่มใช้ tenofovir ค่ามัธยฐานของน้ำหนักตัวและระยะเวลาการใช้ tenofovir เท่ากับ 56.5 (50.5-65.0) กิโลกรัม และ 16 (8-21) เดือน ตามลำดับ อุบัติการณ์ของการเกิดพิษต่อไตในผู้ป่วยที่ใช้ tenofovir เท่ากับ 16.2 ต่อ 100 ราย-ปี เมื่อประเมินการเกิดพิษต่อไตโดยใช้เกณฑ์การลดลงของ GFR ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดพิษต่อไต ได้แก่ ค่าการทำงานของไตพื้นฐาน (P<0.001) และการใช้ยาอื่นที่มีพิษต่อไตร่วมด้วย เมื่อประเมินโดยใช้ค่า Scr, CrCl และ GFR (P=0.002,0.002 และ 0.004) พบการมีน้ำหนักตัวเริ่มต้นที่น้อยมีความสัมพันธ์กับการเกิดพิษต่อไต เมื่อประเมินโดยใช้ค่า CrCl และ GFR (P=0.001 และ 0.032) พบการใช้ยาในกลุ่ม protease inhibitor ร่วมด้วยมีความสัมพันธ์กับการเกิดพิษต่อไตเมื่อประเมินจาก GFR (P=0.016) และพบระยะเวลาการใช้ยาต้านเอชไอวีอื่นก่อนเริ่มใช้ tenofovir มีความสัมพันธ์กับการเกิดพิษต่อไตเมื่อประเมินจาก Scr (P=0.015) การศึกษานี้พบอุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไตในผู้ติดเชื้อเอชไอวีชาวไทยสูง ดังนั้นควรมีการติดตามเฝ้าระวังการทำงานของไตในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้ tenofovir อย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วง 24 เดือนแรกของการใช้ยา เพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยาสูงสุด
Other Abstract: Objectives : To study the incidence and factors of tenofovir-associated nephrotoxicity among Thai HIV-infected patients. Methods : Retrospective and prospective cohort study was conducted among HIV-infected adults patients using tenofovir at Paijit Clinic, Chonburi Hospital during January 2007 to December 2009. Nephrotoxicity was defined by serum creatinine (Scr) was greater than 1.5 times or 25% decreased in creatinine clerance (CrCl) or glomerular filtration rate (GFR) from baseline. Results : A total of 405 patients were participated in the study. Most of them (99.0%) experienced antiretroviral treatments. Median (IQR) body weight and duration of tenofovir used were 56.5 (50.5-65.0) kg and 16 (8-21) months. The incidence of nephrotoxicity was 16.2 per 100 person-years determined by using GFR. Concurrent used of other nephrotoxic drugs (P<0.001) as well as baseline renal function were the two factors associated with nephrotoxicity, detected by Scr, CrCl and GFR (P=0.002, 0.002 and 0.004). Lower body weight was associated with nephrotoxicity, detected by CrCl and GFR (P=0.001 and 0.032). Concurrent used of protease inhibitors was associated with nephrotoxicity, detected by GFR (P=0.016). Meanwhile, when using Scr, nephrotoxicity was significantly associated with duration of other antiretroviral therapy prior to the intitiation of tenofovir (P=0.015). Our study revealed higher incidence of tenofovir-associated nephrotoxicity among Thai HIV-infected patients. Therefore, close and regular monitoring of renal function are essential in patients with tenofovir especially in the first 24 months of initiation treatment.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16565
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.996
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.996
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kessarin_Ch.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.