Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1767
Title: ทัศนคติของผู้รับสารและผลกระทบที่เกิดจากสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ข้ามพรมแดนไทย-ลาว : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Audiences' attitudes towards and the impacts of radio and television signals spilling over Thai-Laos borders
Authors: วิภา อุตมฉันท์
Email: Vipha.U@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการสื่อสารมวลชน
Subjects: สื่อมวลชน--การศึกษาข้ามวัฒนธรรม
สื่อมวลกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ไทย--ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ--ลาว
ลาว--ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ--ไทย
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไทยมีประเทศเพื่อนบ้านล้อมรอบอยู่ทั้งสี่ด้าน ทิศเหนือและทิศตะวันออกมีพรมแดนติดต่อกับลาวระยะทาง 1750 กิโลเมตร รายการวิทยุและโทรทัศน์ฝั่งหนึ่งจึงข้ามพรมแดนไปสู่อีกฝั่งหนึ่งตลอดเวลา การวิจัยมุ่งศึกษาทัศนคติและผลกระทบของสื่อกระจายเสียงข้ามวัฒนธรรมที่มีต่อประเทศผู้รับที่อยู่ตรงข้าม ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก และวิธีเชิงปริมาณเป็นส่วนเสริม วิเคราะห์และสังเคราะห์ผลด้วยศาสตร์สหวิทยาการ บูรณาการเป็นแนวทางการนำเสนอ 3 แนวคือ เนื้อหาครอบคลุมกว้างขวาง ใช้ทฤษฎีหลากหลายมิติ และยึดปทัสถานของสื่อมวลชนเป็นเกณฑ์ ผลการวิจัยพบว่า ฐานะทางเศรษฐกิจที่เหนือกว่าทำให้สื่อกระจายเสียงไทยได้เปรียบลาวในด้านจำนวนคลื่นวิทยุที่ข้ามไปจากไทย จำนวนชั่วโมงออกอากาศที่ต่อเนื่องและยาวนานกว่า เทคโนโลยีที่ทันสมัย และทุนการดำเนินงานที่สูงกว่ามาก ความแตกต่างในระบบการเมืองยังทำให้หน้าที่ของสื่อทั้งสองระบบแตกต่างกัน ส่งผลให้รายการของไทยมีลักษณะตามใจตลาด สามารถสร้างแรงดึงดูดผู้ชมได้มากกว่าสื่อของลาวซึ่งถูกกำหนดให้ทำหน้าที่ทางการเมือง การวิจัยด้านแบบสอบถามพบว่า ประชาชนชาวไทยในจังหวัดชายแดนซึ่งอยู่ในรัศมีที่รับคลื่นวิทยุจากลาวใต้ ร้อยละ 80.3เคยรับสื่อจากลาว แต่เป็นการรับโดย 'บังเอิญ' ในจำนวนนี้มีร้อยละ 4.25 เท่านั้นที่ระบุว่าตั้งใจเปิดรับ เช่น ฝ่ายความมั่นคงเฝ้าฟังข่าวในภาวะที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติ สื่อมวลชนไทยเปิดรับเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของสื่อในลาว ส่วนประชาชนดูหรือฟังเป็นบางครั้งเมื่อเห็นรายการบางอย่างแปลกไปจากรายการของไทย หรือดูถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาเพราะไม่มีโฆษณารบกวน อย่างไรก็ตามพฤติกรรมการเปิดรับสื่อจากลาวของคนไทยยังไม่อาจจัดว่าเป็น "ผู้รับสาร" ที่แท้จริงตามความหมายที่ยอมรับกันทั่วไป ทางด้านสื่อจากไทย ด้วยอุปกรณ์จานรับดาวเทียมของประชาชนประมาณ 30000 เครื่องทั่วประเทศ ปัจจุบันรายการวิทยุและโทรทัศน์ของไทยสามารถเจาะลึกไปถึงชายแดนลาวด้านที่ติดกับจีนและเวียดนาม เข้าถึงประชาชนลาวประมาณร้อยละ 70-75 แต่ที่สำคัญก็คือร้อยละ ร้อย (100%) ของคนลาวที่มีเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์คือผู้รับสื่อไทยที่แท้จริง สื่อกระจายเสียงของไทยจึงเข้าไปครอบงำลาว ทำให้ลาวอยู่ในสภาพที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก พยายามหามาตรการมาปกป้องแต่ก็ไม่บังเกิดผลในทางปฏิบัติ งานวิจัยได้ชี้ให้เห็นผลกระทบของสื่อกระจายเสียงไทยต่อเศรษฐกิจ การเมือง จิตวิทยา ภาษา วัฒนธรรม รวมถึงผลต่อระบบกระจายเสียงของลาวเอง วิเคราะห์ทัศนคติของผู้รับสารที่มีต่อรายการวิทยุและโทรทัศน์ของไทย ซึ่งเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนตามภูมิหลังส่วนตัวและสถานภาพทางสังคมของแต่ละกลุ่มคน งานวิจัยมีข้อค้นพบว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน สื่อเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง สื่อกระจายเสียงของไทยไม่ได้ก่อผลกระทบต่อลาวมากมายอย่างที่คิด เพราะโครงสร้างการเมืองแบบสังคมนิยมและเศรษฐกิจที่ยังยากจนของลาวคอยทำหน้าที่ปกห้องคุ้มกันความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากสื่อไทย แต่ในอนาคตมีแนวโน้มว่าการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบาย โดยเฉพาะการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจของผู้นำลาวจะช่วยเสริมพลังให้แก่สื่อไทยในการรุกรานวัฒนธรรมลาวและทำให้วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของลาวเบี่ยงเบนไป งานวิจัยได้เสนอทางออกให้แก่ความสัมพันธ์ทางสื่อระหว่างไทยและลาวด้วยหลักธรรมแห่งพุทธศาสนาซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาแบบเอเชีย
Other Abstract: Physically, Thailand is surrounded by its neighboring countries. Its 1750 km northern and eastern borders are shared by Laos, with radio and television signals spilling over each other continually. This research investigates audiences' attitudes towards and the impacts of cross-culture broadcast media on the receiving country. Qualitative methods are emphasized in the data collection, supplemented by quantitative survey research. Findings are obtained by the use of varied interdisciplinary conceptual frameworks in the analysis and sythesis. Three approaches are integrated in the report: a comprehensive approach a contending theories approach, and a normative approach. The study finds that the economic superiority of Thailand over Laos has caused an imbalance in terms of numbers of broadcasting programs, broadcasting time, broadcasting technology, and production resources between the two nations with Thailand ahead on all counts. Moreover, differenced in political systems lead to differences in media functions and program genres. While the Thai media relies on the market and produces mass-appeal programs to attract a vast audience, the broadcast media of Laos have a political function to perform. The survey shows that of the Thai people along the border resident within the radio transmission from Laos, 80.3% are exposed to Laos broadcast media "by accident" . Only 4.25 % purposely turn on these Lao programs. These people are generally security officials monitoring news from Lao on unusal circumstances; sometimes media people looking to see changes in Lao programs. Occasionally, people watch unfamiliar programs found on Lao television or sports telecasts live on Lao television on order not to be interrupted by ads etc. However, viewing behaviour of the Thais described above cannot be classified as a regular "audience" in the meaning generally accepted. On the contrary, today with approximately 30000 satellite dishes throughout Laos, broadcast signals from Thailand can reach as far as the Lao-China and Lao-Vietnam borders, with about 70-75% of the Lao people having access to these programs. More noticeable is the fact that 100% of the people in Laos who own receiving sets are part of the true audience of Thai media. This results in the dominance of the Thai broadcast media over Laos. The Lao government has been rendered helpless and is attempting to cope with the problem by putting into force various defensive measures, but they are practically in vain. Effects of the Thai broadcast media on Laos as identified in this research include: economic effects, political effects, psychological effects, linguistic effects, cultural effects, and effect on the media system in Laos. Differing attitudes of Lao audience towards Thai broadcast programs can be observed when personal background and social status of the audience are given importance. The research comes up with the findings that social changes are complicated processed - media is only one of the factors in the changes. The effects of Thai media on Laos, though obviously dominating, are not so serious as might be expected. It is found that other factors i.e. political structure as a socialist country and national low economic standards have been the internal forces that played the eminent roles in protecting this country from being seriously influenced by media from Thailand. But in the future, there is a tendency that changes in the government policy, especially further expansion of free-market economy, is likely to help promote the Thai media's role in the invasion of culture and the deviation from Laos' traditional ways of life. The research suggests that Buddhist doctrines as an "Asian Way" could solve the Thai-Laos media relationship.
Description: บทบาทสื่อมวลชนในความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างไทย-ลาว -- สภาพวิทยุ-โทรทัศน์บริเวณชายแดนไทย-ลาว -- ลาวรับสื่อไทย ไทยรับสื่อลาว -- ผลกระทบทางเศรษฐกิจ : การพึ่งพาและการครอบงำ -- การรุกรานทางวัฒนธรรมและพลังปกป้อง -- จากทฤษฎี "พึ่งพา-ครอบงำ" สู่ทฤษฎี "พึ่งตนเอง-ช่วยเหลือ"
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1767
Type: Technical Report
Appears in Collections:Comm - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vipa_audiences.pdf15.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.