Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1770
Title: | การสำรวจสถานภาพแห่งองค์ความรู้เรื่อง "สตรีกับสื่อมวลชนในประเทศไทย พ.ศ. 2520-2535" : รายงานผลการวิจัย |
Other Titles: | สถานภาพแห่งองค์ความรู้เรื่อง "สตรีกับสื่อมวลชนในประเทศไทย พ.ศ. 2520-2535" : รายงานผลการวิจัย สตรีกับสื่อมวลชนในประเทศไทย พ.ศ. 2520-2535 : รายงานผลการวิจัย |
Authors: | กาญจนา แก้วเทพ วิลาสินี พิพิธกุล |
Email: | Kanjana.Ka@Chula.ac.th Wilasinee.P@Chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวารสารสนเทศ |
Subjects: | การวิเคราะห์เนื้อหา สื่อมวลชนกับสตรี--ไทย สตรี--ไทย |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสำรวจสถานภาพแห่งองค์ความรู้เรื่อง 'สตรีกีบสื่อมวลชนในประเทศไทย' ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520-2535 ว่าได้มีความก้าวหน้าถึงระดับใด วิธีการเก็บรวมรวมข้อมูลใช้ในการสำรวจจากเอกสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องสตรีและสื่อมวลชน การวิเคราะห์ตัวแปรเรื่องบทบาทในทุกมิติของสตรีที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนทั้งในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อมวลชน และทั้งในฐานะของผู้รับสารที่ใช้สื่อประเภทต่าง ๆ รวมทั้งการวิเคราะห์ภาพของาตรีที่สะท้อนอยู่ในสื่อ ผลการวิจัยพบว่า (1) ตลอดระยะเวลา 15 ปีนี้ มีงานศึกษาที่เกี่ยวข้องอยู่ 83 ชิ้น งานศึกษาสตรีในฐานะผู้รับสารมีมากกว่าผู้ส่งสารถึง 4 เท่า ในเรื่องตัวสือ งานศึกษาเรื่องการใช้สื่อนิตยสารของสตรีจะมีมากทีสุด และสื่อภาพยนตร์มีน้อยที่สุดเพียงเรื่องเดียว สำหรับเนื้อหาสาระนั้น งานศึกษาเรื่องสถานภาพและบทบาทของสตรีในสื่อมีมากที่สุด เรื่องการเมืองและการพัฒนามีในระดับปานกลางและเนื้อหาเรื่องสตรีกับเศรษฐกิจมีน้อยที่สุด (2) ถึงแม้ว่า ผลจากการสังเคราะห์ข้อมูลเรื่องสตรีในฐานะผู้ส่งสาร ได้พบว่าจำนวนของสตรีทั้งในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิชาชีพได้เพิ่มมากขึ้น แต่ทว่าโอกาสที่จะก้าวถึงตำแหน่งสูงสุดางวิชาชีพยังมีน้อยอยู่เมื่อเทียบกับชาย (3) ในเรื่องประเภทของสื่อ งานศึกษาเรื่องสือสิ่งพิมพ์จะมีมากกว่าสื่ออิเลคทรอนิกส์ ปัจจัยที่อธิบายก็คือ ความยากง่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูล การขาดวิธีการศึกษาวิจัยสื่ออิเลคทรอนิกส์ที่เป็นระบบ และจำนวนบุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนในการใช้วิธีการวิจัยบางสาขายังมีน้อยอยู่ (4) สำหรับการเข้ามาใช้สื่อของสตรีนั้น พบว่า ปัจจุบันสตรีไทยสามารถเข้าถึงและได้ใช้สื่อทุกประเภท หากทว่าการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพของตัวสื่อในอันที่จะตอบสนองความต้องการขงอสตรียังมีน้อยอยู่ (5) ในเรื่องเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับสตรีที่ปรากฏในสื่อ ปัจจัยที่อธิบายปริมาณมากน้อยของเนื้อหาแต่ละประเภท ได้แก่ การมีความสนใจที่ต่อเนื่องเฉพาะในประเด็นสตรีบางเรื่องที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การกำหนดบทบาทของผู้หญิงในสังคม อิทธิพลด้านแนวคิดของทฤษฎีด้านสื่อมวลชนกระแสหลักและปริบททางสังคมในแต่ละช่วงที่มีต่อเรื่องสตรี (6) สำหรับเรื่องพฤติกรรมผู้รับสารสตรี แม้จะมีปริมาณมากกว่าครึ่งหนึ่งของงานศึกษาทั้งหมด แต่ทว่าทิศทางการศึกษามีลักษณะเป็นแบบเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ คือ การศึกษาการเปิดรับสื่อประเภทต่าง ๆ และการศึกษาผลกระทบของสื่อ แนวทางการศึกษาที่ยังมีอยู่น้อยมาก คือ การศึกษาเรื่องการใช้และความพึงพอใจของผู้รับสารที่จะนำไปสู่ความเข้าใจอย่าางชัดเจน ในเรื่องความคิดเห็นและความต้องการของสตรีที่มีต่อสื่อมวลชน |
Other Abstract: | This research was aimed at investigating the progression of knowledge concerning women and the media in Thailand during 1977-1992. Data collection was undertaken through literature reviews of the topic for various content of women subjects in relation to the media. Focus was on an anlysis of interrelated variables attributable to a holistic view of women's role as media professionals and audienced of different media types, and as portrayed in the media. The synthesis of relevant research was also performed within the coneptual framework of the communication process theory. Results were concluded as the following: (1) Insofar there were approximately 83 research projects on women and the media conduced within 15 years. Research on women as media receivers four times outnumbered the study of them as media professionals. Emphasis was also placed on their media uses and gratification of magazines. Meanwhile, there was only one study concerning women and cinema. A content analysis of women's role and status appearing in the media was the most concern among those researchers. A study of the roles women play in politics and a national development was respectively done as an avergae. The least was research on women and economics. (2) Although the findings showed an increasing number of women involved in media eduation and media professionals, the opportunity to achieve top position inn their career is still less likely as opposed to men. (3) Fewer studies of women regarding their clectronic media behaviour in comparison to the print media was due to difficulties in data collection, inadequacy of systematic methodology, and a lack of skillful researchers in the area. (4) It was also found that nowadays women were capable of accessing and consuming all types of media. Nevertheless, changes in the media itself were unlikely to be responsive to the need of those audiences. (5) Various factors appeared to engender research concerning a portrayal of women in different types of the media. They were: (1) the continuation of research interest in women issues; (2) role identity of women in the society; (3) the conceptual influence from the mainstream of media theories; and (4) 1 periodical specification of a social context. (6) One half of the overall research was concerned with women's media behaviour, but the majority shared the same direction which geared towards baseline data on media consumption and its effect. Only a few of them laid ground on media uses and gratification approaches to gain insightful understanding of women's opinion and their media needs. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1770 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Comm - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanjana_womenmedia.pdf | 24.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.