Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1776
Title: | การศึกษาวิวัฒนาการหุ่นกระบอกไทย : สื่อพื้นบ้านในภูมิภาคตะวันตก : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | วิวัฒนาการหุ่นกระบอกไทย : สื่อพื้นบ้านในภูมิภาคตะวันตก : รายงานการวิจัย หุ่นกระบอกไทย : สื่อพื้นบ้านในภูมิภาคตะวันตก : รายงานการวิจัย |
Authors: | ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร |
Email: | Sakda.P@Chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิทศศาสตรื |
Subjects: | หุ่นกระบอก หุ่นและการเล่นหุ่น--ไทย |
Issue Date: | 2535 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศิลปะการเชิดหุ่นเพื่อเล่นแสดงเป็นการมหรสพอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นมระดของชาติต่าง ๆ ที่เจริญยิ่งแล้วด้วยวัฒนธรรมในทั่วภูมิภาคของโลกมาช้านานนับปี จากหลักฐานที่ปรากฏชนชาติไทยมีการเล่นหุ่นเป็นเครื่องบันเทิงมาแต่สมัยที่พระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี หุ่นที่นิยมเล่นกันในยุคนั้น คือ หุ่นหลวง ซึ่งได้รับความนิยมควบคู่มากับสิ่งบันเทิงอื่น ๆ ที่สำคัญอันได้แก่ โขนและละคร ความนิยมเช่นว่านี้ สืบเนื่องเจริญพัฒนามาจนแม้กระทั่งสิ้นยุคอยุธยา เข้าสู่กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ครั้นเวลาล่วงมาถึงแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวงสมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ได้เกิดมีความนิยมหุ่นกระบอกขึ้นภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว หุ่นกระบอกซึ่งได้แผ่อิทธิพลมาจากทางเมืองเหนือของไทยก็ได้กลายเป็นเครื่องเล่นมหรสพอันเป็นทีรู้จักดีเพื่องฟูอยู่ทั้งในกรุงเทพมหานครและมณฑลหัวเมืองสำคัญทั่วไป ในเวลานั้นได้เกิดมีคณะหุ่นกระบอกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้กจักดีขึ้นมากมายหลายคณะ ยุคนี้คทอยุคทองของศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกโดยแท้ เช่นเดียวกันกับศิลปะการแสดงแขนงอื่น ๆ ในยุคนั้นที่เริ่มเกิดมีขึ้นภายใต้ความอุปถัมภ์ของเจ้านาย โดยเกิดขึ้นในวังของเจ้านายเป็นส่วนมาก ดังนั้นเจ้าของคณะหุ่นกระบอกในยุคแรกเริ่มจึงเป็นพระราชวงศ์หรือผู้มียศตำแหน่งอันสูงในทางราชการ แล้งจึงค่อยแผ่กระจายมาอยู่ภายในความดูแลของผู้คนในฐานะสามัญ ในที่สุดหุ่นกระบอกได้กลายเป็นเครื่องนันทนาการบันเทิงประกอบอยู่ทั้งในงานพระราชพิธี และงานมหรสพทั่วไป อย่างไรก็ตาม เมื่อมีความบันเทิงอย่างใหม่ ที่ได้เกิดขึ้นพร้อมกับความเจริญทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่หลั่งไหลสู่ประเทศไทยจากประเทศต่าง ๆ ทางตะวันตก ความนิยมหุ่นกระบอกที่เคยมีก็จืดจางลงดังเช่นเห็นในปัจจุบัน ส่วนวิวัฒนาการของหุ่นกระบอกในฐานะสื่อพื้นบ้านของไทยในภูมิภาคตะวันตกเท่าที่มีหลักฐานให้สืบเสาะศึกษาได้จะเห็นว่า เป็นอิทธิพลของคณะหุ่นกระบอกที่ได้เกิดขึ้นภายหลังที่หม่อมราชวงศ์เถาะ ได้นำศิลปะการแสดงชนิดนี้มาเผยแพร่ในกรุงเทพมหานคา ต่อจากนั้นก็เกิดมีเจ้านายหลายพระองค์รวมทั้งพระองค์เจ้าสุทัศน์นิภาธร ได้ทรงดำริสร้างคณะหุ่นกระบอกขึ้นเพื่อแสดงความบันเทิงภายในวัง และต่อมาก็นำออกรับงานแสดงทั่วไป คณะหุ่นกระบอกของพระองค์เจ้าสุทัศน์นิภาธรได้เข้ามาเล่นแสดงเป็นเครื่องมหรสพในจังหวัดต่าง ๆ หลายจังหวัดบริเวณภาคกลางของประเทศไทย รวมทั้ง ณ จังหวัดสมุทรสงคราม ด้วยความงดงามวิจิตรตระการของตัวหุ่นกระบอก และลีลาอ่อนหวานแช่มช้อยทางกระบวนการเชิด จึงก่อให้เกิดแรงประทับใจแลัวบันดาลใจให้ชาวบ้านคนหนึ่งในเขตท้องถิ่นแม่กลองนี้ คือ นายพลอย ช่วยสมบูรณ์และภรรยาชื่อสาหร่าย มีความปรารถนาใคร่จะมีคณะหุ่นกระบอกของตนเอง ประกอบกับขณะนั้นเป็นโอกาสอันดีของสามีภรรยา เนื่องจากแม่ครูเคลือบ นักเชิดหุ่นกระบอกฝีมือเอก ซึ่งเดิมสังกัดอยู่ในคณะหุ่นกระบอกของหม่อมรสชวงศ์เถาะ ได้มาพบกับคุณตาพลอยและคุณยายสาหร่าย ช่วงระยะเวลานี้อาจนับได้ว่าเป็นจุดแรกเริ่มของคณะหุ่นกระบอกต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันตก ต่อมาคุณยายสาหร่ายและแม่ครูเคลือบได้ถ่ายทอดวิชาการเชิดหุ่นกระบอกให้แก่ศิษย์อีกท่านหนึ่งคือ นายวงศ์ ร่วมสุข ผู้เป็นเจ้าของคณะหุ่นกระบอกชูเชิดชำนาญศิลป์ แห่งอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ปัจจุบันคณะหุ่นกระบอกแม่สาหร่ายคงไม่มีโอกาสได้นเล่มแสดงแก่มหาชนได้ชมอีกต่อไป จะเหลือก็แต่เพียงหุ่นกระบอกคณะชูเชิด ชำนาญศิลป์เท่านั้นที่ยังคงสามารถออกรับงานได้เพื่อความบันเทิงของสังคม |
Other Abstract: | The performing art of puppets as a midium of entertainment has been inherited by the nations which have been developed to a level of culture throughout the world for more than a thousand years. There is evidence that the Thai have enjoyed puppet performances since the Ayudhaya period. At that time the popular performing puppet was called "Hun luang" which means "puppet that belongs to the royal court". It was as popular as other kinds of entertainment in those days : Knon (mask play) and Lakhon (stage play). This type of puppet had developed steadily throughout the Ayudhaya, Thonburi, up to the Rattanakosin period. During the reign of King Chulalongkorn, Rama V of the Chakri dynasty, there was a newkind of puppet, the rod puppet, which was introduced and started to attract the interest of the people. Within a very short period of time, the rod puppet, originating from the northern part of, had become one of the most popular forms of entertainment in Thailand,both inside Bangkok, the capital, and other bigcities. As a result of its popularity, there were quite a number of well known puppet troups. This was the truly golden age of rod puppets. Like other kinds of arts and performing arts in Thailand at that time, rod puppets originated inside a court of royal patronage or a house of high ranking persons in the administration. Then, gradually, they become common property. Perfromances of Thai rod puppets had been given in both royal ceremonies and for folk entertainment for more than half a century.However, when the new kinds of entertainment which were born with modern technology flowed into Thailand from the West at the turn of this century, the popularity of Thai rod puppets both as entertainment and as a folk medium diminished. In consideration of the development of the Tai rod puppet within the Western region of Thailand, there is evident indication that all the rod puppet troups in this area have been inspired and influenced by the attraction of the rod puppet troups form Bangkok during the reign if KingChulalongkorn. SHortly after the first rod puppet troup was created by Khum Tor, a courtier if Prince Damrong, there was proliferation in the number of rod puppet troups in Bangkok, including the very well-known one which belonged to Prince Suthat. At the beginning, Prince Suthat created rod puppets in order to fulfil only his own satisfaction. However, after some time, the fame of the beauty and attractiveness of his puppets spread a far and wide. Eventually, it was organised along professional lines and yield the owner an income. Prince Suthat's rod puppet troup was not known only in Bangkok, but also in other cities, particularly the provinces in the middle region around the capital. At one time, they visited the city of Samusonkhram Province, where the beauty of rod puppets and the skillful performances of puppeteers become a strong inspiration for a young man called Ploy and his wife Sarai to creat their own rod puppet troup. Just by chance, at more or les the same time, they mey Mae Kru Kluab, the famous puppets who taught and translated her shill in rod puppet development in the Western region of Thailand. Sarai and her teacher Kluab had another very able student, called Wong. After some times, he started his rod puppet troup, the Ched Chu Chamnan Silp, which is based in Umpawa, Samutsongkhram. Nowadays, we can no longer have an opportunity to see rod puppets performed by Mea Sarai. In the Western region of Thailand, the only rod puppet troup, which still exists, is the Ched Chu Chamnan Silp of Umpawa, Samutsongkhram, belonging to uncle Wong Ruamsuk. This is the only rod puppet troup of the Western region of Thailand which is still available for publci entertainment and at the same time which makes a great contribution to the preservation of this kind of performing art before it completely vanished. |
Description: | ความเป็นมาของการเล่นหุ่นในประเทศไทย -- การเล่นหุ่นหลวง : สมัยอยุธยาตอนกลาง ; ตอนปลาย ; สมัยกรุงธนบุรี ; สมัยรัตนโกสินทร์ -- หุ่นกระบอกของไทย : หุ่นครูเหน่ง ; หุ่นครูเถาะ -- หุ่นกระบอกของไทยในภูมิภาคตะวันตก : หุ่นพระองค์สุทัศน์ ; หุ่นแม่สาหร่าย ; หุ่นกระบอกคณะชูเชิดชำนาญศิลป์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1776 |
ISBN: | 9748922464 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Comm - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sakda(pu).pdf | 32.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.