Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18545
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิรมล สวัสดิบุตร-
dc.contributor.authorจรินทร์ นาคศรีอาภรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.date.accessioned2012-03-24T06:26:23Z-
dc.date.available2012-03-24T06:26:23Z-
dc.date.issued2520-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18545-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสาธิตระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร 2.เพื่อศึกษาถึงปัญหาการบริหารงานทางวิชาการในโรงเรียนสาธิตระดับประถมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่อาจารย์ฝ่ายบริหารและอาจารย์ฝ่ายวิชาการของโรงเรียนสาธิตระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร รวม 6 โรงเรียน คือ โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูสวนสุนันทา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร ตัวอย่างประชากรมีจำนวนทั้งสิ้น 278 คน ประกอบด้วยอาจารย์ฝ่ายบริหาร 52 คน และอาจารย์ฝ่ายวิชาการ 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสำรวจ 2 ชุด ชุดหนึ่งสำหรับถามอาจารย์ฝ่ายบริหาร อีกชุดหนึ่งสำหรับถามอาจารย์ฝ่ายวิชาการ แต่ละชุดมี 2 ตอน ตอนที่ 1 เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสำรวจ ตอนที่ 2 เกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนรวม 6 ด้านคือ กระบวนการบริหารงานวิชาการ หลักสูตรและการสอน การนิเทศการสอน อาคารสถานที่และสิ่งบริการการสอน กิจกรรมเสริมหลักสูตรและการประเมินผล แบบสำรวจนี้มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 50 ข้อ แต่ละข้อมีคำตอบให้เลือก 5 คำตอบ แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ แบบสำรวจตอนที่ 1 มีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบ ได้แจกแจงความถี่และทำการวิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ ส่วนแบบสำรวจตอนที่ 2 มีรายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ได้แจกแจงความถี่และทำการวิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงแบนมาตรฐานและอัตราส่วนวิกฤติ สรุปผลการวิจัย สถานภาพของอาจารย์อาจารย์ฝ่ายบริหารและฝ่ายวิชาการในโรงเรียนสาธิตระดับประถมศึกษาเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยส่วนรวมทำการสอนอยู่ระหว่าง 1 ถึง 5 ปี แต่อาจารย์ฝ่ายบริหารทำงานอยู่ระหว่าง 5 ปี ถึง 9 ปี และ 10 ปี ถึง 14 ปี มากที่สุด โดยทั่วไปอาจารย์ทั้ง 2 กลุ่ม ทำการสอนอยู่แต่ในโรงเรียนสาธิตเพียงแห่งเดียว แต่อาจารย์ฝ่ายบริหารส่วนใหญ่จะทำการสอนทั้งในโรงเรียนสาธิตและวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย อาจารย์โรงเรียนสาธิตส่วนมากมีวุฒิตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป และส่วนมากเคยผ่านการอบรม ประชุมสัมมนาเกี่ยวกับการสอนในสายวิชาที่ตนรับผิดชอบ การบริหารงานวิชาการ 1.ด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการ อาจารย์ฝ่ายบริหารมีความเห็นว่าโรงเรียนสาธิตระดับประถมศึกษาได้ปฏิบัติพฤติกรรมด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมาก ส่วนอาจารย์ฝ่ายวิชาการมีความเห็นแบ่งแยกกันเป็น 2 พวก คืออาจารย์จำนวนครึ่งหนึ่งมีความเห็นว่า โรงเรียนปฏิบัติพฤติกรรมด้านนี้มาก ส่วนอีกเกือบครึ่งหนึ่ง มีความเห็นว่าโรงเรียนปฏิบัติพฤติกรรมด้านนี้น้อย 2.ด้านหลักสูตรและการสอน อาจารย์ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายวิชาการมีความเห็นสอดคล้องกันว่าโรงเรียนสาธิตระดับประถมศึกษาได้ปฏิบัติงานด้านหลักสูตรและการสอนอยู่ในระดับมาก 3.ด้านการนิเทศการสอน อาจารย์ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายวิชาการมีความเห็นสอดคล้องกันว่าโรงเรียนสาธิตระดับประถมศึกษาได้ปฏิบัติงานด้านนิเทศการสอนอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย 4.ด้านอาคารสถานที่และสิ่งบริการการสอน อาจารย์ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่าย วิชาการมีความเห็นสอดคล้องกันว่าโรงเรียนสาธิตระดับประถมศึกษาได้ปฏิบัติพฤติกรรมด้านอาคารสถานที่และสิ่งบริการการสอนอยู่ในระดับมาก 5.ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร อาจารย์ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายวิชาการมีความเห็นสอดคล้องกันว่า โรงเรียนสาธิตระดับประถมศึกษาได้ปฏิบัติพฤติกรรมด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตรอยู่ในระดับมาก 6.ด้านการประเมินผล อาจารย์ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายวิชาการมีความเห็นสอดคล้องกันว่า โรงเรียนสาธิตระดับประถมศึกษาได้ปฏิบัติพฤติกรรมด้านการประเมินผลอยู่ในระดับมาก ปัญหาการบริหารงานทางวิชาการ 1.โรงเรียนสาธิตระดับประถมศึกษาปฏิบัติงานทางด้านต่อไปนี้อยู่ในเกณฑ์น้อยคือความช่วยเหลือของอาจารย์ใหญ่และหัวหน้าสายวิชาที่ให้แก่อาจารย์ในโรงเรียนเมื่อเกิดมีปัญหาทางวิชาการ การอ่านหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ของอาจารย์การจัดอบรมหรือแนะนำอาจารย์ให้เข้าใจหลักสูตรที่สอนการพาอาจารย์ไปเยี่ยมเยียนดูการสอนในระดับเดียวกันในสถาบันอื่น การจัดทำหนังสือหรือวารสารหรืออนุสารสำหรับนักเรียน การให้อาจารย์ได้ผ่านการอบรมในเรื่องการวัดและการประเมินผลการศึกษา 2.ปัญหาที่ขัดแย้งระหว่างอาจารย์ฝ่ายบริหารและอาจารย์ฝ่ายวิชาการที่เห็นได้เด่นชัดคือ ความเห็นในเรื่องการจัดให้อาจารย์มีส่วนร่วมในการวางแผนงานวิชาการของโรงเรียน การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาทางวิชาการที่เกิดขึ้นในโรงเรียนการจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานทางด้านวิชาการเมื่อเทียบกับงานด้านอื่น ๆการจัดให้อาจารย์ได้รับการอบรมหรือร่วมประชุมทางวิชาการ ปัญหาความขัดแย้งทั้งหมดที่กล่าวนี้อาจารย์ฝ่ายบริหารเห็นว่าปฏิบัติมาก แต่อาจารย์ฝ่ายวิชาการเห็นว่าปฏิบัติน้อย-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of the study were 1.to study the administration of academic affairs in the demonstration schools in the Bangkok Metropolitan area. 2.to study the existing academic problem in the demonstration schools at the elementary level. Procedure The date used in this research were collected from 52 administrators and 226 teachers at six elementary demonstration schools in the Bangkok Metropolitan area. These schools were the Bansomdej Demonstration School, the Petchburivethayalongkorn Demonstration School, the Suansununta Demonstration School, the Kasetsart University Laboratory School, the Chulalongkorn University Demonstration School (Elementary) and the srinakarinwirot University Elementary School Prasarnmitr. Two questionnaires, one for administrators and another for teachers were employed in this study. Each questionnaire was divided into two parts: Part I concerned details lf personal status while Part II concerned six aspects of the administrative system, namely: the process of administration, the curriculum and instruction, the supervision of teaching, the administrative services, extra-curricular activities, and evaluation. Each questionnaire comprised of fifty questions, each with five-choice rating scale. Each item was analyzed separately. The date collected from Part I were tallied and computed into percent. Part II were tallied and computed into percent, average, standard deviation and critical ratio. The Findings A. Personal Status There were more female than male administrators and teachers, most of whom had between one and five years of teaching experience. Most of the administrators had worked between five and nine years and ten and fourteen years. For the most part, teachers and administrators taught only in the schools, but in some cases the administrators worked both in schools and colleges or universities. Most teachers in the demonstration schools held at least a bachelor’s degree and had extensive experience in attending seminars or conferences in their areas of teaching. B. The Administration of Academic Affairs 1. All administrators concluded that the schools had done a lot concerning matters of administration, whereas the teachers were divided in opinion. Some teachers believed that the schools had done a lot but some believed that the schools had done too little. 2. Both administrators and teachers agreed in general that the demonstration schools had performed quite good in the curriculum and instruction aspect. 3. Both administrators and teachers agreed that the demonstration schools at the elementary level had not done much in the supervision aspect. 4. Both administrators and teachers concluded that the demonstration schools provided good services and facilities. 5. Both administrators and teachers agreed that the schools had done quite good in providing extra-curricular activities. 6. Both groups agreed that the schools had good evaluation programs. Problems existing in the Administration of Academic Affairs 1.The demonstration schools had done little in the following areas: assistance from the principals and the department heads given to the teachers having academic problems, the thorough study of the curriculum of the Ministry of Education, organization of in-service training of suggestions for better understanding of the curriculum among teachers, visitation and observation of other schools, the production of journals or pamphlets for students, in-service training for teachers on evaluation of education. Points of conflict between administrators and teachers included: the participation of teachers in school academic matters, the teacher participation in solving academic problems in the schools, budgeting, and teacher participation in academic conferences. The administrators thought that the schools had given enough opportunities for the teachers to participate in the said matters but the teachers had the opposite view.-
dc.format.extent509244 bytes-
dc.format.extent443346 bytes-
dc.format.extent1405308 bytes-
dc.format.extent322306 bytes-
dc.format.extent2063546 bytes-
dc.format.extent535208 bytes-
dc.format.extent736336 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรงเรียนสาธิต -- การบริหารen
dc.titleการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสาธิตระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeThe academic administration of elementary demonstration schools in Bangkok metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประถมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Charin_Na_front.pdf497.31 kBAdobe PDFView/Open
Charin_Na_ch1.pdf432.96 kBAdobe PDFView/Open
Charin_Na_ch2.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Charin_Na_ch3.pdf314.75 kBAdobe PDFView/Open
Charin_Na_ch4.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Charin_Na_ch5.pdf522.66 kBAdobe PDFView/Open
Charin_Na_back.pdf719.08 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.