Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20804
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรสนอง วงศ์สิงห์ทอง-
dc.contributor.authorพัดชา อุทิศวรรณกุล-
dc.date.accessioned2012-07-13T14:44:06Z-
dc.date.available2012-07-13T14:44:06Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20804-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractปัจจุบันวิถีการดำเนินชีวิตของคนวัยทำงานในเมืองใหญ่เช่นกรุงเทพมหานคร ต้องเผชิญกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อันเนื่องจากปัญหาสภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างเฉียบพลันในประเทศต่าง ๆทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน จากการสำรวจพบว่ากลุ่มประชากรวัยทำงานในกรุงเทพมหานครเป็นกลุ่มหนึ่งที่ต้องเผชิญกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระหว่างวัน เนื่องจากมีกิจวัตรประจำวันที่ต้องเดินทางไปทำงานผ่านสภาวะอากาศร้อนและเย็นหรือฝนตกเป็นระยะ อาทิเช่น อากาศร้อนหรือฝนตกจากภายนอกอาคาร สลับกับอากาศเย็นจากเครื่องปรับอากาศในสถานที่ทำงาน รวมถึงมีวิถีการดำเนินชีวิตหลังเลิกงานที่ต้องมีกิจกรรมพบปะสังสรรค์และดินทางบนท้องถนนในเวลากลางคืน ซึ่งจากปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว เห็นได้ว่าสิ่งสำคัญอันเป็นปัจจัยที่สามารถช่วยรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศได้แก่ เครื่องแต่งกาย โดยจากการศึกษาวิเคราะห์ตลาดในประเทศไทยปัจจุบันพบว่ายังไม่มีตราสินค้าเครื่องแต่งกายแฟชั่นที่มีความสวยงามและมีประโยชน์รองรับกับปัญหาสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงเฉียบพลัน ผู้วิจัยจึงเห็นว่าเป็นช่องว่างทางการตลาดแฟชั่นที่น่าสนใจในการค้นหาแนวทางเพื่อสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ เพื่อตอบสนองต่อสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงเฉียบพลัน เหมาะสมกับวิถีการดำเนินชีวิตในระหว่างวันของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เปรียบเทียบความอยู่รอดของมนุษย์ที่ใช้เครื่องแต่งกายปกป้องจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ เปรียบเสมือนกับสิ่งมีชีวิตที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างเพื่อความอยู่รอดในธรรมชาติ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีการปรับเปลี่ยนของสิ่งมีชีวิต (Adaptation) ได้แก่ พืช สัตว์เซลเดียว สัตว์และแมลง รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างในงานศิลปะและการออกแบบที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made) ได้แก่ กรรมวิธีในงานกราฟฟิค กรรมวิธีในงานเฟอร์นิเจอร์ และกรรมวิธีในงานสถาปัตยกรรมเพื่อให้ได้กรรมวิธีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องแต่งกายที่สามารถตอบสนองต่อสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงเฉียบพลัน อันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของตราสินค้าผู้วิจัย ทั้งนี้ผลจากการวิจัยพบว่าการสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นสำหรับเครื่องแต่งกายที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ มีกรรมวิธีการปรับเปลี่ยนได้แก่ การพับ การม้วน การซ้อน การคลี่กาง การปรับระดับ การพลิกกลับ การยื่นออก การถอดประกอบ การสลายโครงสร้างและการเรืองแสง ควบคู่กับการเลือกใช้วัสดุและนวัตกรรมสิ่งทอที่มีคุณสมบัติไม่ซับน้ำ และระบายอากาศได้ดี เพื่อตอบสนองต่อสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงเฉียบพลัน รวมถึงเป็นเครื่องแต่งกายที่มีส่วนตกแต่งด้วยผ้าที่เรืองแสง ทำให้กลุ่มเป้าหมายคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครปลอดภัยในการดำเนินชีวิตที่ต้องเดินทางบนท้องถนนในเวลากลางคืน การสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ ให้รองรับกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อกระแสสังคมเกี่ยวกับปัญหาสภาวะโลกร้อน และเป็นนวัตกรรมทางแฟชั่นที่เป็นประโยชน์ในการต่อยอดสำหรับวงการศึกษา นักออกแบบและอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอต่อไปen
dc.description.abstractalternativeAt present, people working in a big city such as Bangkok have to face up to the changing weather all the time due to the problem of global warming affecting sudden changes in the weather condition around the world, including Thailand. The survey has revealed that people of working age have to confront weather changes during the day because they have to commute through temporary heat, cold or rainfall in their daily activities. They also may have to move between a warm outdoors and a cold air-conditioned indoor environment. Further, they may also undertake various lifestyle activities such as long trips on the road during the night. From the said problems, it can be seen that the factor that can work against the weather change is clothing. Upon a study of an analysis of the market in Thailand, there is yet to be found a fashion design brand that is pleasant and practical in dealing with the problem of sudden weather change. The researcher thinks that this is an opportunity to fill an interesting gap in fashion design research by providing guidelines for creating brand identity transformable fashion that can react to sudden changes of weather and be suitable during the day for working people in Bangkok. A comparison has been made to show that human survival can be aided through the use of clothing against weather changes in the same way that living things adapt their structure to survive in nature. A study has been made of a theoretical concept of adaption of living things, ie. plants, one-cell animals, animals and insects, including structural adaption in man-made arts and designs. The study involved a technical process on graphic design work, a technical process on furniture work, and a technical process on architectural work. The aim was to obtain a process of adaptation that could be applied in fashion design as an answer to the problem of sudden weather change. The research findings reveal that the creation brand identity transformable fashion consists of the following processes: folding, wrapping, stacking, furling, level adjusting, flipping, extending, modular assembling, deconstructing, and being fluorescent. Moreover, these processes should be coupled with a choice of material and textile innovation that allows for the non-absorbtion of water and good ventilation. The clothing should further be partially decorated with fluorescent material, improving safety for those taking a trip on the road at night. The creation of fashion brand identity that can be transformable to react to sudden changes of weather is a response to the concern with global warming. Fashion innovation can also be useful to future academic research, designers, and those in the fashion and textile industries.en
dc.format.extent9506764 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1923-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectแฟชั่น -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectการออกแบบเครื่องแต่งกายen
dc.subjectเสื้อผ้าและการตัดเย็บen
dc.subjectการแต่งกาย -- สภาพเขตร้อนen
dc.titleอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ สำหรับคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeBrand identity transformable fashion for working ages in Bangkok Metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineศิลปกรรมศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPornsanong.V@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1923-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
patcha_ut.pdf9.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.