Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20833
Title: พัฒนาการของการแสดงโนราสายขุนอุปถัมภ์นรากร (พุ่ม เทวา)
Other Titles: The development of Nora of Khun Oupbhathamnarakorn family (Pum Dheva)
Authors: จุติกา โกศลเหมมณี
Advisors: วิชชุตา วุธาทิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vijjuta.V@Chula.ac.th
Subjects: ศิลปะการแสดง -- ไทย (ภาคใต้)
การละเล่นพื้นบ้าน -- ไทย (ภาคใต้)
อุปถัมภ์นรากร, ขุน, 2434-2526
โนรา
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์พัฒนาการของการแสดงโนราสายขุนอุปถัมภ์นรากร(พุ่ม เทวา) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ลักษณะของพัฒนาการทางศิลปะวิธีการสืบทอด ลักษณะพิเศษ องค์ประกอบ และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของการแสดงโนราสายขุนฯโดยศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร สัมภาษณ์ และสังเกตการณ์ ผู้วิจัยแบ่งช่วงเวลาเป็น ๖ ช่วง คือ ช่วงที่ ๑ การกำเนิดโนราขุนฯ(พ.ศ.๒๔๓๔-๒๔๖๘) ช่วงที่ ๒ การสืบทอดคณะโนราของขุนฯโดยลูกศิษย์(พ.ศ.๒๔๖๙-๒๔๘๐) ช่วงที่ ๓ ลูกศิษย์รุ่นแรกเป็นนายโรงและตั้งคณะของตนเอง(พ.ศ.๒๔๘๑-๒๕๐๖) ช่วงที่ ๔ คณะโนราขุนฯกลับมารำโนราอีกครั้ง(พ.ศ.๒๕๐๗-๒๕๑๔) ช่วงที่ ๕ การฟื้นฟูศิลปะการแสดงโนราแนวอนุรักษ์ของโนราสายขุนฯ(พ.ศ.๒๕๑๕-๒๕๓๘) ช่วงที่ ๖ โนราสายขุนฯสมัยปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๓๘-ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๓) ผู้วิจัยพบว่าการแสดงโนราสายขุนฯมีพัฒนาการดังนี้ พัฒนาการด้านการแสดงโนราพิธีกรรม ยังคงยึดรูปแบบเดิมจาก ช่วงที่ ๑ เนื่องจากมีความเชื่อเรื่องวิญญาณบรรพบุรุษอย่างเข้มข้น จึงส่งผลให้ขั้นตอนและองค์ประกอบการแสดงของโนราพิธีกรรมหรือโนราโรงครูยึดรูปแบบเดิมจนถึงปัจจุบัน พัฒนาการด้านการแสดงโนราบันเทิงสายขุนฯมี ๓ รูปแบบคือ ๑. การแสดงโนราบันเทิงเดินโรงหรือโรงเดียว ปรากฏอยู่ในช่วงที่ ๑-๓ และได้ตัดขั้นตอน ยกเครื่องออก และเรียกการแสดงรูปแบบนี้ว่าโนราดั้งเดิมหรือโนราโบราณ ๒. การแสดงโนราบันเทิงโรงแข่ง หรือประชันโรง ปรากฏอยู่ในช่วงที่ ๑- ๕ ๓.การแสดงโนราสมัยนิยม มี ๓ ลักษณะคือ การแสดงโนราสมัยนิยมของนางรำ ปรากฏขึ้นในช่วงที่ ๔ เลือกเอาการแสดงของนางรำบางช่วงของการแสดงฉากใดฉากหนึ่งของโนราบันเทิงมาแสดง และการแสดงโนราสมัยนิยมของนายโรง ปรากฏขึ้น ในช่วงที่ ๕ เลือกเอาการแสดงของนายโรงจากการแสดงโนราบันเทิงหรือการแสดงโนราพิธีกรรมมาแสดง ในช่วงที่ ๖ การแสดงโนราสมัยนิยมมีพัฒนาการในการนำเสนอการแสดงโนรารูปแบบใหม่เพิ่มขึ้น พัฒนาการด้านการสืบทอด ช่วงที่ ๑-๓ โนราสายขุนฯมีบทบาทอยู่ในสังคมชนบท ช่วงที่ ๔ โนราสายขุนฯเข้าสู่องค์กรการศึกษา ช่วงที่ ๕ โนราสายขุนฯมีการสืบทอดในองค์กรการศึกษาโดยผศ.สาโรช นาคะวิโรจน์ ยังมีบทบาทในการแสดงโนราโบราณ โนราพิธีกรรมลดลง ช่วงที่ ๖ อาจารย์ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ได้พัฒนาโนราสายขุนฯเป็นหลักสูตรระดับอุดมศึกษาสอดคล้องกับการฝึกโนราท้องถิ่น เป็นที่ยอมรับจากองค์กรการศึกษาและปราชญ์ท้องถิ่น ส่วนบทบาทด้านโนราพิธีกรรมและโนราบันเทิงปรากฏอยู่กับนายโรงในสายขุนฯท่านอื่น ๆ ผู้วิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของการแสดงโนราสายขุนฯคือ ปัจจัยของตัวนายโรงที่มีทัศนคติต่อโนราในเรื่องผลทางด้านจิตใจมากกว่าผลทางด้านวัตถุทำให้ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้ได้รับโอกาสเข้ามาอยู่ในองค์กรการศึกษาของรัฐเพื่อเป็นแบบอย่างโนรา แนวอนุรักษ์ ในช่วงที่ ๕ และ ๖ ผู้มีบทบาทการสืบทอดเป็นนายโรงในองค์กรการศึกษาของรัฐมีจิตใจแน่วแน่ ในการอนุรักษ์และให้ความสำคัญกับลีลาท่ารำพื้นฐานที่ต้องเหมือนครูมากที่สุดทำให้โนราสายขุนฯมีความคมชัดในเรื่องลีลาท่ารำในปัจจุบัน ส่วนปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนายโรง ที่เป็นองค์กรการศึกษาของรัฐอันมีส่วนช่วยส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ
Other Abstract: This study aims to work on the artful development by inheritance methods, the special characteristics,components,and analysis of factors affected to those of Khun Oupbhathanmarakorn’s Nora performance. Searching for printed resources, interview as well as observe are the research methods. Six phases are divided—firstly, the origin of Khun Oupbhathamnarakorn’s Nora performance ; secondly, the inheritance of Khun Oupbhathamnarakorn’s Nora group by his followers; thirdly, the followers of the first generation and establishing their party; fourthly, the return of the Khun Oupbhathamnarakorn’s Nora group; fifthly, the renaissance of the art of Nora performance under the conservative ways of Khun Oupbhathamnarakorn; lastly, the present time of Khun Oupbhathamnarakorn’s Nora relationship. The research findings portrayed six sectors under the developments of the ritual Nora performance. The first sector, due to the strong belief in ancient spirits, processes and factors of the ritual Nora performance has kept the pattern till nowadays. The development in Khun Oupbhathamnarakorn’s Nora Buntheng performance has 3 patterns—(1) Nora performance of the single stage was shown from 1-3. Those steps have been cut. The performance is called the traditional Nora performance. (2) the competition Nora performance or Prachan Rong has been shown from 1-5 episode. (3) the contemporary Nora performance has three characteristics—the contemporary Nora performance of the performers shown in the forth episode. Some setting will be chosen; the contemporary Nora performance of Nai Rong be shown in the fifth episode. Some episodes in the Nai Rong’s performance from either the single stage or from the ritual Nora performance will be chosen and shown in the sixth episode. The novel patterns of Nora performance in the contemporary generation and those of inheritances have been increased—from the 1-3 periods play the role in outskirts communities. (4) Khun Oupbhathamnarakorn’s Nora performance approaches through education organizations. (5) Khun Oupbhathamnarakorn’s Nora performance has been inherited by Assist. Prof. Saroj Nakawirot in education institutions. Roles in both traditional and ritual Nora performances have been decreased. (6) Ajarn Dhammait Nikhomrat has developed Khun Oupbhathamnarakorn’s Nora performance and established Nora performance to the high education curriculum that is compatible with local Nora performance practice. Nora performance has been approved by education organization and local wise man. The ritual Nora performance and Nora Buntheng are still shown by other Nai Rongs in the relationship of Khun Oupbhathamnarakorn. The findings show factors affected to the developments of Nora performance in the relationship of Khun Oupbhathamnarakorn that Nai Rongs’ attitudes toward Nora performance go straight to psychological side more than those in material facet. From the previous factors, Nora performance under the conservative ideas (episodes5-6) has been transferred to the educational systems in a government sector. Nai Rong in the education institute plays the great role for keeping the basic patterns transmitted from Nora’s teachers. The external factor is Nai rong’s followers who work in the educational institute. They also help promote and support Nora activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20833
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.468
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.468
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chutika_ko.pdf6.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.